ภัยพฤติกรรม‘สูงวัย’ พลัดตกหกล้มปีละ 3 ล้านคน

ภัยพฤติกรรม‘สูงวัย’  พลัดตกหกล้มปีละ 3 ล้านคน

ปัญหาจากการ “พลัดตกหกล้ม” สร้างความเสียหายทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และประเทศ อย่างรุนแรง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปี 2565 ระบุว่า มีผู้ป่วยใน (IPD) จากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 9 หมื่นคน และมีผู้ที่พลัดตกหกล้มเป็นประจำ เฉลี่ยปีละ 3 ล้านคน

KEY

POINTS

  • จะพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นสามารถทำไปใช้ในชุมชนและพกพาไปในพื้นที่ชุมชนได้ง่ายและผลิตได้เองในประเทศในราคาที่ไม่แพงสามารถนำไปใช้ในวงกว้างเทียบเคียงกับอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศได้
  • ดูแลผู้สูงอายุ ต้องทำควบคู่ทั้งการดูแลด้านสวัสดิการ การเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการมีงานทำ  เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข และมีคุณค่าในตนเอง
  • การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นมาตรการที่สำคัญและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ซึ่งจะนำนวัตกรรมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มผู้สูงวัยมาจัดแสดงที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bacc) วันที่ 10-11 ก.ย.นี้

ปัญหาจากการ “พลัดตกหกล้ม” สร้างความเสียหายทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และประเทศ อย่างรุนแรง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปี 2565 ระบุว่า มีผู้ป่วยใน (IPD) จากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 9 หมื่นคน และมีผู้ที่พลัดตกหกล้มเป็นประจำ เฉลี่ยปีละ 3 ล้านคน

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค พบว่า มีคนไทยเสียชีวิตจากพลัดตกหกล้ม สูงถึงปีละ 1,600 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ (Unintentional) รองจากอุบัติเหตุทางถนน บางครัวเรือนขาดรายได้เพราะต้องดูแลผู้ป่วย มีค่าใช้ทางตรงและทางอ้อมในการดูแลเฉลี่ย 1.2 ล้านบาท ปัจจุบันรัฐจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยพลัดตกหกล้มปีละ 1,500 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน ‘พลัดตกหกล้ม’ รองรับสังคมสูงวัย 10-11 ก.ย.นี้

ดูแล 'สูงวัย'เมื่อพลัดตกหกล้ม เรื่องไม่เล็กที่ต้องเฝ้าระวัง

‘สูงวัย’กับเรื่องพลัดตกหกล้ม

แต่ละปีจะพบอุบัติเหตุผู้สูงอายุหกล้ม มีผู้เสียชีวิตจากการหกล้มเฉลี่ย วันละ 4 รายยังเป็นเหตุให้เกิดความพิการในผู้สูงอายุ มักเกิดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ร้อยละ 80 โดยจุดเสี่ยงที่คือ พื้นเปียก ลื่น เป็นการหักของกระดูกสะโพก ปัจจุบันมีงานวิจัยไปสู่การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมจำนวนมาก เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสังคมไทยรับมือกับสังคมสูงวัยและปัญหาพลัดตกหกล้ม

"รศ.ดร.ม.ล.พินิตพันธุ์ บริพัตร" รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)  เปิดเผยว่าปัญหาดังกล่าว เป็นหนึ่งในภัยสุขภาพที่แฝงอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในแต่ละวัน และเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง ที่สัมพันธ์กับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ขนาดของปัญหาจากการ “พลัดตกหกล้ม” จึงกว้างขวาง สร้างความเสียหายทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และประเทศ

ปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุของการพลัดตกหกล้มมีตั้งแต่การลื่น สะดุด ไปจนถึงภาวะมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ตลอดจนผลกระทบจากการรับประทานยารักษาโรค ฯลฯ ซึ่งนอกจากการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตแล้ว การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นมาตรการที่สำคัญและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ซึ่งจะนำนวัตกรรมสร้างภูมิคุ้มกันพลัดตกหกล้มผู้สูงวัยมาจัดแสดงที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bacc) วันที่ 10-11 ก.ย.นี้

ภัยพฤติกรรม‘สูงวัย’  พลัดตกหกล้มปีละ 3 ล้านคน

รัฐต้องสร้างรองรับ“ผู้สูงอายุ”

สำหรับแนวทางการดูแลผู้สูงอายุ ต้องทำควบคู่ทั้งการดูแลด้านสวัสดิการและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการมีงานทำ  เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและการมีคุณค่าในตนเอง โรงเรียนผู้สูงอายุแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นอีกโมเดลที่จะมาช่วยรองรับสังคมผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุที่มาเรียนก็ได้เรียนรู้เรื่องของการดูแลสุขภาพร่างกาย 

เรื่องของสังคม เศรษฐกิจ ปรัชญาชีวิต และจิตอาสา และสุนทรียศาสตร์ และการเรียนรู้ใหม่ๆ และเป็นพื้นที่ปลดปล่อยศักยภาพของสูงวัยไปในตัวไปพร้อมกับการทำความเข้าใจกับโลกภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรียนรู้เทรนด์ใหม่ๆ เช่น Tiktok Instagram ซึ่งผู้สูงอายุชอบถ่ายรูปต้องเท่าทันสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ศูนย์วิจัยเตรียมพร้อมผู้สูงอายุ

