ออกดอกแปลกตา 'แข้งไก่ปากหยัก' กล้วยไม้ป่าหาดูยาก ความงามคู่ป่าเมืองไทย
ออกดอกแปลกตา "แข้งไก่ปากหยัก" กล้วยไม้ป่า หาดูยาก ความงามคู่ป่าเมืองไทย สำรวจพบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จ.นราธิวาส เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญแบบแตกกอ พบตามป่าดิบเขตร้อน และป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 220-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน
ชวนชมกล้วยไม้ป่า "แข้งไก่ปากหยัก" ออกดอกแปลกตา หาดูยาก ความงามคู่ป่าเมืองไทย สำรวจพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จ.นราธิวาส เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญแบบแตกกอ พบตามป่าดิบเขตร้อน และป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 220-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกให้ชมเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน ของทุกปี
โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนะนำให้รู้จักกับกล้วยไม้ป่า "แข้งไก่ปากหยัก" Dendrobium plicatile Lindl.
โดยกล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จ.นราธิวาส ความสูงจากระดับน้ำทะเล 220 - 1,300 เมตร
จุดเด่นกล้วยไม้ป่า "แข้งไก่ปากหยัก"
เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญแบบแตกกอ มีเหง้าทอดเลื้อย ลำลูกกล้วยรูปกระสวย ใบ จำนวน 1 ใบ ออกปลายลำลูกกล้วย แผ่นใบ รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
ช่อดอก ออกที่ปลายลำลูกกล้วยจำนวน 2-3 ดอก ซึ่งดอก บานเต็มที่กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร สีขาวครีม มีแต้มจุดสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยงและกลีบดอก โค้งงอไปทางด้านหลัง กลีบ เลี้ยง รูปไข่ถึงรูปใบหอก กลีบดอก รูปใบหอก กลีบปาก สีขาวครีม มีแต้มจุดสีน้ำตาลแดง รูปคล้ายพัด ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น มีสัน 2-3 สัน
แข้งไก่ปากหยัก พบที่ไหนได้บ้าง?
พบตามป่าดิบเขตร้อน และป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 220-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ช่วงเวลาในการออกดอก กุมภาพันธ์ - มิถุนายน
อ้างอิง-ภาพ : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี