SOCIAL INEQUALITY ปลดล็อคความเหลื่อมล้ำในไทย
เคยลองคิดดูบ้างไหมคะว่า ทำไมทีมฟุตบอลต่างๆ จึงโด่งดังและประสบความสำเร็จสูง ยุ้ยมองว่าเป็นเรื่องของความเท่าเทียม หรือโอกาสที่เท่าเทียมกันของผู้เล่น
เพราะฟุตบอลเป็นกีฬาที่เห็นหน้าผู้เล่นทุกคนได้ชัด ทุกคนมีสิทธ์เป็นดาราได้เท่าๆ กัน ถึงแม้ทีมจะเล่นได้ไม่ค่อยดี แต่ถ้าใครสักคนหนึ่งสามารถโชว์ฟอร์มได้ดี ก็กลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงมีค่าตัวที่สูงขึ้นมหาศาลได้
ทำให้ทุกคนมีแรงจูงใจที่จะเล่นเต็มที่ ประกอบกับการเล่นที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นคนยิงลูกเข้าประตูเสมอไป แต่คนที่ส่งลูกได้ดี หรือสกัดคู่แข่งได้ดีก็กลายเป็นดาราได้เช่นกัน
ยุ้ยคิดว่าหากเรามองการพัฒนาประเทศไทยในแบบเดียวกัน ร่วมกันสร้างกลไกที่ดีในการแก้ปัญหาให้ได้ มีความโปร่งใส มีกฎกติกาที่ง่ายๆ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยมีแรงจูงใจที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประเทศไทยก็จะไม่แพ้ชาติอื่นใดในโลก
เราต้องมาร่วมมือกันสร้างกลไกที่จะให้โอกาสและความเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างจริงจัง ต้องแก้ทุกปัญหาที่ยังวนเวียนเป็นวงจร ต้องทำให้ทุกคนมีโอกาสและเข้าถึงผลกำไรได้เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวให้เกิดความยั่งยืน
ประเทศไทยในปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันสูงขึ้น ถึงแม้จะมีความพยายามที่จะพัฒนาเรื่องการศึกษาจากหลากหลายรัฐบาลอยู่เสมอ ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่กลับแย่ลง
เพราะแม้จะได้รับการศึกษาและมีความรู้ดีขึ้น แต่ก็ยังถูกเอารัดเอาเปรียบ และไม่มีโอกาสที่เท่าเทียมในการสร้างรายได้อย่างเห็นได้ชัด จนมีเยาวชนไทยที่ไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาและตัดสินใจเลิกเรียนกลางคันในอัตราที่สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง
ปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย มีดังนี้
1.การที่หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงขึ้น แต่รายได้มีอัตตราการเติบโตที่ช้ากว่า ไม่สมดุลย์กัน
2.การที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเข้มข้น จากพ.ศ.2565 ที่มีจะนวนผู้สูงอายุ 10.9 ล้านคน หรือ 15% ของประชากร จะเพิ่มขึ้นเป็น 15.3 ล้านคน หรือ 21% ในพ.ศ. 2573 หรือใน 7 ปีข้างหน้า
3.การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) สภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง ฝนผิดฤดูกาล น้ำท่วม ฯลฯ จะส่งผลรุนแรงต่อภาคการเกษตรซึ่งกะทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของแรงงาน 11.59 ล้านคน ที่มีสัดส่วนสูงเกือบ 30% ของแรงงานทั้งประเทศ
4.ความก้าวหน้าทางเทคโลโลยี ที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแต่ละกลุ่มประชากร ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะของอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน และการครอบคลุมของเครือข่ายความเร็วสูง ที่ยังมีช่องว่างทางดิจิทัล (digital gap) ซึ่งนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้
ถ้าถามว่าแก้ไขได้ไหมและแก้อย่างไร คำตอบของยุ้ยคือ เราต้องสร้างกลไกในการลดและปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทั้งหมด 5 กลไกด้วยกัน ได้แก่
1.กลไกทางเศรษฐกิจ ต้องเอื้ออำนวยต่อการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม ให้ทุกคนแข่งขันบนความเท่าเทียม ไม่ใช่ผูกขาดอยู่กับบางกลุ่มเช่นปัจจุบัน
2.กลไกทางภาษี ใช้ระบบภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้า ช่วยให้กระจายรายได้และความมั่งคั่งอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
3.กลไกสวัสดิการของรัฐ ให้เท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา บริการสาธารณสุข และสินเชื่อเพื่อการลงทุน
4.กลไกการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งทางตรง และเชิงนโยบาย
5.กลไกการกระจายอำนาจทางการเมืองและการคลัง ใก้กระจายเข้าสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
ดังที่เอ่ยมาในตอนต้น ลองใช้ตรรกกะ และแรงจูงใจในการบริหารทีมและดาราฟุตบอลมาใช้ปลดล็อคความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยกันดีไหมคะ