กำไร & ความมั่นคงทางยา ภาระกิจ (อภ.) 'ไทยแลนด์เฟริส'
อภ. กับ ภาระกิจหน้าที่ทุกอย่างจึงทำเพื่อ "ไทยแลนด์เฟริส" ภาระหลัก คือ การสร้างความมั่นคงทางยาให้กับประเทศ ที่ชาวไทยไว้วางใจ (Trust )ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ใช้ภาษีของราษฏรในการดำเนินการ
KEY
POINTS
- อภ. รัฐวิสาหกิจ ที่มีภาระกิจเพื่อ "ไทยแลนด์เฟริส" ภาระหลัก คือ การสร้างความมั่นคงทางยาให้กับประเทศ มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 7 % จากมูลค่าอุตสาหกรรมยากว่า 2 แสนกว่าล้านบาท
- ปัจจุบัน ผลิตยาอยู่ 205 ไอเท็ม มีอยู่ประมาณ 30 ไอเท็มที่ยังขาดทุนอยู่ จากต้นทุนยาราคาแพง และไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ รวมทั้งต้องผลิตยาจำเป็น ยากำพร้า ยาที่ไม่มีคนผลิต ที่มีปริมาณการใช้น้อย
- อนาคตมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตวัตถุดิบในประเทศ โดยร่วมมือกับ ปตท.และ สวทช. เพื่อให้มีวัตถุดิบ และปรับขบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ทันสมัย
องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่เจ้าของจริงคือประชาชน หรือภาครัฐ ภาระกิจหน้าที่ทุกอย่างจึงทำเพื่อ "ไทยแลนด์เฟริส" ภาระหลักคือการสร้างความมั่นคงทางยาให้กับประเทศ และยังทำหน้าที่ เซ็ตราคาอ้างอิง เป็นคนส่งเทรนด์ราคาที่ทุกฝ่ายได้กำไรเป็น Win Win Situation มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 7 % จากมูลค่าอุตสาหกรรมยากว่า 2 แสนกว่าล้านบาท
อภ. เป็นเอเจนซี่ที่ทำงานในนามของประชาชนความรับผิดชอบก็คือทุกอย่างที่ทำก็เพิื่อประเทศไทย ประมาณไทยแลนด์เฟริส ซึ่งธรรมชาติของรัฐวิสาหกิจถ้าหวังว่าจะให้บริหารงานแบบเอกชนและมีกำไรเกิดขึ้น แต่เนื่องจากเป็น Basic need ของมนุษย์ เป็นยารักษาโรค เป็นปัจจัย 4 เพราะฉะนั้นการบริหารงานสามารถปรับเป็นการบริหารงานแบบเอกชนได้แต่ไม่ใช่องค์กรที่หวังผลกำไรมาก
มีสินทรัพย์ 27,000 ล้านบาทมีมาร์จิ้น 4-7 % เท่านั้น จากมูลค่าตลาดยาหลักมีประมาณ 2 แสนกว่าล้าน แต่มีกำไรทุกปีกำไรปีที่แล้ว 900 ล้านบาท ช่วงโควิด 1,200 ล้านบาท ปีนี้น่าจะประมาณ 1,200 ล้านบาทเท่าช่วงโควิดได้ ถ้าเป็นบริษัทเอกชนน่าจะมีกำไรมากกว่านี้ 2 เท่า ลูกค้าหลักเป็นภาครัฐ ซึ่งให้เครดิต 3 เดือน มีลูกหนี้ค้างจ่ายปี 61 ประมาณ 2 เคส ที่ยังตามอยู่โดยตั้งเป็น KPI ของเซลที่มีอยู่ 30 คนจา่กพนักงานทั้งหมด 3,000 คนในการตามหนี้ค้างจ่ายลูกค้าเป็น รพ.ชุมชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ร้านขายยาโต แย่งชิง 'เภสัชกร' เร่งเพิ่มกำลังคน แก้ปัญหาขาดแคลน
- 'ที.แมน' มุ่งพัฒนานวัตกรรม รับ 'ตลาดยา-เทรนด์สุขภาพ' โต
- ส่องอุตสาหกรรมยา...โอกาส สู่การเป็น Medical hub ของเอเชีย
