3กลุ่มเสี่ยงสุขภาพจิต เมื่อเผชิญเหตุวิกฤต MCATTต้องเยียวยาภายใน 72 ชั่วโมง
ทุกเหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบต่อจิตใจของผู้คน ทีมMCATT จะต้องเข้าถึงพื้นที่ภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อดูแลเยียวยาจิตใจในระยะวิกฤติ ประเมินคัดกรองแยกเป็น 3 กลุ่ม
Keypoints :
- ผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการเกิดสถานการณ์วิกฤตแต่ละเหตุการณ์ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสุขภาพจิต
- หากได้รับการช่วยเหลือทันทีหลังเหตุการณ์วิกฤต อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการสุขภาพจิต จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรัง หรือเจ็บป่วยทางจิตเวช
- การดูแลเยียวยาจิตใจของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตของทีม MCATT และการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 3 ระดับและกลไกการช่วยเหลือ
ผลกระทบเมื่อเผชิญวิกฤต
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตทุกครั้งจะมีผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การเกิดสถานการณ์วิกฤตแต่ละเหตุการณ์ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน เป็นจำนวนมาก เกิดปฏิกิริยาทางจิตใจทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีความรุนแรงหรือไม่รุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- ทำให้ประชาชนเกิดอาการช็อค ตื่นตระหนก ตื่นกลัว เสียขวัญ เสียใจ โกรธ
- เกิดภาวะเครียด และส่งผลต่อจิตใจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- เกิดความผิดปกติและโรคทางจิตเวช เช่น โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorders: PTSD) ภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย และการติดสุรา/สารเสพติด
ทั้งนี้ จากการวิจัยติดตามปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบหรือสูญเสียจากภัยพิบัติ พบว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือสูญเสียจากเหตุการณ์สึนามิภาคใต้ของประเทศไทยหลังเหตุการณ์ ในนพ.ศ.2548 13.3 % และหลังเหตุการณ์ 3 ปี ใน พ.ศ.2551 2.7 % เป็นโรคซึมเศร้า ,13.4% วิตกกังวล และ 15.3 %มีความทุกข์โศก
และจากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าผู้ประสบภัย 29 %มีปัญหา สุขภาพจิต,10.7% เครียดภายหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ, 3.3% ภาวะซึมเศร้า และ 11.6% ติดสุรา
จุดเริ่มต้นMCATT
หากย้อนไปในช่วงก่อนที่จะสึนามิในประเทศไทยเมื่อปี 2547 มิติของการดูแลเยียวยาจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วิกฤต อาจไม่ได้มีการวางระบบอย่างชัดเจนนัก และต่อมาประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตสุขภาพจิตบ่อยขึ้น เช่น วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง วิกฤตความรุนแรงทางภาคใต้ ของประเทศไทย ไข้หวัดนกระบาด โรคซาร์ส กระทั่ง ปี 2554 เกิดมหาอุทกภัย กรมสุขภาพจิต จึงได้มีการจัดตั้งทีมช่วยเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team: MCATT) หรือทีม MCATT
ทำหน้าที่เยียวยาจิตใจประชาชนที่ประสบภาวะวิกฤตให้ครอบคลุมทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทีมสาธารณภัยต่างๆ มุ่งเน้นการให้ความรู้ ทักษะ แนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากร ในระบบบริการสาธารณสุขและประชาชน ตั้งแต่ก่อนประสบภาวะวิกฤต การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจระหว่าง ประสบภาวะวิกฤต และการฟื้นฟูด้านจิตใจหลังประสบภาวะวิกฤต
องค์ประกอบทีม MCATT
ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team: MCATT) หมายถึง ทีมสหวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งโครงสร้างทีม MCATT เป็นระดับกรมสุขภาพจิต ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่ทีม MCATT ในพื้นที่ ,ให้การสนับสนุนทีม MCATT แก่เครือข่าย, ดูแลผู้ประสบภาวะวิกฤตกลุ่มเสี่ยงยุ่งยากซับซ้อน ที่ส่งต่อมาจากทีม MCATT ในพื้นที่,ให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต,ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤตให้แก่บุคลากรในเครือข่าย,จัดบริการด้านสุขภาพจิต และกิจกรรมการมีส่วนร่วม ของชุมชน (Empowerment) ในศูนย์พักพิง ขนาดกลางและใหญ่ ในพื้นที่ประสบภัยที่หน่วยงาน รับผิดชอบ และติดตามการดำเนินงานวิกฤตสุขภาพจิตในพื้นที
