2 วิธี 5 เทคนิค 6 กฎ รับมือ 'Generation Gap' ในที่ทำงาน
เมื่อที่ทำงานเกิด Generation Gap ต่างวัย ต่างวิธีคิด ต่างการทำงาน มี 2 วิธีรับมือ 5 เทคนิคสื่อสาร และ 6 กฎสำหรับหัวหน้างาน แก้ปัญหา นำพาสู่วัฒนธรรมองค์กรและผลประกอบการที่ดี
Keypoints:
- ช่วงอายุของคน 6 Generation ซึ่งโครงสร้างประชากรของไทยในปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่อยู่ใน Gen X และ Gen Y
- คนแต่ละช่วงวัยมีลักษณะนิสัยที่ต่างกัน เมื่อต้องทำงานร่วมกันในองค์กร ทำให้เกิด Generation Gap ที่มีสาเหตุมาจากมายด์เซ็ทที่ต่างกัน
- 2 วิธีรับมือ 5 เทคนิคการสื่อสาร ลดปัญหาเรื่อง Generation Gap ในที่ทำงาน และกฎ 6 ประการของหัวหน้างานและผู้บริการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี
เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2566 นพดล นพรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบทรัพยากรมนุษย์ และที่ปรึกษาบริษัทชั้นนำกว่า 17 ปีกล่าวในการเสวนาออนไลน์seekTALKSภายใต้หัวข้อ“ปัญหาต่างวัย ... จัดการอย่างไร กับGeneration Gap จัดโดย JobsDB by SEEKว่า ในทางวิชาการแบ่งมนุษย์ที่อยู่ในวัยทำงานปัจจุบัน ตามช่วงปีที่เกิด เป็น 6 ช่วงวัยหรือGeneration ได้แก่
1. Gen S คนที่เกิดระหว่างพ.ศ.2466-2488 ช่วงอายุ 78 ปีขึ้นไป-100 ปี รุ่นปู่ ย่า ตายาย
2. Gen B คนที่เกิดระหว่างพ.ศ.2489-2507 ช่วง อายุ 59 – 77 ปี รุ่นคุณพ่อ คุณแม่
3.Gen X คนที่เกิดระหว่างพ.ศ.2508-2523 ช่วงอายุ 43-58 ปี
4.Gen Yคนที่เกิดระหว่างพ.ศ. 2524-2539 ช่วงอายุ 27-42 ปี
5.Gen Z คนที่เกิดระหว่างพ.ศ. 2540-2555 ช่วงอายุ 11-26 ปี
ทั้งนี้ คนGen S และGen B ในออฟฟิตแทบจะไม่มีแล้ว โดยGen S อาจจะมีอยู่บ้างในกลุ่มเจ้าของ หรือเถ้าแก่ ส่วนคนทำงานก็เป็นวัยเกษียนหรือใกล้เกษียณมีผลต่อการทำงานออฟฟิตน้อยลง
ประเทศไทย ในช่วงปลายปี 2565 พบว่า ประชากรไทยส่วนใหญ่เป็น Gen X 31 % และGen Y 29 % รวมแล้ว 60 % มากกว่าครึ่งของประชากรไทย แต่สิ่งน่าสังเกตุคือ Gen Z มากกว่า 15 % โดยนับเฉพาะที่อายุ18 ปีขึ้นไปที่มีผลต่อการวิเคราะห์กำลังคนเข้ามาทำงานในออฟฟิต เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ทำงานในออฟฟิตของไทยเป็น Gen X ราว 16 ล้านคน และ Gen Y ราว 15 ล้านคน รวม 30 กว่าล้านคน มี Gen Z บ้างประปราย
ลักษณะนิสัยคนแต่ละGen
คนแต่ละเจนจะมีอุปนิสัย พฤติกรรม การแสดงออกที่ต่างกัน
- Gen S มีลักษณะนิสัยเคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียม ยึดถือกฎ ระเบียบ แบบแผนเคร่งครัด อดทนสูง ตรากตรำ ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน ยึดถือครอบครัว พึ่งพาตนเอง
- Gen B ยังคงความเป็นทางการอยู่ ยึดถือกฎระเบียบ อาจจะไม่ได้เคร่งครัดเท่า Gen S ยืดถือจารีตประเพณี เน้นความขยัน ประหยัด รอบคอบ เวลาทำอะไรทำสุด มุ่งมั่นจะประสบความสำเร็จ ทำแล้วต้องรวย เริ่มมีเพื่อนในองค์กร เพราะส่วนใหญ่จะสร้างธุรกิจ เถ้าแก่ เวลาทำงานเน้นประสบการณ์จริง ของที่เจอจริง ลงมือทำ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง รู้สึกว่าที่ทำมาโอเคแล้ว
- Gen X ยังคงมีความทางการ ผ่อนคลายกว่า 2 Genแรก กฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติยังยึดถือ แต่ไม่เข้มข้นเท่า 2 Genแรก แต่ยังเอาจริงจังอยู่ มีความตามสมัย เริ่มมีการรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมเข้ามา คนกลุ่มนี้ตามทัน ทำงานเน้นผลลัพธ์ กฎยืดหยุ่นได้ ขอให้ผลลัพธ์ออกมา รักความก้าวหน้า อยากให้ตัวเองเติบโต เน้นสร้างความมั่นคง อาจไม่ได้รวยก็ได้
เริ่มมีเพื่อนในสายงาน มีการรวมกลุ่มของความเป็นมืออาชีพที่สนใจ เรียนรู้กันและกัน และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รู้ลึกรู้จริง และสามารถอธิบายได้ เปิดรับความรู้ใหม่ และเริ่มเปิดรับการเปลี่ยนแปลง