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้น“ศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงอายุABCD Centre”มาตั้งแต่ปี 2561 มีแนวทางในการทำงาน คือ Better Life Better Care Better Society สร้างชีวิตที่ดีกว่า การดูแลที่ดีกว่า เพื่อสังคมที่ดีกว่า เป็นศูนย์ที่ทำวิจัยเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อบรมภาคธุรกิจที่ต้องการดำเนินงานเกี่ยวกับธุรกิจที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมาเป็นอาสาสมัคร (senior volunteer) ใช้ประสบการณ์ พัฒนาทักษะให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการทำงานต่อเนื่องในสังคมยุคดิจิทัล

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ “เรดดี้ ซีเนียร์” เป็นช่องทางสื่อหลักในการสร้างคอมมูนิตี้  เป็นพื้นที่สำหรับการหางานให้แก่ผู้ที่เกษียณและเตรียมเกษียณโดยมีทั้งงานประจำและงานชั่วคราว เบื้องต้นพบว่าผู้สูงอายุที่มาร่วมโครงการซึ่งในขณะนี้มีกว่า 6,000 คน มีประสบการณ์ที่น่าสนใจจำนวนมาก จะเป็นโอกาสที่ดีกับกิจการต่างๆ ที่จะได้คนที่มีความชำนาญงานไปทำงานด้วย  

ด้าน “รศ.ดร.ไพลวรรณ สัทธานนท์” จากคณะสหเวชศาสตร์  ซึ่งทำวิจัยอุปกรณ์ตรวจวัดมุมการเปลี่ยนแปลงการทรงตัวและแจ้งเตือนก่อนสูญเสียการทรงตัว กล่าวว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดค่ามุมการทรงท่าของลำตัวและสามารถตั้งค่าการสัญญาณเตือนรูปแบบเสียงและ/หรือสั่น เมื่อมีค่ามุมการทรงท่าของลำตัวมากกว่าที่ตั้งค่าไว้ ใน 2 ระนาบ ได้แก่ ด้านหน้า-หลัง และด้านข้าง

โดยการใช้ตัววัดความเร่ง และคำนวณมุมการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งการทรงท่าของร่างกายด้วยหลักการ Piezo Electric Effect และใช้หลักการ Kalman filter เพื่อลดการอ่านค่ามุมที่คลาดเคลื่อน ในส่วนของสัญญาณเตือนในรูปแบบเสียงและสั่นจะทำงานผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานกล (Piezo buzzer) และมอเตอร์แบบสั่น

มีลักษณะเฉพาะคือ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถติดตั้งที่ระดับกระดูกสันหลังระดับเอวชิ้นที่ 4 ถึง ระดับกระดูกกระเบนเหน็บ มีพลังงานสำรองในตัวและสามารถทำการชาร์จพลังงานสำรองได้ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบสัญญาณไวไฟ (WIFI) ไปยังคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนได้

"อุปกรณ์ดังกล่าวผ่านการทำวิจัยทางคลินิคได้ผลดีอนาคต จะพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นสามารถทำไปใช้ในชุมชนและพกพาไปในพื้นที่ชุมชนได้ง่าย  และผลิตได้เองในประเทศในราคาที่ไม่แพงสามารถนำไปใช้ในวงกว้างเทียบเคียงกับอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศได้" 

ซึ่งทำวิจัยได้กล่าวได้ ร่วมกับผศ.สุดารัตน์ อภิบาลทวีสกุล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการพัฒนากีฬาได้รับรางวัล เหรียญทองแดง จากการนำเสนอผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าร่วมประกวดเรื่อง “Postural Sway Meter : A New Developed Accelerometry Based Device” ในงาน“The 48# International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนิวา สมาพันธรัฐสวิสในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 10 - 14 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมาด้วย 

สมัครงานออนไลน์ได้ที่“ไทยมีงานทำ”

จำนวนผู้สูงอายุที่ไม่มีอาชีพ ปี2566 จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากระบบฐานข้อมูล TPMAP ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2566 มีมากถึง 1,107,567 คน ผู้สูงอายุที่ไม่มีอาชีพมากสุดที่ จ.นครราชสีมา จำนวน 54,174 คน รองลงมาคือที่ จ.เชียงใหม่ 43,835 คน 

ปีงบประมาณ2566 กรมการจัดหางาน เชิญชวนนายจ้างสถานประกอบการจ้างงานผู้สูงอายุ ด้วยให้สมัครงาน บนแพลตฟอร์ม“ไทยมีงานทำ” Web application เว็บไซต์ไทยมีงานทำ.doe.go.thMobile application “ไทยมีงานทำ” ได้ที่ Google Play และ App Store หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job center)สายด่วน โทร. 1506 กด 2 สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694 สามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ด้วยการจับคู่ตำแหน่งงานตามความรู้ ความสามารถ และทักษะที่มีอยู่