ข้อควรรู้!! เลือกตั้ง66 ต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง?

ข้อควรรู้!! เลือกตั้ง66 ต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง?

เหลืออีก 2 อาทิตย์ ใครที่ขอลงทะเบียนเลือกตั้ง66 ล่วงหน้า ไว้ในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค.2566 คงได้เข้าคูหากาพรรคที่ใช่พรรคที่ชอบ นโยบายตรงใจ เลือกนายกฯ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ (ส.ส.) ให้ได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลที่ตนเองต้องการ

Keypoint 

  • โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง66 มาถึงแล้ว หลายคนคงเตรียมตัวเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค.2566 นี้ เข้าคูหากากบาทพรรคในดวงใจ เลือกแคนนิเดตนายกฯ ที่ต้องการ
  • พกเพียงบัตรประชาชนใบเดียว จะหมดอายุ หรือใช้บัตรที่ราชการออกให้และมีรูป เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักก็ถือว่าใช้ได้
  • การเลือกตั้ง66 กากบาทบัตร 2 ใบ ต้องจำเบอร์ส.ส. และเบอร์พรรคที่ตนเองต้องการเลือก โดยทำเครื่องหมายกากบาทได้อย่างเดียว หากทำเครื่องหมายอย่างอื่นจะถือว่าเป็นบัตรเสีย

 

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทย หรือนอกพื้นที่ทะเบียนบ้าน พร้อมชี้แจงเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมในวันเลือกตั้ง  

‘กรุงเทพธุรกิจ’ จึงได้รวบรวมหลักฐานแสดงตันที่ทุกคนต้องพกติดตัว ก่อนไปเลือกตั้ง พร้อมเปิดขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าไว้ดังนี้

ทั้งนี้ การลงทะเบียนตั้งล่วงหน้า เหมาะสำหรับผู้ที่ติดธุระในวันเลือกตั้ง รวมถึงการลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขต สำหรับผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ตามทะเบียนบ้านจริง ทำได้โดยการยื่นเรื่องที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ ช่องทางไปรษณีย์ หรือช่องทางออนไลน์  

การลงทะเบียนเลือกตั้งจากต่างประเทศ สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ต่างประเทศ สามารถเลือกตั้งจากต่างประเทศ โดยการลงทะเบียนกับสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลประจำประเทศนั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

การเลือกตั้งปี 2566  มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

บัตรเลือกตั้ง ใบหนึ่งเลือกคน หรือ ส.ส.เขต และอีกใบเลือกพรรค หรือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ใบที่ 1 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (สีม่วง) มีหมายเลขผู้สมัคร และ ช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค

ใบที่ 2 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และ มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

โดยมีจำนวน ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีการเปลี่ยนแปลง

ส.ส.เขต เพิ่มขึ้นจาก 350 คนในปี 2562 เป็น 400 คน ทั่วประเทศ ส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลดลงจาก 150 คนในปี 2562 เป็น 100 คน รวมทั้งหมดมี ส.ส. 500 คน

 

เช็กเอกสาร-หลักฐานแสดงตน เลือกตั้ง 2566

ผู้ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2566  ไม่ว่าจะเป็นวันเลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 7 พ.ค.2566 หรือวันเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 14 พ.ค.2566 ซึ่งบางคนอาจจะเป็นครั้งแรก และหลายๆ คนก็ห่างหายจากการเลือกตั้งไปนอน ซึ่งการจะไปเลือกตั้งนั้น ทุกคนต้องเตรียมเอกสาร หลักฐาน ดังนี้

สำเนาหนังสือเดินทาง (PASSPORT)

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย  

  • โดยในส่วนของคนในประเทศสามารถพกบัตรประชาชนใบเดียว
  • ซึ่งจะหมดอายุก็ได้ หรือเป็นบัตร เอกสารที่ราชการออกให้ ขอแค่มีรูปและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักก็ถือว่าใช้ได้ เช่น ใบขับขี่ พาสปอร์ต หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (แอปพลิเคชั่น ThaID)

 

ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต้องทำอย่างไร?