- Gen Y เริ่มมีอิสระทางความคิด ความเป็นทางการลดลง คิดแล้วพูด แสดงความคิดเห็น ไม่ชอบกฎระเบียบ ทันสมัย ทันกระแส ทำงานเน้นสมดุลชีวิต เช่น ทำงานเต็มที่พอจบเวลาชั่วโมงการทำงานอย่ามายุ่ง อย่าไลน์มาตาม ใช้เวลาออกกำลังกาย ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ เพราะชีวิตไม่ได้มีแค่งาน มีด้านอื่นด้วย มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำอะไรหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน มัลติสกิล เพราะเริ่มใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในชีวิต มีเครื่องมืออุปกรณ์ ทันสมัย ไม่ต้องลองผิดลองถูก เรียรู้สิ่งต่างๆได้เร็ว
- Gen Z กลุ่มที่เริ่มเข้ามาในองค์กรประมาณ 2-3 ปี ยึดความคิดตนเองเป็นหลัก เชื่อมั่นสิ่งที่คิดว่าสามารถเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้ มีความเชื่อมั่นสูง เป็นตัวเองสูง ถ้าไม่เห็นด้วยเช็คข้อมูลทันทีเพื่ออัปเดตข้อมูล ทำลายกฎกรอบ ระเบียบเดิม ต้องสร้างวิธีคิดใหม่ กรอบ ระเบียบใหม่ถึงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทันสมัย นำเทรนด์ ไม่ต้องการตามกระแสแต่ต้องการสร้างกระแส มีเพื่อนในสังคมออนไลน์มากกว่าเพื่อนที่รู้จักหน้าตากัน ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นคนส่วนน้อยขององค์กร
ทั้งนี้ ความคิดคนแต่ละGenแตกต่างกัน เรื่องเดียวแต่ละช่วงอายุจะคิดไม่เหมือนกัน โดยเกิดจากสมอง ที่ผลิตความคิดจากปัจจัยความรู้ ข้อมูลที่มี ,ความเชื่อ การให้คุณค่า การเห็นคามสำคัญ และ ประสบการณ์ ซึ่งการที่สมองจะผลิตความคิดออกมา จะมีกระบนการดึง 3 ส่วนนี้มาปั่นๆ เรียกว่า มายด์เซ็ทหรือ กระบวนการคิด ที่มีผลต่อพฤติกรรม สะท้อนให้เห็นในที่ทำงานต่างๆ
8ปัญหา Generation Gap
เมื่อคนมีลักษณะต่างกันมาอยู่ในองค์กรเดียวกัน ประสานงานกัน จุดหมายเดียวกัน แต่ความคาดหวังกับความจริงต่างกัน ทำให้เกิดปัญหา Generation Gap ช่องว่างระหว่างวัยที่แสดงออกมาใน 8 รูปแบบในที่ทำงาน ได้แก่
1.กิริยามารยาท การให้ความเคารพ
2.การเลือกใช้คำพูด วิธีการสื่อสาร
3.การลำดับความสำคัญ
4. การตัดสินใจ รับความเสี่ยง
5.รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
6.การให้คุณค่า สัญลักษณ์ ต้นแบบ
7.การเปรียบเทียบ การจัดสรรทรัพยากร
8.ทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
2 วิธีรับมือ Generation Gap ในที่ทำงาน
สิ่งที่มนุษย์ต้องการในการทำงานร่วมกัน คือ การยอมรับ ความจริงใจ ความมั่นใจ อยากเป็นคนสำคัญ มีศักด์ศรี ความภูมิใจ การให้เกียรติ มิตรภาพ ความปลอดภัย ความสุข ทั้งหมดนี้คือ ตัวตนของมนุษย์ โดยไม่เกี่ยวกับอายุ เพศ ชาติ ศาสนาและมากกว่าเรื่องเงิน
เพราะฉะนั้น ตัวตนอยู่ในตัวทุกคน จึงต้องยอมรับความแตกต่าง เคารพความแตกต่าง ยอมรับในตัวตนของกัน ในแต่ละGen การเคารพความแตกต่าง ทำได้ด้วยการ
1.อย่า รีบปฏิเสธ ด่วนตัดสินใจ ด่วนสรุป บังคับให้เปลี่ยนแปลง ยกตนข่มท่าน
2.ลอง เปิดใจ ฟังเหตุผล ทำดู ช่วยกัน ยอมกัน
5 เทคนิคสื่อสารกับคนต่างGen
ส่วนเทคนิคการสื่อสารกับคนต่างเจนเนเรชั่น อยู่บนพื้นฐานการสื่อสารแบบเคารพตัวตนของมนุษย์ ประกอบด้วย
1.รับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ
2.ชื่นชมจุดที่เป็นความภูมิใจของผู้อื่น
3.เสริมข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจ
4.หารือสร้างทางเลือกที่3 จากความแตกต่าง ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์
5.ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือจากจุดที่เขาภูมิใจ
กฎ 6 ประการสำหรับหัวหน้า-ผู้บริหาร
สำหรับหัวหน้างาน ผู้บริหารมีหลักคิด เรื่องกฎ 6 ประการสร้างความเชื่อมั่นและการเปลี่ยนแปลง
1.อย่าบังคับให้เปลี่ยนแปลง
2.ทำตัวอย่างให้เห็น
3.ทำให้อยากลองทำ สร้างแรงจูงใจ
4.ช่วยให้เกิดการเริ่มต้น
5.สนับสนุนสำเร็จ
6.ชื่นชมให้ทำต่อไป
“ปัญหา Generation Gap ในที่ทำงานและครอบครัวจะลดลง เมื่อยอมรับในตัวตนของกันและกันเป็นวิธีการรับมือที่ดีที่สุด เถียงกันไปก็เปล่าประโยชน์”นพดลกล่าว