เป็นรายแรกและรายเดียวที่ผลิตวัคซีนโควิด -19 สายพันธุ์ “อู่ฮั่น” แบบเซลเชื้อตายสำเร็จ สามารถขึ้นทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ซึ่งผลมาจากการที่ทำวัคซีนโควิด -19 สำเร็จเป็นเครดิตระดับประเทศ ระดับโลก จนบริษัทเอกชนในอเมริกามาจ้างผลิตวัคซีนโควิดแบบเชื้่อตายเพื่อเอา่ไปทำวิจัยคาดว่าอีก 2 เดือนจะส่งมอบงานได้
"จากนี้ไปตลอดไปองค์การเภสัชกรรมจะยังคงทำหน้าที่รักษาความมั่นคงทางยาของประเทศที่ชาวไทยไว้วางใจ (Trust )ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ใช้ภาษีของราษฏรในการดำเนินการ และภาคภูมิใจ (Pride)เพราะว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเพราะฉะนั้นความปลอดภัยและมาตรฐานจึงสำคัญมาก “พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์” ให้สัมภาษณ์พิเศษ “กรุงเทพธุรกิจ" หลังจากทำหน้าที่ผู้อำนวยการ มา 1 ปี 1 เดือน
ต้องผลิตยา 30 ไอเท็ม แม้ขาดทุน
"พญ.มิ่งขวัญ" กล่าวว่า ตอนนี้ อภ. ผลิตยาอยู่ 205 ไอเท็ม มีอยู่ประมาณ 30 ไอเท็มที่ยังขาดทุนอยู่ เพราะต้นทุนยาราคาแพง และไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ รวมทั้งต้องผลิตยาจำเป็น ยากำพร้า ยาที่ไม่มีคนผลิต ที่มีปริมาณการใช้น้อยไม่ได้ Economies of scale ไม่ได้ปริมาณ วอลลุ่ม แต่เป็นหน้าที่ต้องทำเพื่อความมั่นคงทางยาของประเทศ ขณะเดียวกันพยายามเพิ่มประสิทธิภาพในทุกองค์ประกอบ ในซับพลายเชน เพื่อที่จะให้เกิดการขาดทุนน้อยที่สุด
"ตั้งแต่เป็นผู้อำนวยการมา 1 ปีกับ 1 เดือน พยายามปรับปรุงประสิทธิภาพตอนที่เข้ามามี 83 ไอเท็ม ลงมาเป็น 69 ไอเท็มและลงมา 30 ไอเท็ม คิดว่าอาจจะมีสัก 2 ไอเท็ม ที่สามารถพลิกปรับประสิทธิภาพได้ที่เหลือ 28 ไอเท็มน่าอาจจะไม่ได้เลย แต่จำเป็นต้องทำมันเป็นเรื่อง Economies of scale หรือวอลลุ่มที่น้อย"
ด้วยหน้าที่ของการสร้างความมั่นคงทางยา.ให้กับประเทศ อภ.อาจจะต้องขาดทุน สำหรับยาบางอย่างอาจจะต้องการใช้แค่ 500 กรัม เพราะเป็นยากำพร้า เพราะเป็น Economies of scale หรือปริมาณการผลิตที่น้อย หรือยาเบาหวาน Metformin (เมทฟอร์มิน) ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีภาวะดื้ออินซูลิน ทั้งๆที่ทำไปก็ขาดทุนไปทุกเม็ด แต่ก็ต้องทำ เพราะเช็กตลาดทั้งประเทศไทย รวมทั้งนำเข้าจากต่างประเทศ ปรากฏว่าสามารถรองรับได้แค่ 8 เขตสุขภาพ ขาดอีก 4 เขตสุขภาพ
ขณะเดียวกัน ต้องพยายามลดการขาดทุนจากการด้อยประสิทธิภาพให้มากที่สุด ซึ่งการขาดทุนจากการขาดอำนาจในการต่อรองกับซับพลายเออร์ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของเราจึงแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มซับพลายเออร์ให้มีมากขึ้น แทนที่จะมีเจ้าเดียวหรือ 2 เจ้าเพื่อให้มีการต่อรองให้มากขึ้น การเพิ่มใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพราะการรับแหล่งซับพลายเออร์ต้องซื้อมามาทดลองก่อนว่ามีคุณภาพ เมื่อผสมกับอินเกรเดียนอื่นๆ ผลิตแล้วได้มาตรฐานสูงระดับโลก ผ่านการพิจารณาของอย.ค่อยไปเจรจาต่อรองจัดซื้อ
