ตอบชัด! ทุกข้อสงสัย 'คืนเงินประกันไฟฟ้า'

ตอบชัด! ทุกข้อสงสัย 'คืนเงินประกันไฟฟ้า'

สรุปปัญหาเรื่อง "คืนเงินประกันไฟฟ้า" กระทบต่อความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผู้ใช้ไฟฟ้า กรณีมิเตอร์เสียหายหรือไม่?

วันแรกของการลงทะเบียนรับการคืนเงินประกันไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านที่อยู่อาศัย และประเภท 2 กิจการขนาดเล็ก จากฝ่ายผลิต ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กปน.) ได้รับความสนใจจำนวนมาก โดยในช่วงเช้าเว็บไซต์ของทั้งสองแห่งมีประชาชนเข้าไปลงทะเบียนจำนวนมาก ทำให้ประชาชนหลายรายไม่สามารถเข้าไปได้ หรือไม่สามารถดำเนินการลงทะเบียนผ่านระบบได้ 

จึงทำให้ กฟน.ออกมาชี้แจงทางเพจข่าวการไฟฟ้านครหลวง MEA ว่า ไม่มีหมดเขต ไม่ต้องรีบร้อน ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของ MEA ทางออนไลน์ ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ โทรศัพท์มือถือ ...สะดวก สบาย ตลอด 24 ชั่วโมง ย้ำกันอีกครั้ง ไม่มีวันปิดรับการลงทะเบียน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ด้วยความปรารถนาดีจาก MEA 

158510429027


แต่ขณะเดียวกันในทวิตเตอร์ มีกระแสผู้คนเข้าไปสอบถามที่ทวิตเตอร์ทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในทำนองคล้ายๆ กัน โดยส่วนใหญ่
อยากให้การไฟฟ้าช่วยตอบคำถามหรือประกาศให้เข้าใจชัดเจนกับประชาชน ตอนนี้สับสนเรื่องประกันตัวนี้ว่าตกลงคืออะไรกันแน่ ประกันการใช้ไฟฟ้าหรือประกันมิเตอร์

อาทิ 

ใครตอบได้บ้าง ว่าการคืนเงินประกันไฟฟ้าตามนโยบายรัฐ ขอเงินคืนแล้ว สิทธิในการประกันยังอยู่ไหม

ประกันไฟฟ้ากับประกันมิเตอร์คืออะไร

ทำไมไม่บอกข้อเสียใดๆ หากทำการลงทะเบียนขอคืนเงินแล้ว

หากการขอคืนเงินประกัน แสดงว่าหลังจากนี้หากเกิดอะไร การไฟฟ้าจะไม่รับผิดชอบใดๆ หรือ

กรณีขอคืนเงินปกัน กับสิทธิประกันมิเตอร์เสียหาย คืออะไร?

ถ้าต่อไปมิเตอร์เสียหาย ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายเองไหม?

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้อธิบายในทวิตเตอร์ว่า เงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้วางเป็นหลักประกันไว้นั้น กฟภ.ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า กรณีมีหนี้ค้างชำระ ค่าเบี้ยปรับ หรือหนี้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้า ซึ่งไม่เกี่ยวกับค่ามิเตอร์ชำรุด หรือความเสียหายที่เกิดจากการใช้งาน เช่น กรณีมียอดค้างค่าไฟฟ้า กฟภ.จะเข้าดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้า หากทางผู้ใช้มาติดต่อชำระค่าไฟฟ้าพร้อมต่อกลับ กฟภ.จะเข้าดำเนินการต่อกลับกระแสไฟฟ้าให้ แต่หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่มาติดต่อชำระค่าไฟฟ้า กฟภ.ก็จะดำเนินการพักหนี้จากเงินประกันการใช้ไฟฟ้าต่อไป 

โดยเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่คืนไปนั้น ไม่ใช่เงินประกันมิเตอร์ ทั้งนี้แม้ผู้ใช้ไฟฟ้าจะขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไป แต่ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงไม่เสียสิทธิ์ใด ยังสามารถใช้ไฟฟ้าและมิเตอร์ได้ตามปกติ 

ขณะที่กรณีมิเตอร์ไฟฟ้านั้น กฟภ.อธิบายไว้ว่า กรณีมิเตอร์ไฟฟ้ามีความชำรุดหรือเสียหาย หากเกิดจากผู้ใช้ไฟฟ้าเอง ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบริการ ตามระเบียบของ กฟภ. เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เป็นการกระทำของผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น เกิดจากภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่า น้ำท่วม ในกรณีนี้ กฟภ.จะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งไม่ได้นำเงินประกันการใช้ไฟฟ้ามาหักในส่วนนี้ ซึ่ง

เงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า เป็นคนละส่วนกับมิเตอร์ไฟฟ้า


158513018679

-

158513042971

-

158513034567

-

158513038566

-

158513044948



158513053342