กินแล้วเสี่ยงตาย ไซบูทรามีน คืออะไร ทำไมชอบใส่ในยาลดความอ้วน จับได้คุก 20 ปี
ไซบูทรามีน คืออะไร กินแล้วเสี่ยงตาย แต่ทำไมชอบใส่ในยาลดความอ้วน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยความอันตรายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารไซบูทรามีน ส่วนคนขายที่แอบใส่สาร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 7-20 ปี
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยความอันตรายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารไซบูทรามีน ส่วนคนขายที่แอบใส่สาร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 7-20 ปี
ไซบูทรามีน คืออะไร กินแล้วเสี่ยงตาย
ไซบูทรามีน เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาท โดยการเพิ่มสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (serotonin) นอร์อีพิเนฟรี (norepinephrine) รวมถึงโดปามีน (dopamine) ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้จะออกฤทธิ์ทำให้ลดความอยากอาหาร อารมณ์ดี และต้านการซึมเศร้า นอกจากนี้พบว่าไซบูทรามีนยังสามารถกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญพลังงานของ ร่างกาย ด้วยฤทธิ์เหล่านี้จึงสามารถนำ มาใช้ลดนํ้าหนักได้
ไซบูทรามีน ผลข้างเคียงเสี่ยงตาย
- หลอดเลือดขยาย
- ความดันโลหิตสูง
- ท้องผูก
- ปากแห้ง
- นอนไม่หลับคลื่นไส้
- หัวใจเต้นเร็ว
- ใจสั่น สับสน อ่อนแรง ปวดหัว
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด
ไซบูทรามีน ถูกยกเลิกทะเบียนตำรับยาไปแล้ว ตั้งแต่ ปี 2553 เนื่องจากมีรายงานถึงผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต
โทษทางกฎหมายของไซบูทรามีน
โทษคือผู้ใดที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นส่วนผสม จะต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี ปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท ตามมาตรา 115
วรรคหนึ่ง ถ้าผลิตเพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 7-20 ปี และปรับตั้งแต่ 7 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาทตามมาตรา 115
วรรคสอง ผู้ใดขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท ตามมาตรา 116 ผู้ใดครอบครองจะมีโทษจำคุก 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 140
ผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นความผิดด้วย โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 141