'หน้ากากอนามัย' ราคาไม่ควรเกินเท่าไร?

'หน้ากากอนามัย' ราคาไม่ควรเกินเท่าไร?

สำรวจ "ราคาหน้ากากอนามัย" ในท้องตลาด ในวันที่ "โควิด-19" มีการ "ระบาดรอบใหม่" ในประเทศไทย พร้อมเปิดราคาหน้ากากอนามัยที่เหมาะสมตามกฎหมายที่ผู้บริโภคต้องรู้!

สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ "โควิด-19" (การระบาดระลอก2 และการระบาดระลอกใหม่ ต่างกันอย่างไร อ่านที่นี่) กับ "PM2.5" ประเดประดังเข้ามาพร้อมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ระหว่างที่รอวัคซีนป้องกันและรักษาโรค การป้องกันตัวเองด้วยการ "สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง กินร้อน ช้อนส่วนตัว และหมั่นทำความสะอาดมือบ่อยๆ" ใชช้วิถีชีวิตนี้อย่างเคร่งครัด จึงเปรียบเสมือนวัคซีนที่ดีที่สุดในตอนนี้ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อ "การระบาดรอบใหม่" เกิดขึ้น ความตื่นตัวของประชาชนจึงกลับมาอีกครั้ง ซึ่งทำให้ "หน้ากากอนามัย" และอุปกรณ์สำหรับป้องกัน "โควิด-19" จึงมีแนวโน้มกลับมาเนื้อหอมอีกครั้ง และแน่นอนว่าสิ่งที่จะอาจตามมาคือ "ราคาหน้ากากอนามัย" ที่จะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

แม้ราคาหน้ากากอนามัยจะไม่น่าเพิ่มสูงขึ้นเหมือนสถานการณ์ระบาดครั้งแรก เนื่องจากกำลังการผลิตมากขึ้นแล้ว แต่เพื่อเป็นการป้องกันการฉวยโอกาส "ขึ้นราคาหน้ากากอนามัย" จากผู้ค้า

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงชวนไปดูระดับราคา "หน้ากากอนามัย" ที่ควรจะเป็น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อหน้ากากอนามัยในราคาที่เหมาะสม และไม่ถูกเอาเปรียบ 

160855239729

ตัวอย่างผู้ที่พบเห็นร้านหน้ากากอนามัยขึ้นราคาใน Twitter

  •  ราคาหน้ากากอนามัยที่ผลิตในไทย ควรอยู่ที่เท่าไร 

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับท่ี 10 พ.ศ. 2563 เรื่อง การกำหนดราคาจำหน่ายและการแจ้งข้อมูลหน้ากากอนามัย หมวด 1 การกำหนดราคาจำหน่าย ระบุว่าให้ผู้จำหน่าย "หน้ากากอนามัยทางการแพทย์" (Surgical Mask) ที่ผลิตภายในประเทศ จำหน่ายปลีกในราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ไม่สูงกว่าช้ินละ 2.50 บาท หมายความว่าหน้ากากอนามัย 1 กล่องที่มีจำนวน 50 ชิ้น ต้องมีราคาไม่เกินกล่องละ 125 บาท 

ทั้งนี้ ในพระราชกิจจานุเบกษา ระบุว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการจำหน่ายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) ท่ีไม่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์บริหารจัดการสินค้าหน้ากากอนามัยของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์"

160855014569

  •  ราคาหน้ากากอนามัยที่ผลิตหรือนำเข้าจากต่างประเทศ 

ส่วน ผู้จําหน่าย "หน้ากากอนามัยทางการแพทย์" (Surgical Mask) ที่นําเข้าจากต่างประเทศ หรือหน้ากากอนามัยอื่นที่นําเข้าจากต่างประเทศหรือที่ผลิตภายในประเทศ ยกเว้นหน้ากากอนามัยที่ผลิต จากผ้าและสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ จําหน่ายในราคาไม่สูงกว่าราคาที่คํานวณจากวิธีการ ดังต่อไปนี้

1) ราคาที่ผู้นําเข้าหรือผู้ผลิตจําหน่าย ให้คํานวณจากต้นทุน บวกค่าบริหารจัดการและ ค่าขนส่ง ค่าผลตอบแทนจากการขายและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ไม่เกิน 10% ของต้นทุน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2) ราคาที่ผู้จําหน่ายส่งจําหน่าย ให้คํานวณจากราคาตามข้อที่ 1 บวกค่าบริหารจัดการและ ค่าขนส่ง ค่าผลตอบแทนจากการขายและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ไม่เกิน 90% ของราคาตาม (1) (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

3) ราคาที่ผู้จําหน่ายปลีกจําหน่าย ให้คํานวณจากราคาตามข้อที่ 1 บวกค่ากระจายสินค้า ค่าผลตอบแทนจากการขายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ไม่เกิน 23% ของราคาตาม (2) (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  •  รายชื่อผู้ประกอบการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) 17 รายในไทย 

สำหรับคนที่ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตหน้ากากอนามัยในไทย สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ ผ่าน "รายชื่อผู้ประกอบการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask)" จากกรมการค้าภายใน

160855320571