"ไทย-ญี่ปุ่น" แชมป์มาราธอน ซูเปอร์สปอร์ต ลากูน่า ภูเก็ต ครั้งที่ 16
"มาราธอน ซูเปอร์สปอร์ต ลากูน่า ภูเก็ต" เป็นงานกีฬาระดับนานาชาติงานแรกที่จัดขึ้นหลังโควิด แสดงถึงความพร้อมของจังหวัดที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
การแข่งขัน มาราธอน ซูเปอร์สปอร์ต ลากูน่า ภูเก็ต (Supersports Laguna Phuket Marathon) จัดขึ้นอีกครั้งเป็นปีที่ 16 ระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2565 ณ ลากูน่า ภูเก็ต
ในปีนี้มีนักวิ่งกว่า 7,000 คน จาก 63 ประเทศทั่วโลก เป็นการกลับมาของจ.ภูเก็ต ในฐานะศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกครั้ง
มาราธอน ซูเปอร์สปอร์ต ลากูน่า ภูเก็ต เป็นจุดหมายปลายทางของนักวิ่งมาราธอนชั้นนำของเอเชีย
ด้วยมาตรฐานการจัดงานระดับสากล มีระบบรายงานผลแข่งขันโดย สปอร์ตสแตทส์ เอเชีย (Sportstats Asia)
และรับรองเส้นทางแข่งขันโดย สมาคมวิ่งมาราธอนนานาชาติและการแข่งขันทางเรียบ (The Association of International Marathons and Distance Races) หรือ (AIMS)
จึงเป็นหนึ่งในสนามที่ได้รับคัดเลือกเพื่อรับรองผลเข้าร่วมการแข่งขันมาราธอนชั้นนำระดับโลกอย่าง ‘บอสตัน มาราธอน’
พิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สถานการณ์โควิด ทำให้ต้องหยุดจัดงานไปนานกว่า 1 ปี
“นักวิ่งส่วนใหญ่อยากกลับมาวิ่ง ทั้งรักษาสถิติเดิมและทำลายสถิติเก่า เราได้รับความสนใจจากนักวิ่งต่างชาติเป็นจำนวนมาก
นอกจากจะได้แข่งขันแล้วยังได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามของภูเก็ต และจับจ่ายใช้สอยภายในจังหวัด เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
ในปีนี้มีนักวิ่งกว่า 7,000 คน เป็นการเปิดต้อนรับกิจกรรมกีฬาที่จะมีเข้ามาภูเก็ตอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้”
- การแข่งขัน มี 6 ประเภท
ตั้งแต่วิ่ง 2 ก.ม.ไปจนถึงมาราธอน เส้นทางการวิ่ง ผ่านหมู่บ้านท้องถิ่น, ไร่สับปะรด, ชายหาดอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
แข่งขันในวันที่ 11-12 มิถุนายน 2556 วันแรก วิ่งยุวชน (2 กม.), 5 กม., 10.5 กม. วันที่สอง ฮาล์ฟมาราธอน (21.097 กม.), มาราธอน (42.195 กม.), มาราธอนประเภททีม จุดปล่อยตัว/เส้นชัยอยู่ที่ ลานกิจกรรม ลากูน่า โกรฟ ลากูน่า ภูเก็ต
- ผลการแข่งขัน
มาราธอน 42.195 กม. ชาย
1) อภิชัย ภูจิตร (ไทย) 02:50:20 ชม.
2) ส.ต.อ.ธีรยุทธ เกตุระหงษ์ (ไทย) 02:56:00 ชม.
3) สันติ ฟุ้งเฟื่อง (ไทย) 02:59:30 ชม.
มาราธอน 42.195 กม. หญิง
1) ซาโตว่า โอตะ (ญี่ปุ่น) 03:23:47 ชม.
2) นันทพร เต็งอำนวย (ไทย) 03:30:23 ชม.
3) ศศิวิมล ข้องจิตร์ (ไทย) 03:31:03 ชม.
มาราธอน 42.195 กม. ประเภททีม
1) ทีม Jetts (ไทย) 02:41:18 ชม.
2) ทีม สุรกุล (ไทย) 03:18:47 ชม.
3) ทีม บลูทรี รันนิ่ง คลับ 2 (ไทย) 04:18:25 ชม.
ฮาล์ฟมาราธอน 21.097 กม. ชาย
1) เซอร์จิ ซีเรียนอฟ (รัสเซีย) 01:13:21 ชม.
2) โมฮัมหมัด ราชีท (สาธารณรัฐมัลดีฟส์) 01:19:01 ชม.
3) หมุด ชัยสน (ไทย) 01:21:24 ชม.
ฮาล์ฟมาราธอน 21.097 กม. หญิง
1) มนัสนันท์ คำพิทักษ์ (ไทย) 01:34:22 ชม.
2) ศุภิสรา นันตา (ไทย) 01:36:39 ชม.
3) นพชยา หาญดิฐกุล (ไทย) 01:37:32 ชม.
ประเภท 10.5 กม. ชาย
1) โรนัล เซเทียวาน (อินโดนีเซีย) 36:58 นาที
2) ณัฏพงษ์ บัวฉาย (ไทย) 37:14 นาที
3) ธนดล วิศรุตศิลป์ (ไทย) 38:00 นาที
ประเภท 10.5 กม. หญิง
1) ดิมิทรี ลี ดุค (ออสเตรเลีย) 39:23 นาที
2) วรพรรณ นวลศรี (ไทย) 41:22 นาที
3) สุวารี ธนาเอกนิธิวัฒน์ (ไทย) 44:32 นาที
ประเภท 5 กม. ชาย
1) เซอร์จิ ซีเรียนอฟ (รัสเซีย) 15:58 นาที
2) โมฮัมหมัด ราชีท (สาธารณรัฐมัลดีฟส์) 16:32 นาที
3) คิยุน แคดออรา (ฝรั่งเศส) 18:11 นาที
ประเภท 5 กม. หญิง
1) ซีอาน่า มิลเกต (ออสเตรเลีย) 19:57 นาที
2) อักษราภัค เซ่งรักษา (ไทย) 20:41 นาที
3) ครีอาร่า เจซซิก้า เอกเกอร์ (ออสเตรเลีย) 21:27 นาที
ประเภท 2 กม. เด็กชาย
1) กิตติคุณ ลันขุนทด (ไทย) 06:56 นาที
2) กรวินทร์ ชัยจำรูญพันธ์ (ไทย) 07:50 นาที
3) นที กอตัน (ไทย) 08:07 นาที
ประเภท 2 กม. เด็กหญิง
1) กวินทิพย์ วงศ์ธวัช (ไทย) 08:36 นาที
2) อนาสตาเซีย ไมโอโรวา (รัสเซีย) 10:14 นาที
3) โคล อิสระ ไวเกิล (ไทย) 10.18 นาที
ในการจัดงานครั้งนี้ ผู้จัดได้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยลดการใช้พลาสติกลง งดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งบนสนามวิ่งและในของที่ระลึก เพิ่มสถานีคัดแยกขยะ นำกลับมารีไซเคิล