รู้หรือไม่!ควรบริโภค"แอสปาร์แตม" ปริมาณเท่าใด? ลดเสี่ยงมะเร็ง

รู้หรือไม่!ควรบริโภค"แอสปาร์แตม" ปริมาณเท่าใด? ลดเสี่ยงมะเร็ง

วันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) โดย The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA) และหน่วยงานองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (IARC)

KEY

POINTS

  • 'แอสปาร์แตม (Aspartame)' เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่นิยมนำมาให้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม และสามารถพบได้บ่อยที่สุดในท้องตลาด
  • แนะนำให้บริโภคแอสปาร์แตมต่อวันไม่เกิน 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาทิ  คนน้ำหนักตัว 60-70 กิโลกรัมดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมแอสปาร์แตม 9-14 กระป๋องต่อวันเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ
  • ไม่แนะนำให้ใช้สารทดแทนความหวานเป็นวิธีการควบคุมน้ำหนักหรือลดความเสี่ยงของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 

วันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) โดย The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA) และหน่วยงานองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (IARC) เตรียมประกาศจัดประเภทสารทดแทนความหวานแทนน้ำตาล “แอสปาร์แตม” (Aspartame) ให้เป็นสารที่อยู่ในกลุ่ม “เป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็ง” (possible carcinogen)

โดยสองหน่วยงานในสังกัดองค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงถึงรายงานล่าสุดว่าด้วยการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล “แอสปาร์แตม” (aspartame) โดยบอกว่าได้จัดประเภทให้สารดังกล่าวอยู่ในกลุ่ม “เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง” (possibly carcinogenic) ซึ่งหมายถึงมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันการก่อมะเร็งในมนุษย์และสัตว์ทดลองอยู่น้อยมาก จนไม่เพียงพอจะใช้สรุปได้อย่างแน่นอนว่าเป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

‘WHO’ เตือน ‘สารให้ความหวาน’ นอกจากไม่ช่วย ‘ลดน้ำหนัก’ เสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน

'น้ำตาลเทียม' 3 ชนิด สธ. ห้าม ! ใช้ในอาหารทุกชนิด 'ขัณฑสกร' ห้ามบางประเภท

ทำไม? “แอสปาร์แตม” สารให้ความหวานก่อมะเร็ง

หน่วยงานทั้งสองซึ่งได้แก่องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (IARC) และคณะกรรมการร่วมของผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุเจือปนในอาหาร (JECFA) ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากทั้งองค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แถลงถึงประเด็นข้างต้นพร้อมกันในวันนี้ (14 ก.ค.)

IARC กล่าวชี้แจงว่า การจัดให้แอสปาร์แตมเป็นสารในกลุ่ม 2B หรือสารที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ไม่ได้หมายความว่าแอสปาร์แตมเป็นสารอันตรายหรือทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพียงแต่การจัดประเภทดังกล่าวเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า พบหลักฐานยืนยันการก่อมะเร็งแค่ในจำนวนจำกัดไม่กี่กรณีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการก่อมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma แทบจะไม่พบหลักฐานเลยทั้งในคน สัตว์ และจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ

ดร.ฟรานเชสโก บรังกา ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยทางอาหารและโภชนาการขององค์การอนามัยโลก กล่าวชี้แจงว่า ผลประเมินสารแอสปาร์แตมของเรา ตั้งอยู่บนวัตถุประสงค์ที่จะชี้ให้ประชาชนเห็นว่า แม้จะไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณที่คนทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

รู้หรือไม่!ควรบริโภค\"แอสปาร์แตม\" ปริมาณเท่าใด? ลดเสี่ยงมะเร็ง

ควรบริโภคน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาลกี่ป๋องต่อวัน

แอสปาร์แตม (Aspartame) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่นิยมนำมาให้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม และสามารถพบได้บ่อยที่สุดในท้องตลาด ทำมาจากกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) และฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนตามธรรมชาติผสมกับเมทิลเอสเทอร์ (Methyl Ester) โดยกรดแอสปาร์ติกนั้นเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้

ส่วนฟีนิลอะลานีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น แอสปาร์แตมเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะย่อยสลายเป็นเมทานอล (Methanol) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากร่างกายได้รับเมทานอลในปริมาณมากเกินไปก็อาจเป็นพิษได้ เนื่องจากเมทานอลอาจเปลี่ยนเป็นสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ทุกวันนี้แอสปาร์แตมเป็นส่วนผสมหลักในอาหารและเครื่องดื่มที่วางจำหน่ายในท้องตลาดถึง 6,000 ชนิด การเตรียมประกาศให้แอสปาร์แตมอยู่ในกลุ่มสารที่เป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็ง จึงสร้างความปั่นป่วนโกลาหลอย่างมากให้กับแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยยังมองว่า แผนการของ IARC เป็นการสร้างความตื่นตระหนกโดยใช่เหตุ

รู้หรือไม่!ควรบริโภค\"แอสปาร์แตม\" ปริมาณเท่าใด? ลดเสี่ยงมะเร็ง

แม้ช่วงปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา WHO ได้แถลงว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่มีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักและการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แต่คำแนะนำล่าสุดขององค์การอนามัยโลกเองยังคงยืนยันว่า คนทั่วไปสามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้โดยปลอดภัย หากไม่ได้รับเข้าร่างกายในปริมาณมากผิดปกติ โดยคนที่มีน้ำหนักตัว 68 กิโลกรัม สามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้ในปริมาณเท่ากับที่ผสมในน้ำอัดลม 13 กระป๋องต่อวัน

"มีหลักฐานบ่งชี้ว่าก่อมะเร็งในมนุษย์ในระดับจำกัด แต่ไม่ได้ประเมินว่าจะเกิดความเสี่ยงนั้นต้องมีการบริโภคมากเพียงไร JECFA แนะนำให้บริโภคแอสปาร์แตมต่อวันให้อยู่ไม่เกิน 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่าง คนน้ำหนักตัว 60-70 กิโลกรัมจะต้องดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของแอสปาร์แตม 9-14 กระป๋องต่อวันจึงจะเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ"

เทียบสารทดแทนความหวานแต่ละชนิดกับน้ำตาล

สารทดแทนความหวาน” หรือ “น้ำตาลเทียม” (Artificial Sweeteners) เป็นสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเติมรสชาติหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลธรรมชาติ ซึ่งส่วนมากจะให้พลังงานหรือแคลอรี่ต่ำ หรือในบางครั้งก็อาจไม่มีแคลอรี่เลย ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลเทียม โดยมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้

  • แอสปาร์แตม (Aspartame) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 180-200 เท่า
  • อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า
  • นีโอแทม (Neotame) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า
  • แซคคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200-700 เท่า
  • สตีเวีย (Stevia) หรือสารสกัดจากหญ้าหวาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 280 – 300 เท่า
  • ซูคราโลส (Sucralose) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า

รู้หรือไม่!ควรบริโภค\"แอสปาร์แตม\" ปริมาณเท่าใด? ลดเสี่ยงมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม “แอสปาร์แตม” เป็นสารแทนความหวานที่มีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด จึงเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในอาหารและเครื่องดื่มประเภทแคลอรีต่ำหรือน้ำตาล 0%, ลูกอม, หมากฝรั่ง, ยาสีฟัน, ไอศกรีม, โยเกิร์ต, ซอส และขนมอีกหลากหลายชนิด

สรุปหลักฐานบ่งชี้ว่าแอสปาร์แตมก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ยังอยู่ในระดับจำกัด แต่อย่างไรก็ตาม WHO ไม่แนะนำให้ใช้สารทดแทนความหวานเป็นวิธีการควบคุมน้ำหนักหรือลดความเสี่ยงของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases) และ แนะนำว่าการใช้สารทดแทนความหวานไม่ได้ช่วยควบคุมน้ำหนักในระยะยาวและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจและหลอดเลือดและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

อ้างอิง: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , bbc ไทย ,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย