บอร์ด สปสช. ไฟเขียว เพิ่มสิทธิตรวจมะเร็งเต้านม กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิรักษา

บอร์ด สปสช. ไฟเขียว เพิ่มสิทธิตรวจมะเร็งเต้านม กลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิรักษา

บอร์ด สปสช. เห็นชอบสิทธิประโยชน์ตรวจมะเร็งเต้านมในกลุ่มเสี่ยงด้วย แมมโมแกรม/อัลตราซาวด์ ในหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม

วันนี้( 18 มกราคม 2567 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยได้พิจารณาและเห็นชอบ “ข้อเสนอการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์” ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอโดย รศ.ประสบศรี อึ้งถาวร ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข และนางวราภรณ์ สุวรรณเวลา รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ตามนโยบาย “มะเร็งครบวงจร” ของรัฐบาล เพื่อมุ่งดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าถึงการรักษาพยาบาล รวมถึงบริการตรวจคัดกรองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคมะเร็งเต้านมนับเป็นภัยร้ายทางสุขภาพของผู้หญิงทุกคน โดยสถานการณ์มะเร็งเต้านมในประเทศไทย แต่ละปีมีผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่อยู่ที่ 37.8 ต่อแสนประชากร ซึ่งปี 2563 อยู่ที่จำนวน 22,158 คน หรือร้อยละ 22.8 ของจำนวนผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งทุกชนิด ขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมอยู่ที่ 12.7 ต่อแสนประชากร ปี 2563 อยู่ที่จำนวน 8,266 คน หรือร้อยละ 14.6 ของผู้หญิงที่เสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิด
 

ทั้งนี้ บอร์ด สปสช. ตระหนักต่อสถานการณ์ที่ปรากฏนี้ จึงมีนโยบายที่เน้นการตรวจคัดกรอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม และในวันนี้ บอร์ด สปสช. ได้เห็นชอบมาตรการเพิ่มเติม การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ปีละ 1 ครั้ง ในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไปทุกสิทธิการรักษาพยาบาลที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม และกำหนดเป้าหมายบริการตรวจคัดกรองในปี 2567 จำนวน 40,600 ราย  

“ด้วยสิทธิประโยชน์นี้ จะเป็นการสนับสนุนนโยบายมะเร็งครบวงจรของรัฐบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยมะเร็งและผู้ที่มีความเสี่ยงให้เข้าถึงบริการที่จำเป็น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นอุปสรรค” นพ.ชลน่าน กล่าว

ด้าน นพ.จเด็จ กล่าวว่า ข้อเสนอที่บอร์ด สปสช. เห็นชอบในวันนี้ พิจารณาข้อมูลจากผลการศึกษาการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ฯ และข้อเสนอจาก Service plan สาขาโรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข โดยหากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาระยะเริ่มต้นจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตสูง (
 

ระยะแรกที่ 1 อัตราการรอดชีวิตจะอยู่ที่ 94.40% ระยะที่ 2 อยู่ที่ 85% ระยะที่ 3 อยู่ที่ 56.60% และระยะที่ 4 อยู่ที่ 28.30%) ผลการรักษาดี ภาวะแทรกซ้อนต่ำ และสามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ ส่วนที่กำหนดให้สิทธิบริการผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปนั้น เพราะจากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะอยู่ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี มากที่สุด ซึ่งในทางการแพทย์การตรวจคัดกรองญาติสายตรงต้องลบอายุจากญาติที่เป็นมะเร็งเต้านมออก 10 ปี และควรตรวจทุก 1 ปี

ขณะที่ในส่วนของงบประมาณนั้น บอร์ด สปสช. มอบให้สำนักงานฯ เสนอของบกลาง สำหรับใช้ดำเนินการปีงบประมาณ 2567 จำนวน 87.36 ล้านบาท พร้อมกันนี้ให้ประสานสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ Service plan กระทรวงสาธารณสุข ในการดำเนินการ และให้มีกลไกวิชาการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและกำกับติดตามประเมินผลอย่างรอบด้าน รวมทั้งการเข้าถึงบริการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขยายผลต่อไป

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ฯ นี้ จะเป็นบริการที่เข้ามาเสริมเพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์ที่มีอยู่แล้วในระบบบัตรทอง ได้แก่ การให้คำแนะนำคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการคลำเต้านมด้วยตนเองสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 25-59 ปี และบริการตรวจคัดกรองยีนกลายพันธ์โรคมะเร็งเต้านม BRCA1 /BRCA2 สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ ซึ่งเป็นการกำหนดบริการตรวจคัดกรองที่เพิ่มเติมตามความเสี่ยงขอ