คนไทยเจ็บป่วย มีปัญหาสุขภาพจิต 10 ล้านคน ทุกวัยเครียด ซึมเศร้าพุ่ง
"สภาพัฒน์"เผยคนไทยเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.1 จากโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ขณะที่สุขภาพจิตพุ่ง พบผู้มีปัญหา 10 ล้านคน ทุกวัยประสบปัญหาเครียด ซึมเศร้า จากการเรียน ความคาดหวังในอนาคต และขาดกิจกรรมในสังคม
KEY
POINTS
- "สภาพัฒน์"เผยคนไทยเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.1 จากโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก
- คนไทยป่วยสุขภาพจิตพุ่ง พบผู้มีปัญหา 10 ล้านคน ทุกวัยประสบปัญหาเครียด ซึมเศร้า จากการเรียน ความคาดหวังในอนาคต และขาดกิจกรรมในสังคม
- ไทยขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพจิต แนะทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน สังคม ต้องช่วยกันป้องกัน รักษา ติดตาม เยียวยาและฟื้นฟู
วันนี้ (27 พ.ค.2567)สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 เปิดเผยถึงสุขภาพและการเจ็บป่วย ว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.1 จากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก สุขภาพจิตของคนไทยในไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 พบส่วนใหญ่มีปัญหาเสี่ยงซึมเศร้าสูงสุด ร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 8.4
โดยประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ
1.โรคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดการระบาดในปี 2567 ซึ่งมี 3 โรคสำคัญ ได้แก่
- โรคโควิด-19 กรมควบคุมโรคคาดการณ์ว่า ในปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 649,520 ราย ลดลงจากปี 2566 พบ 652,868 ราย
- โรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 346,110 ราย ลดลงจากปี 2566 พบ 460,325 ราย
- โรคไข้เลือดออก ปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 276,945 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2566 พบ 156,097 ราย
2.การเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2566 คนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง 1,062,756 ราย เป็นผู้ป่วยในระยะที่ 3 มากที่สุด และจำนวนผู้ป่วยระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตก็มีจำนวน 70,474 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565ร้อยละ 12.9
โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับการป้องกัน คือ ลดการบริโภคโซเดียม เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ งดรับประทานยาชุด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
“Self-Care” เรื่องง่ายๆ ที่ถูกมองข้าม ทักษะดูแลตัวเอง ที่ช่วยให้งานปัง!
ความครอบคลุมฉีดวัคซีนหัดในไทย ต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
3.การเฝ้าระวังพฤติกรรมทางอาหารที่ไม่ปรุงสุกเสี่ยงป่วยด้วยโรคหูดับ
ในโลก Social พบพฤติกรรมการรับประทานเนื้อสัตว์โดยไม่ผ่านการปรุงสุกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อหมูซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหูดับ ปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 607 ราย เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2561-2565)
ขณะที่ ปี 2567 (ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 4 พ.ค) พบผู้ป่วย 248 ราย เสียชีวิตแล้ว 14 ราย ดังนั้น ถ้าได้รับเชื้อภายใน 3 วัน ให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการรับประทานอาหารให้แพทย์ทราบ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการหูดับและการเสียชีวิตได้
4. ความครอบคลุมของวัคซีนหัดในประเทศไทย
ปี 2567 ( ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 4 พ.ค.) พบผู้ป่วยโรคหัดแล้ว 802 ราย พบมากในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุ 1-4 ปีความครอบคลุมจะอยู่ที่ร้อยละ 80 ต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 95
ดังนั้น ต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองพาเด็กเล็กที่ยังไม่เคยรับวัคซีนเข้ารับได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุ 9 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง
คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิต 10 ล้านคน
นอกจากนั้น ทางสภาพัฒน์ ได้รายงานสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ว่า Mental health ปัญหาสำคัญ โดยในปี 2562 องค์การอนามัยโลก ระบุว่า 1ใน 8 ของคนทั่วโลก มีปัญหาด้านสุขภาพจิต หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 970 ล้านคนทั่วโลก
ในประเทศไทย พบผู้ป่วยเข้ารับบริการด้านจิตเวชมากขึ้น จากจำนวน 1.3 ล้านคน ในปีงบฯ พ.ศ. 2558 เป็น 2.8 ล้านคน ในปีงบฯ พ.ศ.2562 และ 2.9 ล้านคน ในปีงบฯ พ.ศ.2566