หน้าที่ อภ. เซ็ตราคาอ้างอิง
"พญ.มิ่งขวัญ" อธิบายว่าการบริหาร อภ.มีทำกำไรเท่าที่พอทำได้ เท่าที่ประชาชนไม่ได้เดือดร้อน เพราะจริงๆแล้ว อภ.ทำหน้าที่เป็นคนเซ็ตราคาอ้างอิง เป็นคนส่งเทรนด์ว่าราคาของยาไอเท็มนี้ควรจะเป็นเท่าไหร่ ให้ทุกฝ่ายได้กำไรกันพอสมควร เป็น Win Win Situation แต่ไม่ใช่ The Winner Takes It All ไม่ใช่ได้เพียงคนเดียวหรือ 2-3 เจ้า แต่ต้องได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
"สมมติว่ามียาตัวใหม่มาตัวนึง ถ้าอภ.ยังไม่ผลิตเขาอาจจะขาย 300 บาท ทั้งที่ต้นทุนอาจจะ 80 บาท ซึ่งธุรกิจเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เพราะว่าการผลิตยาตัวหนึ่งต้องวิจัยมาค่อยข้างเยอะ เพราะงั้น First-mover ยังไงต้องขายราคาแพง แต่เมื่อไหร่ที่อภ.ผลิตได้ ราคาก็จะดึงมาเหลือ 150 จาก 300 แต่ยังได้กำไรอยู่ที่ 80 ลบ 150 นี่คือหน้าที่ขององค์การเภสัชกรรม เพราะฉะนั้นถ้าเราผลิตได้ ก็จะไม่ใช่อยู่ที่ 300 เหมือนกับเขา เราก็จะดึงราคาลงมาเพื่อให้ประชาชนไม่เดือดร้อนแต่ทุกฝ่ายก็ยังได้กำไรในราคาที่เหมาะสม"
บทบาทในอนาคตข้างหน้าก็ยังเป็นเพื่อความมั่นคงทางยา เป็นแหล่งอ้างอิงทั้งเรื่องคุณภาพและราคา บอกเทรนด์ราคายาแต่ละไอเท็มไม่ให้สูงเกินไป ในอนาคตมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตวัตถุดิบในประเทศ โดยร่วมมือกับ ปตท.และสวทช. เพื่อให้มีวัตถุดิบขึ้นมาเองและต้องปรับขบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งเทคโนโลยีและการบริิหารจัดการที่ทันสมัยขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีบริษัทที่ผลิตวัตถุดิบทางยาไม่เกินหลักหน่วย และเป็นบริษัทที่ไม่ได้ใหญ่มาก ตอนที่เกิดการแพร่ระบาดโควิดไม่มีวัตถุดิบผลิตยา จึงต้องเตรียมแผนไว้รองรับเพื่อความมั่นคงทางยา
"เราไม่ได้หวังว่าเราจะเป็นผู้ผลิตไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่เอกชนทำได้และทำได้ดี เราจะปล่อยให้เอกชน แต่การมีองค์การเภสัชกรรมจะช่วยด้านความมั่นคงทางยาได้ ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งแต่ละปีจะเปลี่ยนสายพันธ์ุไปไปเรื่อยๆในโลกนี้การผลิตเยอะมาก มีการล้นตลาด แต่ประเทศไทยต้องวิจัยและผลิตขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งสัญญาณว่าไทยก็ผลิตได้เช่นกัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันเกิดขึ้นเราสามารถให้เป็นที่ดั้มของวัคซีนจากราคา 300 ต้นทุนจริง 200 ราคาขายทั่วไปมาอยู่ที่ 100 นิดๆ ราคาขายของการแข่งขัน"
รับจ้างผลิตวัคซีนโควิดไปทำวิจัย
