เบาหวานผ่านเลนส์ 'กันตพงศ์ ทองรงค์'
จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านคน อีกทั้งการตระหนักรู้ของคนทั่วไป มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งโรคดังกล่าว เกิดจากร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดและไม่มีทางป้องกัน
การถ่ายภาพทำให้เกิดเรื่องราวดีๆ ยังไงบ้าง
แต่ก่อนผมอินกับงานศิลปะหลายแขนง ชอบใช้สีชอล์ค สีเทียน สีไม้ ไปประกวด หัดวาดการ์ตูนญี่ปุ่น หัดใช้โปรแกรมโฟโต้ชอป ลองมาหลายอย่างแล้ว เราก็ทำได้หมด หลายๆ อย่างที่ทำแล้วหายไป เพราะโฟกัสเรื่องการเรียนหมอแล้วเมื่อลองถามใจตัวเองดูแล้วว่าเราชอบมันมั้ย ก็ไม่นะ สุดท้ายมาลงเอยที่ภาพถ่าย เพราะสะดวกที่สุด แล้วเราไม่ต้องใช้เวลากับสิ่งนั้นมาก กดชัตเตอร์ แล้วก็ได้ผลงานศิลปะออกมาแล้ว 1 ชิ้นพัฒนาฝีมือมาเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป ตั้งแต่เรียนปีหนึ่งจนจบปีที่หก เรามีคลังภาพเยอะ เริ่มจากถ่ายภาพมุมต่างๆ ในโรงพยาบาลเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่แสงกำลังตกกระทบบนพื้นผิว ส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดำมากกว่าภาพสี ในมุมมองของผม รู้สึกว่า ภาพขาวดำ มันตัดความวุ่นวายของสีออกไป เหลือแสงเงา รายละเอียดของออฟเจค มันง่ายที่จะสร้างผลงานได้ดีกว่า ด้วยความที่เราไม่ได้มีอุปกรณ์อะไร นอกจากโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว
นอกจากภาพถ่ายชีวิตประจำวัน ก็มีภาพอื่นๆ ขยายวงกว้างออกไป พอเราถ่ายโรงพยาบาลเยอะๆ เพื่อนเรา รุ่นพี่เราเข้ามาชมว่า มันเจ๋งนะ มุมพวกนี้เขาเดินผ่านกันทุกวัน แต่ไม่เคยเห็นเลย ก็มาเฉลยว่า มุมที่เขาถามถึง มันคือมุมนั้นมุมนี้ไง ในขณะเดียวกันผมเริ่มสังเกตตัวเองแล้วว่า น่าจะมีมุมมองอะไรที่เขาอื่นๆ ไม่สนใจ แต่ผมเห็นบ่อยๆ ก็เลยอยากทำแบบนั้นมากขึ้น โดยการออกไปข้างนอก ถ่ายรูปเริ่มจากที่ใกล้ๆ ในกรุงเทพฯหรือแถวบ้าน พัฒนาไปเรื่อยๆ ถึงขั้นไปต่างจังหวัด ต่างประเทศ แล้วทำเพจเฟซบุ๊กขึ้นมา โดยถ่ายภาพเรื่องราวเล่าถึงไลฟ์สไตล์และท่องเที่ยว ตอนนี้มีคนติดตามประมาณ 85,000 คน ก่อนแตกแขนงไปลงในอินสตราแกรม ผมไม่คาดหวังว่าจะมีคนมาติดตามผลงานหรือเปล่า ผมมองว่าตัวเองชอบทำอะไรที่ดูขัดแย้งกัน อย่างอาชีพหมอกับอาร์ติส ผมขอเรียกตัวเองอย่างนี้แล้วกัน เมื่อสองอย่างมารวมเข้ากับการเดินทางแบบนักท่องเที่ยว กลายเป็นคาแรคเตอร์หลายอย่างมารวมเข้าด้วยกันก็แปลกดี แล้วก็ออกพ็อกเก็ตบุ๊คส์
ผมเชื่อในเรื่องคำบรรยาย คอนเทนต์ในเฟซบุ๊กของผมจะยาวมาก ขนาดมีคนทักท้วงว่า เขียนยาวขนาดนี้ไม่มีคนอ่านหรอกนะ ผมไม่เชื่อหรอก ผมเชื่อว่า มีทั้งภาพ ทั้งเรื่องราว คนดูอยากเสพอะไรก็เลือกเสพอันนั้น ผมเชื่อว่าการดูภาพ บางทีเขาไม่เข้าใจหรอกว่า เราต้องการจะสื่ออะไร เราอยากให้เห็นมุมไหน พอมีเนื้อหามากๆ เลยเป็นที่มาของพ็อกเก็ตบุ๊คส์ ชื่อ ทริปฉุกเฉินของหมอเปียง พูดถึงการเดินทางของเราว่า เดินทางไปที่ไหนมาบ้าง เล่าชีวิตแต่ละวันยุ่งเหยิงมาก มีเวลาว่างสองวัน เราสามารถไปได้ไกลถึงต่างประเทศ