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยมีความรุนแรงขึ้น แต่อาจไม่ได้เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากยังแตกต่างจากสัดส่วนระดับโลกค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสถานการณ์ในรายละเอียด กลับพบประเด็น ดังนี้
"แม้ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 2.9 ล้านคน แต่ผู้มีปัญหาอาจมากถึง 10 ล้านคน ทำให้สัดส่วนผู้มีปัญหาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก จากปี 2556 พบผู้มีปัญหา 7 ล้านคน ส่วนปี 2566 พบผู้มีปัญหา 10 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาจำนวนมาก"
"ซึมเศร้า"ส่งผลวัยทำงานหายไป 12 พันล้านวัน
นอกจากผู้ป่วยจำนวนมากแล้ว ผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตยังมีสัดส่วนสูงเช่นกัน จากการประเมินสุขภาพจิตตนเอง กรมสุขภาพจิต ข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค.2566- 22 เม.ย.2567 พบว่า ปีงบฯ 2567 มีผู้เข้ารับการประเมิน 8.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 โดยผู้เข้ารับการประเมิน จะมีอัตราความเครียดสูง ร้อยละ 15.4 เสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 17.2 เสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 10.6
ปัญหาสุขภาพจิตไม่เพียงกระทบต่อตนเอง แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดคิด พบว่า ภาวะซึมเศร้า บวกกับความวิตกกังวลของประชากรทั่วโลก ทำให้วัยทำงานหายไป ประมาณ 12 พันล้านวัน สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
เกือบ 1 ใน 5 ของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตไม่สามารถดูแลตนเองได้ ทำให้ครัวเรือนต้องจัดหาผู้ดูแล และเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ไม่ถึง 1 ใน 4 ได้รับการติดตามดูแล และเฝ้าระวังแนวทางที่กำหนด โดยในปี งบฯ พ.ศ. 2566 มีเพียง ร้อยละ 23.34 จากทั้งหมด 27,737 คน
ผู้ป่วยโรควิตกกังวล ซึมเศร้า สูงกว่าผู้ป่วยติดยาเสพติด
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความกดดันส่งผลให้คนไทย เป็นโรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวลมากขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า มีสัดส่วนสูงสุด 2 อันดับแรก สูงกว่าผู้ป่วยติดยาบ้า หรือยาเสพติดอื่นๆ ร่วมกัน
การฆ่าตัวตายสูงใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง พบผู้ฆ่าตัวตายจำนวน 5,172 คน เท่ากับ 7.94 ต่อประชากรแสนคน ใกล้เคียงกับสถิติช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง 8.59 ต่อประชากรแสนคน
ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตภายใน จากการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า สภาวะโลกร้อนและฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ซึ่งไทยกำลังประสบปัญหา PM2.5 อันดับต้นๆ ของโลก
"เด็กและเยาวชน" เครียด-ซึมเศร้าจากการเรียน ความคาดหวังในอนาคต
ทั้งนี้ หากพิจารณาตามช่วงวัย จะพบสาเหตุของปัญหาที่น่าสนใจแตกต่างกัน คือ
ในกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน จะมีปัญหาสุขภาพจิตในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเครียด พบว่า
ปี 2567 (ม.ค.-มี.ค.2567 ) พบผู้ป่วยมีความเครียดเพิ่มขึ้นจากปี 2566 โดยในปี 2567 พบวัยเด็กและเยาวชน มีภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.7 และภาวะเครียดสูง ร้อยละ 18.3 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดสูง
- กลุ่มอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 38.4 และอายุ 19-22 ปี ร้อยละ 60.9 เครียดด้านการเรียนและความคาดหวังถึงงาน ในอนาคตมากที่สุด
- กลุมอายุ 23-25 ปี ร้อยละ 67.1 เครียดด้านการเงินของครอบครัว และร้อยละ 66.1 เครียดการเรียนและการทำงาน
นอกจากนั้นในกลุ่มนี้ ยังมีภาวะการกลั่นแกล้ง ที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 44.3 เคยถูกกลั่นแกล้ง โดยเกิดขึ้นภายในโรงเรียนมากถึง ร้อยละ 86.9 ส่งผลกระทบให้เกิดความเครียด ความรู้สึกอับอาย มีความมั่นใจในตนเองต่ำลง จนกระทั่งซึมเศร้า
"วัยทำงาน" ความรับผิดชอบสูง และหลายปัญหารุมเร้า
วัยทำงานมีสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตหลายปัจจัย ทั้งความเครียด จากการทำงาน การติดสุรา การใช้สารเสพติด และปัญหาจากการดำรงชีพ โดยปัจจัยสำคัญอาจทำให้เผชิญปัญหาสุขภาพจิต คือ
- การทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการทำงาน
- การใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของแต่ละวันไปกับการทำงาน
- กรุงเทพฯจัดอยู่ในอันดับที่ 5 จาก 100 เมืองของประเทศทั่วโลก ที่มีผู้คนทำงานหนักเกินไปและมีพนักงานประจำกว่า ร้อยละ 15.10 ทำงานล่วงเวลามากกว่า 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