เลือกตั้ง 66 หีบเปิดตั้งแต่ 08.00-17.00 น. แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ก่อน 17.00 น.ก็ยังสามารถใช้สิทธิได้

สำหรับผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ

  • ลงทะเบียนไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้งกลางสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยให้ช่วยอำนวยความสะดวกได้ เช่น ขอบัตรทาบให้ผู้พิการทางสายตา

โดยทั่วไปผู้พิการจะต้องออกเสียงด้วยตนเอง แต่หากลักษณะทางกายภาพไม่สามารถทำเครื่องหมายออกเสียงเลือกตั้งได้ สามารถให้บุคคลอื่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยทำเครื่องหมายแทนได้ ถือว่าเป็นการลงทะเบียนโดยตรง และลับตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ระวัง ส.ส. แบบแบ่งเขต คนละเบอร์ เบอร์ไม่เหมือนกัน ไม่มีชื่อคน ต้องจำเอง

ทำเครื่องหมายกากบาทเท่านั้น หากใช้เครื่องหมายอื่น เป็นบัตรเสีย เขียนข้อความเป็นบัตรเสียกาเลยช่องเป็นบัตรเสีย

 

รู้จักหน้าตาผู้สมัครส.ส. และแคนดิเดตนายกฯพรรคการเมือง

หลังจากมีการเปิดรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 3-7 เม.ย. 2566 ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งกำหนด

วันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และพรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในนามพรรคการเมืองนั้นไว้ในบัญชี 3 รายชื่อ 4-7 เม.ย.2566 โดยวันที่ 4-6 เม.ย.2566 กำหนดเวลารับสมัคร ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. ส่วนวันที่ 7 เม.ย. 2566 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.00 น.  ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 

 

วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  3 พ.ค. 66

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบสิทธิ และหน่วยเลือกตั้งผ่านเอกสารที่กกต.จัดส่งไปยังเจ้าบ้าน (จะส่งมาถึงบ้านก่อนวันเลือกตั้ง 20 วัน) หรือช่องทางออนไลน์ของกกต.

หากพบว่าตนเองหรือคนอื่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตน ไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยที่บุคคลนั้นมิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจริงๆ สามารถยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อให้เพิ่ม-ถอนชื่อนั้นได้

 

หากใครต้องการแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 'หน้า 7 หลัง 7' ในวันที่ 7-13 พ.ค.2566 และ 15-21 พ.ค. 2566 

หากติดภารกิจไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ สามารถทำหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนที่ว่าการเขต หรืออำเภอ โดยสามารถไปด้วยตนเอง หรือ มอบหมายผู้อื่นไปแทน อีกทางเลือกคือ ส่งไปรษณีย์ หรือช่องทางออนไลน์ โดยต้องทำภายใน 7 วันก่อนการเลือกตั้ง หรือ 7 วันหลังการเลือกตั้ง จำง่ายๆ คือ 'หน้า 7 หลัง 7'

หากไม่ไปเลือกตั้ง เสียสิทธิอะไร?บ้าง

ถ้าไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งภายในระยะเวลาดังกล่าว แม้จะไม่เสียสิทธิในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่อาจเสียสิทธิบางประการเป็นระยะเวลาสองปี นับจากวันเลือกตั้งที่ไม่ได้ไป ได้แก่

  • สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
  • สิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง
  • ลงสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  • ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
  • ดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการบริหารท้องถิ่น

วันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 14 พ.ค. 2566 เข้าคูหาได้ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.

ส.ส.400 เขต ปัจจัยชี้ชะตาตั้งรัฐบาล

ในการเลือกตั้ง 2566 สนามเลือกตั้งแบบเขต คือ ปัจจัยชี้ขาดผลแพ้ชนะ เนื่องจากมีจำนวน 400 ที่นั่งให้แต่ละพรรคได้แย่งชิงกัน ดังจะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองต่างๆ พยายามดึงบุคคลที่มีชื่อเสียง มีคะแนนนิยมในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการดึงนักการเมือง 'บ้านใหญ่' ตระกูลการเมืองท้องถิ่นให้เข้ามาอยู่ในพรรค อย่างไรก็ตาม การจะชนะเลือกตั้งในแต่ละเขตได้มีปัจจัย 3 ประการ 

1.คะแนนนิยมส่วนบุคคล

2.กระแสนิยมพรรคการเมือง

3.การชิงคะแนนในพรรคฐานเสียงเดียวกัน 

 

 

อ้างอิง: ilaw.or.th , คู่มือเลือกตั้ง 66