‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย เปลี่ยนผ่านเป็น'คนมีบ้าน มีงานทำ'

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น'คนมีบ้าน มีงานทำ'

หลายครั้งที่เราเห็นภาพของคุณตาคุณยายบนสะพายลอย กำลังทำความสะอาด เช็ดถูบันได พื้นที่ส่วนต่างๆของสะพานลอย พื้นที่สาธารณะ โดยพวกเขาสวมผ้ากันเปื้อน มีตัวอักษร ‘จ้างวานข้า’ และสวมใส่ถุงมือทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง และใครเดินผ่านจะได้ยินคำทักทาย ‘สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ’

Keypoint:

  • 'จ้างวานข้า' โครงการเพื่อคนไร้บ้าน คนจนเมือง กลุ่มผู้สูงอายุให้มีงานทำ มีรายได้ เปลี่ยนผ่านสู่เป็นคนมีบ้าน
  • ปัจจุบันมีสมาชิก160คน ได้ค่าแรงคนละ 500 บาท เพื่อนำไปซื้ออาหารดีๆ มีเงินเก็บ เงินใช้ สะสมเงินนำไปเช่าบ้าน
  • ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ลด 3 เงื่อนไขที่ทำให้คนไร้บ้านไม่อยากทำงาน สภาพจิตใจและmindset กลุ่มอาการจิตเวช และติดเหล้า

เหล่าคุณตาคุณยายที่พบเห็น พวกเขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่พวกเขา เป็น ‘คนไร้บ้าน’ จากโครงการ ‘จ้างวานข้า’ของมูลนิธิกระจกเงา ที่มาจากแนวคิดจาก คำ 3 คำ คือ จ้าง พวกเขาทำงานให้มีรายได้ วาน พวกเราทำความสะอาดในพื้นที่ที่ท่านคิดว่าสกปรกและอยากเห็นมันสะอาด ข้า คือ คนไร้บ้านที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น

‘สิทธิพล ชูประจง’ หัวหน้าโครงการจ้างวานข้า มูลนิธิกระจกเงา ให้สัมภาษณ์ 'กรุงเทพธุรกิจ' ถึงจุดเริ่มต้นของโครงการจ้างวานว่ามูลนิธิกระจกเงา ได้มีโครงการที่คอยช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน หรือผู้ด้อยโอกาสอยู่แล้ว แต่ในช่วงโควิด-19 พบว่ามีกลุ่มคนไร้บ้านจำนวนมากขึ้น และส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

จึงมองหาแนวทางเพื่อช่วยให้คนไร้บ้านได้มีงานทำ มีบ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก่อเกิดโครงการจ้างวานข้า ที่จะเปิดรับสมัครกลุ่มคนไร้บ้าน เข้ามาทำงานเพื่อทำให้พวกเขามีรายได้ในการดูแลตัวเอง และเป้าหมายที่สำคัญ คือ ทำให้พวกเขามีบ้าน

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\'

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ส่องโจทย์ดูแล “คนจนเมือง-คนไร้บ้าน” ทีมบริหารกรุงเทพฯ มีทีเด็ดอะไร?

รวบรวมทุก “อาชีพผู้สูงอายุ” หาเงินอย่างไร? ให้มีความสุข

 

‘จ้างวานข้า’ ช่วยคนไร้บ้าน-ผู้สูงอายุ

“จริงๆ แล้วโครงการจ้างวานข้า ไม่ได้มุ่งว่าจะจ้างผู้สูงอายุเข้ามาทำงาน แต่กลุ่มเป้าหมายคือคนไร้บ้าน แต่ด้วยคนไร้บ้าน 70-80% เป็นผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 50-60 ปีขึ้นไป และตอนนี้มีกลุ่มคนทำวัยทำงานอายุ 40 ปีจำนวนมากขึ้น การออกแบบตัวงาน หรือพื้นที่การทำงาน ลักษณะงาน รายได้ กระบวนการอื่นๆ จึงต้องสอดคล้องกับความเป็นผู้สูงอายุ ให้ทุกคนเปลี่ยนผ่านตนเอง จากคนไร้บ้าน เป็นคนมีบ้าน มีงานทำ”สิทธิพล กล่าว

ขณะนี้สมาชิกคนทำงานจ้างวานข้า อยู่ 160 คน คนไร้บ้านประมาณ 50% และคนจนเมืองที่เป็นผู้สูงอายุ 50% และพวกเขามีปัญหาสิ่งที่ไม่เหมือนกัน คือ คนจนเมืองมีห้องเช่าราคาถูกประมาณ 1,500 บาท และพวกเขาจะมีความพยายามอย่างมากให้มีรายได้ มีเงินค่าเช่าห้อง