ส่วนระดับจังหวัดและอำเภอ ทำหน้าที่ประเมินคัดกรองและให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤตในพื้นที่ ,ให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต ,ประสานและให้การสนับสนุนทีม MCATT แก่เครือข่าย , ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤตให้แก่บุคลากรในเครือข่าย ,รายงานผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน และติดตามการดำเนินงานวิกฤตสุขภาพจิตในพื้นที่
และระดับตำบล อสม. แกนนำชุมชน อาสาสมัครในชุมชน ประเมิน คัดกรองภาวะสุขภาพจิตเบื้องต้นและปฐมพยาบาล ทางจิตใจเบื้องต้น และรพ.สต. จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง หากพบผู้ที่มีปัญหา เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้รายงานทีม MCATT ระดับอำเภอ เป็นต้น
4ระยะช่วยเหลือเยียวยา
สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย ผู้บาดเจ็บ ญาติผู้บาดเจ็บ / เสียชีวิต ผู้สูญเสียบ้าน / ทรัพย์สิน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ผู้รับรู้เหตุการณ์ และเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้การช่วยเหลือ ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ ส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะด้านจิตใจพบว่าจะมีความเครียด วิตกกังวล หวาดผวา ซึมเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง
ในการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะเตรียมการ
2. ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน แยกเป็นระยะวิกฤต ตั้งแต่เกิดเหตุ - 72 ชั่วโมงและ ระยะฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง – 2 สัปดาห์
3. ระยะหลังเกิดเหตุการณ์ ช่วง2 สัปดาห์ - 3 เดือน
4. ระยะฟื้นฟู หลังเกิดเหตุการณ์ 3 เดือนขึ้นไป
3 ระดับกลุ่มเสี่ยง
การเข้าไปยังพื้นที่และประเมิน คัดกรองผู้ได้รับผลกระทบ จะแยกความเสี่ยงต้องเฝ้าระวัง เพื่อการติดตาม เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มเสี่ยงสูง (สีแดง) ผู้บาดเจ็บ ,ญาติผู้เสียชีวิต, ผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
2. กลุ่มเสี่ยงปานกลาง (สีเหลือง) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่
หากไม่พบปัญหาสุขภาพจิตให้การช่วยเหลือตามสภาพของปัญหา ถ้ามีปัญหาสุขภาพจิต ทีม MCATT ให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ บำบัดรักษา หากไม่สามารถบริหารจัดการและช่วยเหลือได้ เช่น มีโรคทางกาย ผู้พิการ เด็กเล็ก มีปัญหาที่อยู่อาศัย เครื่องมือ ประกอบอาชีพ ควรส่งต่อให้หน่วยบริการสุขภาพหรือแหล่งช่วยเหลือทางสังคมอื่นๆ เพื่อการฟื้นฟูจิตใจและอาชีพ
รวมถึง มีการติดตามดูแลต่อเนื่องเป็นระยะจนกว่าจะหมดความเสี่ยง หากพบว่ายังมีปัญหาที่ต้องรับการรักษา ส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ กรณีการฟื้นฟูผู้ประสบภาวะวิกฤตเพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต โดยมีการจัด กิจกรรมเสริมพลัง ของคนในชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในชุมชน และการสร้างความตระหนักในชุมชน และสรุปผลการปฏิบัติงานให้การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภาวะวิกฤต แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งต่อข้อมูล สรุปรายงานการปฏิบัติงานตามขั้นตอน
ผลเฝ้าระวังวิกฤตสุขภาพจิต
การเฝ้าระวังของทีม MCATT ระหว่าง1 ต.ค.2565-12พ.ค.2566
- รวม 231 เหตุการณ์
- ผู้ได้รับผลกระทบ 2,462 คน
- ได้รับการดูแลเยียวยาจิตใจ 2,218 คน
- เสี่ยงสูง830 คน เสี่ยงกลาง 454 คน เสี่ยงต่ำ 934 คน
ประเภทภัย
- อุทกภัยและดินโคลนถล่ม 46 เหตุการณ์
- พายุหมุนเขตร้อน 11 เหตุการณ์
- อัคคีภัย 30 เหตุการณ์
- ภัยหนาว 3 เหตุการณ์
- โรคระบาดในมนุษย์ 1 เหตุการณ์
- ภัยแล้ง 1 เหตุการณ์
- ภัยจากทุ่นระเบิดับระเบิด 25 เหตุการณ์
- ภัยจากการชุมนุมประท้วงก่อการจลาจล 1 เหตุการณ์
- ก่อวินาศกรรม 8 เหตุการณ์
- ภาวะวิกฤตทางสังคม 88 เหตุการณ์
- ภัยจากการคมนาคมและขนส่ง 17 เหตุการณ์