- คนกรุงเทพฯ 7 ใน10 มีอาการหมดไฟในการทำงาน
- การทำงานหนัก ส่งผลให้เกิดปัญหาความเครียด ซึมเศร้า และหมดไฟในการทำงานได้ง่าย
ในปี 2566 วัยแรงงานขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวลไม่มีความสุขในการทำงานจำนวนมากถึง 5,989 สาย จาก 8,009 สาย ซึ่งหากภาวะเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง จะทำให้ปัญหาสุขภาพร่างกายรุนแรงมากขึ้น
ผู้สูงอายุ เหงาและโดดเดี่ยว สูญเสียคุณค่าในตนเอง
การขาดกิจกรรมและการอยู่คนเดียว พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 84.93 มีความสุขในระดับที่ดี แต่ความสุขจะลดน้อยลงตามวัน
ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียว มีสูงถึง ร้อยละ 28.1 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดกิจกรรมและบทบาททางสังคม โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เลย ถึงร้อยละ 49.0 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
อีกทั้ง มีผู้สูงอายุจำนวนมากมีภาวะความจำเสื่อม และมีปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่นๆ ร่วมด้วย โดยผู้สูงอายุ 8 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 10.2 ต่อประชากรแสนคน ต้องใช้ชีวิตอยู่กับภาวะความจำเสื่อม ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 90.0 มีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ร่วมด้วย
ทั้งนี้ แม้ผู้สูงอายุจะมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายเพียง 14.42 ต่อ ประชากรแสนคน แต่กลับพบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าช่วงวัยอื่นอยู่ที่ 9.47 คนต่อประชากรแสนคน
ไทยขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพจิต-จิตเวช
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสุขภาพจิต ยังคงเป็นประเด็นท้าทายสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชของไทย พบว่า ในปี 2565 ไทยมีจำนวนจิตแพทย์รวมทั้งหมด845 คน คิดเป็นอัตราส่วนจิตแพทย์ 1.28 ต่อ ประชากรแสนคน และมีนักจิตวิทยา (คลินิก) 1,037 คน คิดเป็น 1.57 ต่อประชากรแสนคน และ พยาบาลจิตเวช4,064 คน คิดเป็น 6.14 ต่อประชากรแสนคน เท่านั้น
โดยจังหวัดที่มีจิตแพทย์ สูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร (5.0 ต่อประชากรแสนคน) ขณะที่บางจังหวัดไม่มีจิตแพทย์เลย โดยภาพรวม อัตราส่วนจิตแพทย์ของไทยต่ำกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนด และต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์
ป้องกัน รักษา สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันทางสังคม
ฉะนั้น ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก คือ การป้องกัน สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันทางสังคม โดยเฉพาะ สถาบันครอบครัว ควรเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี อาทิ การพูดคุยแลกเปลี่ยนนความรู้สึก การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม การเลี้ยงดูเชิงสร้างสรรค์
สถาบันการศึกษา :ควรเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพจิตผ่านการเรียนการสอน รวมถึงการเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยง และให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่นักเรียน
สถานที่ทำงาน : ควรสร้างสภาพแวดล้อม และระบบการทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต อาทิ การให้สถานประกอบการจัดบริการสุขภาพจิตประจำปีแก่พนักงาน การยืดหยุ่นตารางเวลาการทำงาน
สถาบันชุมชน: ส่งเสริมการพัฒนาและจัดบริการสุขภาพจิตในชุมชน อาทิ การจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ การเฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย การบูรณาการเครือข่ายในระดับชุมชน
การรักษา ควรเร่งเพิ่มและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิตให้เพียงพอ ต่อจำนวนผู้ป่วย รวมทั้งขยายบริการ การรักษา ผู้ป่วยจิตเวชในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติ อีกทั้งต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้มากขึ้นกว่าเดิม อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มการตรวจจับปัญหาสุขภาพจิตแต่แรกเริ่ม การจัดบริการสุขภาพจิตทางไกล เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
การติดตามและการฟื้นฟูเยียวยา :ต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุม เร่งติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงให้ได้รับการรับฟื้นฟูต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนและสังคม อาทิ วัด หรือองค์การศาสนาต่างๆ ในการส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพทางจิตใจ และความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานด้าน