เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

เผยโฉม "นกยูงไทย" สัตว์หายาก สัตว์ป่าคุ้มครอง ความงามสวยสุดในโลก "นกยูงรำแพน" เสน่ห์ที่น่าค้นหา ความเชื่อสังคมโลก สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ความมงคล ความสูงส่งของแต่ละประเทศ

หากพูดถึงความงามของนกขนาดใหญ่ 1 ในนั้นหลายคน คงต้องนึกถึงนกยูงเป็นแน่ ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นเห็นแต่ไกล "นกยูงรำแพน" เสน่ห์ที่น่าค้นหาจริงๆ เลยพามาเผยโฉม "นกยูงไทย" สัตว์หายาก สัตว์ป่าคุ้มครอง ความงามสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ความมงคล ความสูงส่งของแต่ละประเทศ

วันนี้ 29 พฤษภาคม 2567 ถือเป็นเรื่องน่ายินดี เมื่อ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เปิดเผยภาพ ลูกนกยูงพันธุ์ไทย (Green Peafowl) ระบุว่า สาวน้อยที่ได้รับการดูแลจนเติบใหญ่ เป็นนกยูงสาวโตเต็มวัยจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว และได้กลับคืนสู่ธรรมชาติในป่าภูเขียวแห่งนี้เมื่อปีก่อน

 

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

จากนกยูงสาวน้อยในวันนั้น ได้กลายเป็นนกยูงคุณแม่ลูกอ่อนผู้เข้มแข็งในวันนี้

เมื่อร่างกายเติบโตสมบูรณ์ ป่าสมบูรณ์ ธรรมชาติสมบูรณ์ พื้นที่มีความปลอดภัย เจ้านกยูงสาวก็พร้อมที่จะขยายพันธุ์สร้างทายาทให้มาลืมตาและใช้ชีวิต เพื่อวัฏจักรของธรรมชาติบนโลกใบนี้

ในตอนนี้ลูกนกยูงตัวน้อย ได้ออกมาเผยโฉมให้พวกเราเจ้าหน้าที่ได้พบเห็น สร้างความปลื้มปิติยินดี และภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ คุ้มครองและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เหล่าสัตว์ป่า สามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์สืบต่อไปได้

 

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

ทำความรู้จัก "นกยูงไทย" สัตว์หายาก ความงาม-ความเชื่อสังคมโลก

  • นกยูงไทย (Green Peafowl)
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus
  • วงศ์ : Phasianidae
  • อันดับ : Galliforme

"นกยูงไทย" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหนึ่งของประเทศไทยและเป็นนกที่มีความสวยงามชนิดหนึ่งของโลก เป็นนกที่มีคุณค่าและหายาก ซึ่งทั่วโลกมีจำนวนนกยูง 39 ชนิด สำหรับในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นกยูงถูกแบ่งออกย่อยตามลักษณะสีขนและถิ่นอาศัย คือ นกยูงชวา , นกยูงอินโดจีน และนกยูงพม่า 

นกยูงในประเทศไทยพบอยู่ 2 ชนิดย่อยคือ นกยูงชวา หรือ นกยูงใต้ หรือ Pavo muticusmuticus Linnaeus และนกยูงอินโดจีน หรือ นกยูงเหนือ หรือ Pavo muticus imperator Delacour 

 

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

ลักษณะทั่วไปของ "นกยูงไทย"

  • นกยูงไทยจัดเป็นนกขนาดใหญ่ ตัวผู้มีสีเขียวสด บริเวณปีกสีน้ำเงิน ปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม หัวมีหงอนขนงอกชี้ขึ้นเป็นกระจุกสีเขียวมันวาว 
  • บนศีรษะตั้งแต่ด้านหลังจนถึงหน้าผากจรดโคนจงอยปากมีขนละเอียดขดเป็นปุ่มเล็กๆอัดกันแน่นสีน้ำเงินเข้มเป็นมัน 
  • ใบหน้าทั้งสองข้างเป็นแผ่นหนังมีสีฟ้าและสีเหลืองล้อมลูกตาและหูตามลำดับ 
  • ขนคลุมหางด้านบนยาวมากที่ปลายมีแผ่นขนแบนๆเป็นวงกลม หรือที่เรียกว่าแววมยุรา ประโยชน์ใช้สำหรับรำแพนเกี้ยวตัวเมียและจะหลุดร่วงหลังฤดูผสมพันธุ์แล้วงอกขึ้นมาใหม่ 
  • ตัวเมียตัวเต็มวัย มีลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่สีเป็นมันวาวน้อยกว่า แผ่นขนคล้ายเกล็ดที่ปกคลุมบริเวณคอ อกและหลังมีขนาดเล็กกว่า ขาสั้นกว่า ขนคลุมหางสั้นกว่ามากยาวไม่เกินขนหางและไม่มีแววมยุรา 

 

 

นกยูงไทยเป็นนกที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ พวกเมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ยืนต้น ธัญพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น ยอดอ่อนของหญ้า แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก หากินตามพื้นดินเช่นเดียวกันกับไก่ฟ้าและไก่ป่า 

สถานภาพทางกฏหมาย

  • เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 

นกยูงทั่วไปความงาม ความเชื่อ "นกยูง" สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ความมงคล ความสูงส่ง

นกยูง สัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ จัดอยู่ในสกุล Pavo มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวผู้จะมีหางยาวสีสันงดงามสามารถแผ่ขยายออกเป็นวง หรือที่เรามักเรียกว่า การรำแพนหาง เพื่อใช้เกี้ยวพาราสีตัวเมีย พบได้ทั้งในประเทศอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน และดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์ 

นกยูงจึงเป็นสัตว์ที่ผู้คนในแถบเอเชียคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยความสวยงามและลักษณะการรำแพนหางของนกยูงตัวผู้ ทำให้นกยูงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของหลายๆ วัฒนธรรมมาอย่างช้านาน

การสร้างงานศิลปกรรมที่มีนกยูงเป็นองค์ประกอบในประเทศไทยเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ดังมีการค้นพบลายปูนปั้นรูปนกยูงที่เจดีย์ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 

 

เผยโฉม นกยูงไทย สัตว์หายาก ความงามสวยสวยสุดในโลก ความเชื่อสังคมโลก

ก่อนที่นกยูงจะปรากฏสืบเนื่องมาถึงสมัยหลัง เช่น ในสมัยสุโขทัย มีการเขียนลายรูปนกยูงลงบนเครื่องสังคโลก ซึ่งนอกจากจะเป็นการตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสื่อถึงความหมายในเชิงบวกด้วย 

เนื่องจากนกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์มงคลในความเชื่อต่างๆ ทั่วโลก 

ในมหาโมรชาดก ของพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องราวเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นนกยูง หรือในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นกยูงเป็นบริวารของเทพเจ้าหลายองค์ และเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความสูงส่ง และความรัก คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมจีนที่นับถือนกยูงว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กวนอิม ทั้งยังหมายความถึงพระอาทิตย์ ความรัก และความเมตตา จึงมีการปักรูปนกยูงลงบนเสื้อผ้าของชนชั้นสูงเพื่อความเป็นสิริมงคล 

รวมถึงนำหางนกยูงมาประดับหมวกเพื่อแบ่งลำดับขั้นของขุนนาง ในขณะที่ชาวเปอร์เซียเปรียบนกยูงเป็นตัวแทนของกษัตริย์และพลังอำนาจ 

อ้างอิง-ภาพ : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร , นกยูงไทย (Green Peafowl) – กรมอุทยานแห่งชาติ , พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก สุโขทัย