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\'

ขณะที่คนไร้บ้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีห้องเช่า เก็บขวด พอให้มีเงินใช้จ่ายในแต่ละวัน และบางคนจะมีเงินเบี้ยคนชรา ส่วนอาหารการกิน จะไปรับจากโรงทานที่บริจาคข้าวให้ฟรี

 

ออกแบบงานเหมาะกับคนไรบ้าน

สิทธิพล เล่าต่อว่าลักษณะงานในโครงการจ้างวานข้า จะเป็นงานง่ายๆ และงานที่พวกคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยายทำได้ตามสภาพร่างกาย และความชอบในการทำงาน เช่น งานทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูก จะเป็นงานง่ายๆ เช่น งานทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถู คัดแยกเสื้อผ้า คัดแยกข้าวของเครื่องใช้ คัดแยกรีไซเคิลของที่มาบริจาคในมูลนิธิกระจกเงา

โดยจะได้รับค่าแรงวันละ 500 บาท เพราะด้วยภาวะทางเศรษฐกิจในตอนนี้ ค่าแรงที่พวกเขาได้รับเพื่อให้พออยู่ พอกิน พอใช้ ประมาณ 500 บาท ให้พวกเขาได้มีโอกาสเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณภาพ และพอมีเงินเก็บเล็กๆ น้อยๆ ไปหาหมอ ไปซื้อยาได้

"ในการมาทำงาน จะมีการแบ่งเป็นกลุ่มๆ โดยจะพิจารณาเรื่องมิติทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ว่าใครจะได้ทำงาน 2-3 วัน หรือ 5 วันต่ออาทิตย์ เพราะบางคนชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน บางคนมีบ้าน ไม่ต้องเช่า ก็จะให้เขามาทำงาน 2 วัน หรือคนไร้บ้านบางคน ไม่มีอะไรเลยก็จะให้ทำงาน 5 วัน เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของเขาเปลี่ยนผ่านไปสู่การมีรายได้ มีงานทำ มีบ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” สิทธิพล กล่าว

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\'

'สุขภาพ' ปัญหาที่พบมากสุดในคนไร้บ้าน

ปัญหาที่พบมากที่สุดในกลุ่มคนไร้บ้าน คือ ปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งร่างกาย และจิตใจ ซึ่งการดูแลสุขภาพถ้วนหน้านั้นอาจจะใช้ได้ไม่ถ้วนหน้าแก่กลุ่มคนไร้บ้าน หลายคนไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพ ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคอะไร เมื่อมาเข้าโครงการจ้างวานข้า จะได้รับการตรวจสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อที่ทางโครงการจะได้คัดเลือกงานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และสุขภาพของคนไร้บ้าน เช่น ไปทำงานข้างนอก แดดแรงๆ คนไร้บ้านที่เป็นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อาจจะไม่เหมาะ ต้องจัดงานอื่นๆ ให้แก่พวกเขา เป็นต้น

สิทธิพล เล่าต่อไปว่าทางโครงการจะมีระบบพาไปโรงพยาบาล มีทีมที่จะทำหน้าที่ติดตามในเรื่องของการดูแลสุขภาพ เพราะ การดูแลกลุ่มคนไร้บ้าน จะดูแลเฉพาะเรื่องมิติทางเศรษฐกิจอย่าเงดียวไม่เพียงพอ พวกเขามีเงื่อนไขอื่นๆ ที่ต้องได้รับการสนับสนุน ดูแล เพื่อลดช่องว่าง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น ตอนนี้สิ่งที่ต้องดูแลเพิ่มเติม คือ กลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่ ส่วนใหญ่อายุประมาณ 40 กว่าปี ถือเป็นกลุ่มคนวัยแรงงาน เริ่มออกมาเร่ร่อนมากขึ้น

“ที่ผ่านมา มูลนิธิกระจกเงา ได้ทำงานร่วมกับหลายๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพมหานคร (กทม.)เพราะมีทรัพยากร และมีงบประมาณในการทำให้เกิดพื้นที่การจ้างงานได้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มคนไร้บ้าน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการมีค้นหางานอื่นๆ ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้สูงอายุ เช่น งานช่าง งานทาสีในพื้นที่ต่างๆ งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ทางเราก็จะมีการอบรม และเพิ่มเติมทักษะให้สามารถทำงานได้ ในปี2567 นี้ ตั้งเป้าจะขยายพื้นที่การทำงานเพิ่ม เพื่อรับคนไร้บ้านเข้าทำงานอีก 100 กว่าคน” สิทธิพล กล่าว