การที่ อภ. เป็นรายแรกและรา่ยเดียวที่ผลิตวัคซีนโควิด 19 สายพันธุ์ อู่ฮั่น สำเร็จ จนสามารถขึ้นทะเบียนอย.เรียบร้อย โดยใช้งบประมาณของ อภ.กับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แม้ว่าสายพันธุ์จะมีการกลายพันธุ์ไปแล้ว แต่สมมติว่าเกิดขึ้นมาอีก แล้วไม่มีซับพลายมาที่เมืองไทยอีก เราสา่มารถทำได้ ตอนนี้มีบริษัทเอกชชนที่ลิงก์กับองค์กรของรัฐของอเมริกามาจ้างผลิตวัคซีนเทคโนโลยีของเราเป็น Egg Base เป็นแบบเซลเชื้อตายเพื่อไปทำวิจัยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนผลิตคาดว่าอีก 2 เดือนจะเสร็จส่งมอบงานได้
เตรียมพร้อมความมั่นคงปีละ 300 ล้าน
ทั้งนี้ การผลิตวัคซีนเป็นการลงทุนที่สูงมากที่ผ่านมา อภ.ใช้งบไปประมาณ 3,000 ล้านบาทเกี่ยวกับเรื่องวัคซีน เพราะ ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่ละปีต้องใช้วงเงินอยู่ที่เกือบ 200-300 ล้านในการพัฒนาศักยภาพคนและความสามารถของประเทศในการที่จะดำรงความมั่นคงอยู่ได้ การรับจ้างผลิตก็ทำให้มีรายได้่เข้ามา 100 กว่าล้านบาท
สำหรับโรงงานวัคซีนที่ตั้งขึ้นเมื่อครั้งไข้หวัดนกระบาด และขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนแรก แม้ว่าการขึ้นทะเบียนจะหมดอายุไปแล้ว และไข้หวัดนกก็มีหลายสายพันธุ์ แต่ก็ถือว่ามีความสามารถและความชำนาญผลิตได้ประมาณครั้งละ 2 ล้านโดส ซึ่งอย.ไปพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่ให้ได้่ขนาดกำลังการผลิตที่ใหญ่ขึ้น ด้วยการขยับเทคโนโลยีไปที่ Cell base เป็น Biotech การเพาะเลี้ยงเซลแทนที่ใช้ไข่เป็นฟอง ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้ เซ็น MOU ตั้งบริษัทร่วมจ้อยเวนเจอร์ร่วมกัน และแพลตฟอร์มใหม่ เป็น Circular mRNA ซึ่งได้เซ็น Letter of intention กับอาจารย์ทางรามา ที่ทำแพลตฟอร์มนี้สำเร็จแล้ว จนถึงขั้นทดลองในสัตว์เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้กำลังขยับมาสั่งการผลิตเพื่อที่จะมาทำการทดลองในคน
"เราต้่องเตรียมความมั่นคง ขณะเดียวกันต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน และพิจารณาศักยภาพเพื่อเตรียมรับมือภาวะฉุกเฉินให้ได้ถามว่าถ้ามีโควิดเกิดขึ้นเราผลิตวัคซีนได้ แต่วอลลุ่มอาจจะไม่ได้เต็มที่เพราะเป็นเทคโนโลยีเก่า แต่ถ้าสถานการณ์ฉุกเฉินก็พร้อมทำได้"
อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ก็อยากได้ความชัดเจนของทิศทางการพัฒนาจากผู้บริหารประเทศ
ความชัดเจนในเรื่องการลงทุน โดยเฉพาะนโยบายเทคโนโลยีไบโอเทค การผลิตยาชีววัตถุถ้าจะลงทุนเพื่อให้สา่มารถผลิตได้ คาดว่าจะใช้งบประมาณเป็นหมื่นล้าน แต่ถ้ามีสัญญาณว่าต้องมีจริงและต้องผลิตให้ได้ปริมาณไม่ใช่วิจัยโรงเรียนแพทย์ ก็ต้องมีสัญญาณว่าจะให้การสนับสนุนที่ถูกต้องชัดเจน