90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

เนื่องในวันแม่แห่งชาติ "12 สิงหาคม 65" หวนรำลึกเรื่องราวชีวิตคู่และความรักของ"สมเด็จพระพันปีหลวง" ที่ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9 ปฏิบัติพระราชกรณียกิจไม่ห่างพระวรกาย

เรื่องราวของ“สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) นอกจากพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญในช่วงเป็นสมเด็จพระราชินี  ยังมีเรื่องราวความรักของทั้งสองพระองค์ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้สังคมไทย

และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา12 สิงหาคม 2565” หรือ “วันแม่แห่งชาติ” ของพระพันปีหลวง จึงมีเรื่องราวนำเสนอ...

 

“รักแรกเกลียด” ราชินีในรัชกาลที่ 9

“ตอนนั้น ข้าพเจ้าคิดถึงแต่เรื่องที่จะอยู่กับคนที่ข้าพเจ้ารักเท่านั้น ไม่ได้นึกไปไกลถึงหน้าที่ และภารกิจของพระราชินีเลย ฯลฯ”

ในปี 2521 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานสัมภาษณ์ ในภาพยนตร์สารคดี เรื่อง “ขวัญของชาติ” ออกเผยแพร่ ทางสถานีโทรทัศน์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เรื่องรักแรกพบ มีความตอนหนึ่งว่า

90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

“สำหรับข้าพเจ้าเป็นการเกลียดแรกพบมากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4โมง แต่จริงแล้ว เสด็จมาถึง1ทุ่ม ช้ากว่านัดหมายตั้ง 3 ชั่วโมง ทรงทำให้ข้าพเจ้าต้องซ้อมถอนสายบัว อยู่จนแล้วจนเล่า จึงเป็นการเกลียด เมื่อแรกพบมากกว่ารักเมื่อแรกพบ

ข้าพเจ้าไม่ทราบมาก่อนว่า พระองค์ท่านทรงรักข้าพเจ้า เพราะเวลานั้นอายุเพิ่งย่าง 15 ปี ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นนักเปียโน เป็นนักเปียโนที่แสดงในงานคอนเสิร์ต ตอนพระองค์ท่านประทับที่โรงพยาบาล หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ (4 ต.ค.2491 ) มีพระอาการหนักมาก ตำรวจเขาโทรศัพท์ ไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระราชชนนี"

ในระหว่างที่ในหลวงภูมิพลท่านทรงประชวร ทางคณะผู้แทนรัฐบาลก็ได้ไปเข้าเฝ้าฯเพื่อเยี่ยมพระอาการ เมื่อพระองค์ท่านทรงทราบว่าในคณะที่มา มีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ท่านก็ได้ทรงมีกระแสรับสั่งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เข้าเฝ้าฯเป็นการพิเศษ และโดยเฉพาะพระองค์ท่านรีบเสด็จไปทันที แต่แทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีพระราชปฏิสันถารกับพระองค์

"ท่านกลับทรงหยิบรูปข้าพเจ้า ออกมาจากกระเป๋า โดยที่ข้าพเจ้าไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า พระองค์ทรงมีรูปของข้าพเจ้าอยู่แล้ว พระองค์ก็ตรัสให้นำตัวข้าพเจ้าเข้าเฝ้า พระองค์ก็ได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า “พระองค์ได้ทรงรักหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร อย่างแน่นอน” 

เหตุผลเพราะว่า “เมื่อทรงฟื้นคืนพระสติครั้งแรกนั้น ก็ทรงระลึกถึงบุคคลเพียงสองคนคือ สมเด็จพระราชชนนี และ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์” ซึ่งแสดงถึงความจริงที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัย”

พิธีราชาภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 

และต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เมื่อ พ.ศ. 2499 ในหลวง รัชกาลที่ 9 มีพระราชประสงค์จะผนวชเป็นพระภิกษุระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ดังนั้นพระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช

และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"

นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ในประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

ทรงเคียงข้างเยือนอเมริกา

ปีพ.ศ. 2503 ช่วงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเยือนอเมริกาและประเทศต่างๆ ในยุโรปอย่างเป็นทางการ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เป็นช่วงหัวเหลี่ยวหัวต่อของประเทศไทย เพื่อยืนยันสถานะ ทำให้ชาวโลกรู้ว่า ประเทศไทยเดินตามแนวทางประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนอเมริกาและยุโรปครั้งนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถตามเสด็จฯ ด้วย และมีพระราชประสงค์ทรงฉลองพระองค์แบบสากล  ตัดเย็บด้วยผ้าไหมไทย โดยให้นายปิแอร์ บัลแมง นักออกแบบชาวฝรั่งเศสที่มีประสบการณ์ในการออกแบบฉลองพระองค์ถวายให้กับพระราชวงศ์ยุโรป เป็นผู้ดูแลการตัดเย็บฉลองพระองค์ทั้งหมดถือเป็นพระราชกุศโลบายในการส่งเสริมผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ฉลองพระองค์ในครั้งนั้น ออกแบบโดยการผสมผสานความงามแบบตะวันออกกับแฟชั่นตะวันตก เคยเปิดให้ประชาชนชมในพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หอรัษฎากรณ์พิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน นานกว่า 10 ปี

มีทั้งฉลองพระองค์ทรงงาน ฉลองพระองค์ชุดราตรีสั้น ฉลองพระองค์ชุดราตรียาว ตลอดจนพระมาลา ฉลองพระบาท และกระเป๋าเดินทางที่สั่งทำพิเศษ

พร้อมทั้งภาพร่างแบบฉลองพระองค์จากห้องเสื้อบัลแมง และผ้าตัวอย่างการปักประดับจากสถาบันปักเลอซาจ 

มีการบันทึกไว้ว่า ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดเตรียมฉลองพระองค์ทั้งหมด และครั้งนั้นนายบัลแมง เลือกให้สถาบันปักเลอซาจรับผิดชอบด้านการปักฉลองพระองค์ และรับผิดชอบในการดูแลเครื่องแต่งพระองค์อื่นๆ ด้วย มีการสั่งทำกระเป๋าเดินทางจากหลุยส์ วิตตอง สำหรับเชิญฉลองพระองค์ รวมถึงเลือกให้เรอเน มันชินี ดูแลฉลองพระบาท ในการเสด็จฯพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งนั้น

90 พรรษา”พระพันปีหลวง”แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9 .................. 

อ้างอิง : เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก และพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ภาพส่วนหนึ่ง : จาก gettyimages.com