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\'

กระตุ้นชีพจรของชีวิต ‘คนไร้บ้าน-สูงวัย’

โครงการจ้างวานข้า’ เกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยของคนไร้บ้านประสบปัญหาด้านคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง สาเหตุหลัก มาจากต้นทุนชีวิตในมิติต่างๆ ต่ำอย่างมาก ทั้ง มิติทางเศรษฐกิจ ไม่มีเงินเก็บ รายได้ไม่มากพอยกระดับสภาพเศรษฐกิจส่วนบุคคลได้ อีกทั้งคนไร้บ้านขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งรายได้ ไม่มีทักษะในการประกอบอาชีพ และมิติด้านสุขภาพ มิติที่อยู่อาศัย ดังนั้น การจัดสรรงานให้กับคนไร้บ้าน จึงควรเป็นงานที่ใช้ทักษะพื้นฐาน

สิทธิพล เล่าอีกว่ามูลนิธิกระจกเงา พยายามผลักดันโครงการหรือกิจกรรมลักษณะจ้างงานคนไร้บ้าน ผู้สูงอายุ ให้เกิดขึ้นในหลายๆ หน่วยงาน เพื่อให้คนไร้บ้าน ผู้สูงอายุได้มีรายได้ เข้าถึงอาหารการกินได้มากขึ้น เพิ่มคุณค่าในตัวเอง กระตุ้นชีพจรของชีวิตให้กระตือรือร้นมากขึ้น และเป็นการสื่อสารในประเด็นคนไร้บ้านให้สาธารณะได้รับทราบถึงปัญหา ช่องว่าง และก่อให้เกิดการสนับสนุนจากภาคสังคมมากขึ้น

“การดูแล เพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่คนไร้บ้าน ถ้าในหลักการของเราถึงแม้จะช่วยให้พวกเขามีบ้านไม่ได้ทันที แต่พวกเขาควรเข้าถึงการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ ฉะนั้น หน่วยงานรัฐต้องช่วยสนับสนุน ดูแลทั้งด้านสุขภาพ การมีงานทำ หรือหน่วยงานเอกชน เข้ามาสนับสนุนให้พวกเขาได้ใช้ชีวิต ได้ทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ ซักผ้า ได้เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ๆได้รับประทานอาหารที่มีดี มีประโยชน์ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ให้ได้รับปัจจัยพื้นฐาน ที่คนๆ หนึ่งควรจะได้รับ” สิทธิพล กล่าว

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\'

3 เงื่อนไขคนไร้บ้าน ไม่อยากทำงาน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะตอบโจทย์และลดจำนวนคนไร้บ้านได้นั้น ต้องทำให้คนไร้บ้านมีความต้องการทำงาน และมีสภาพจิตใจที่พร้อมทำงาน เพราะเงื่อนไขที่ทำให้คนไร้บ้านไม่เข้าสู่ระบบงาน คือ

1.สภาพจิตใจ และMindset ของพวกเขา เขาไม่อยากเข้าสู่ระบบการทำงาน หลายคนปรับตัวกับการใช้ชีวิตข้างถนนได้แล้ว

2. กลุ่มคนไร้บ้านที่มีอาการจิตเวช

3.กลุ่มคนติดเหล้า

กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมีกลไก เครื่องมือ กระบวนการที่จะทำให้พวกเขาได้รับการดูแล รักษา ทำให้ระบบความคิดเป็นปกติ และอยากทำให้คุณภาพชีวิตของตัวเองดีขึ้น

“ปัญหาคนไร้บ้าน ผู้สูงอายุออกมาเร่ร่อนจะดีขึ้น หากทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ และเข้าถึงปัญหาที่พวกเขาพบเจอ โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชนที่มีทรัพยากร มีงบประมาณต้องเข้ามาช่วยสนับสนุน ดูแล แก้ปัญหาเรื่องนี้ ลำพังเพียงมูลนิธิกระจกเงา หรือมูลนิธิอื่นๆ ใช้เครื่องมือ เพื่อปลดล็อกปัญหาคงทำได้จำกัด ดังนั้น อยากให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญปัญหาคนไร้บ้าน ผู้สูงอายุเร่ร่อน ก่อนที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น” สิทธิพล กล่าวทิ้งท้าย

‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\' ‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\' ‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\' ‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\' ‘จ้างวานข้า’ช่วยคนไร้บ้าน-สูงวัย  เปลี่ยนผ่านเป็น\'คนมีบ้าน มีงานทำ\'