ทำไมถึงอยากใช้เวลาให้คุ้มค่า
ตอนนั้น ภาระเราเยอะมาก ทำงาน 24 ชั่วโมงรวมอยู่เวรในคืนนั้น บางครั้ง 48 ชั่วโมง ช่วงทำงานใช้ทุน ผมใช้ร่างกายหนักมาก เดือนหนึ่งมีเวลาหยุด ถ้าเราเอาเวลามานอนไม่คุ้มเลย ทำอย่างอื่นดีกว่า ก็เลือกไปเที่ยววันศุกร์กลับวันอาทิตย์เช้า ทริปแรก ผมไปเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่เราเคยไปมาแล้ว เป็นจุดเริ่มต้นที่ลองเชิงดูก่อน อยากไปในที่ไม่ยากเกินไป เราพอรู้จักสถานที่อยู่แล้ว อยากรู้ว่าเราจะทำได้ไหม เป็นครั้งแรกๆ ของการขึ้นเครื่องบินคนเดียว วางแผนทริปเองทั้งหมด ใช้เวลาที่แม่กำปองครึ่งวัน ในพิพิธภัณฑ์อีกครึ่งวัน
ที่แม่กำปองชอบบรรยากาศความชิลด์ อากาศ หมอกเย็นๆ ควันไฟจากคนทำอาหาร เด็กวิ่งเล่นกัน ถ่ายรูปวนใหญ่ออกแนวสตรีท ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนที่พิพิธภัณฑ์ ตามมุมต่างๆ เซ็ตทุกอย่างเพื่อให้ดูสวย รูปถ่ายส่วนใหญ่เน้นคลีน เนี้ยบ ทริปต่อมาผมไปกัมพูชา สิงคโปร์ ก็ดั้นด้นพาตัวเองไปให้ถึงตรงนั้น"
มีอะไรที่คุณประทับใจ
ผมเป็นคนไม่อยู่นิ่ง ชอบทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา เกลียดการอยู่เฉยๆ การทำอะไรช้าๆ ไม่ใช่ผม ผมชอบมีแพลนกิจกรรมเยอะๆ ตะลุยทำสิ่งเหล่านั้น ผมมองว่า ตัวเองชอบอะไรที่ดูขัดแย้งกัน อย่างอาชีพหมอกับอาร์ติส ผมขอเรียกตัวเองอย่างนี้แล้วกัน เมื่อสองอย่างมารวมเข้ากับการเดินทางแบบนักท่องเที่ยว กลายเป็นคาแรคเตอร์หลายอย่างมารวมเข้าด้วยกัน ก็แปลกดี เป็นการพักผ่อนที่เราโอ.เค.คนมองว่าไม่เหนื่อยหรอ แต่ผมมองว่า ทุกการเดินทาง เราได้ชาร์จพลัง มีครั้งหนึ่งที่สนามบินเชียงใหม่ ฟอลโลเวอร์จำผมได้ เดินเข้ามาขอถ่ายรูปพร้อมกับยื่นหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กที่ผมเขียน สภาพแบบยับเยินผ่านการอ่านมาแล้ว พูดกับผมว่า พี่เปียงเซ็นต์ชื่อให้หน่อย
ผมเซ็นต์ชื่อลงไปในหนังสือเล่มนั้น เขาก็ขอบคุณไม่ขอถ่ายรูปด้วย ไม่พูดอะไร แล้วเดินแยกย้ายกันไป ผ่านไม่กี่ชั่วโมงเขาโพสต์รูปในสตอรี่ของเขาประมาณว่า หนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้เริ่มท่องเที่ยว ได้พาหนังสือไปหาเจ้าของเรื่องราวแล้ว ผมรู้สึกว่าเรื่องราวที่เราทำปกติ พอออกมาเล่าเรียบเรียงดีๆ เป็นแรงบันดาลใจได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมเอง การถ่ายภาพที่นำมาซึ่งทุกอย่างที่ทำให้เกิดขึ้นในวันนี้ รวมทั้งการแสดงงานภาพถ่าย เป็นความฝันของช่างภาพหลายๆ คนได้จัดแสดงงานของตัวเองในหอศิลป์กทม. ซึ่งผมจริงจังกับมันมากพอๆ กับการเป็นหมอที่ตอนนี้เรียนต่อเฉพาะทาง ซึ่งอีกสามปีจะจบแล้ว