ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale

ฐาปน สิริวัฒนภักดี เล่าความเป็นมาการจัดงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ (Bangkok Art Biennale) งานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในกรุงเทพฯ ปี 2022 เวียนมาเป็นครั้งที่ 3 ปีนี้จัดภายใต้คอนเซปต์ CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข

บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ (Bangkok Art Biennale หรือ BAB) เป็นเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในเมืองหลวงของประเทศไทย จัดขึ้นเป็นประจำทุกสองปี ซึ่งเดือนตุลาคมปี 2565 นี้ จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในชื่อ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 งานใหญ่ที่คนชอบงานศิลปะ งานดีไซน์ งานแสดงแนวคิด ปักหมุดรอชม

โดยในปีนี้ งานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Bangkok Art Biennale 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข จัดเต็มผลงานศิลปะจาก 73 ศิลปิน 35 สัญชาติ ในเดือนตุลาคมนี้

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Bangkok Art Biennale ผู้ริเริ่มจัดงาน “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่” เปิดใจในงานแถลงข่าวการจัดงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 เมื่อวันอังคารที่ 13 กันยายน 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ว่า จริงๆ แล้วเขาไม่ค่อยมีความรู้เรื่องศิลปะมากนัก

แต่จากการมีโอกาสพูดคุยกับคนในแวดวงศิลปะ อาทิ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์, คุณนิติกร กรัยวิเชียร, คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับวงการศิลปะของประเทศ อยากเชื่อมโยงผลงานศิลปินไทยไปสู่สายตาชาวโลก และมองว่าศิลปะสามารถสร้างคุณค่าเชื่อมโยงไปสู่คนไทยได้อีกหลายภาคส่วน จึงได้เริ่มจัดงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งแรกเมื่อปี 2018

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale ฐาปน สิริวัฒนภักดี บนเวทีแถลงข่าวจัดงาน Bangkok Art Biennale 2022

“ในการจัดงานก็ต้องมีความต่อเนื่อง ถ้าไม่ต่อเนื่อง ก็เหมือนทำเสร็จแล้วก็หายไป" ฐาปน กล่าว

ด้วยความเป็น “เบียนนาเล่” เท่ากับการจัดงานทุกๆ สองปีที่จะเวียนมาหนึ่งครั้ง เมื่อตั้งหลักที่ปี 2018 จึงต่อด้วยปี 2020 และปีนี้ 2022

“ปี 2020 ก็มีความท้าทาย เพราะอยู่ในช่วงปีโควิด แต่เราก็ผลักดันอยากมีโอกาสสร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นที่รับรู้ผ่านโซเชียลแพลตฟอร์ม เราอยากรู้ ท้ายที่สุดการจัดงานเทศกาลศิลปะบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่จะขยายผลไปสู่มิติอื่นๆ อย่างไรบ้าง เรามอง มุ่งเน้น และหวังที่จะเชื่อมโยงสู่สากลด้วยการต้อนรับศิลปินนานาชาติ”

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale งาน Bangkok Art Biennale 2020

 

คุณฐาปน กล่าวด้วยว่า ในเรื่องการใช้ ความคิดสร้างสรรค์ และ มุมมองของยุคสมัย เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องๆ ศิลปินรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาในวงการ และศิลปินอาวุโสที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีเอกลักษณ์ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ในเรื่องงานศิลปะ เราต้องถามหาว่า จะมีโอกาสในการตอบสนองชีวิตคนรุ่นใหม่อย่างไร ด้วยการใช้ ต้นทุนด้านวัฒนธรรม และ สร้างสรรค์คุณค่าจากงานศิลปะ

ที่สำคัญ เราพอจะมีโอกาสเสริมสร้าง ศักยภาพให้เศรษฐกิจประเทศไทย ของเราได้มากน้อยอย่างไร

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale งาน Bangkok Art Biennale 2018

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale งาน Bangkok Art Biennale 2018

 

กรุงเทพมหานคร ต้องถือว่าเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นศูนย์รวม ในการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ ในการสร้างการรับรู้ให้อยู่ในสายตาชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง หรือการเชื่อมโยงมิติต่างๆ

“ถ้าเรามองว่า การพัฒนา..เริ่มจากที่ตัวคน แสดงว่าเรามองงานอาร์ตเป็นเรื่อง ซอฟต์เพาเวอร์ เราถามหาเรื่อง art and culture เรากำลังถามว่าสามารถที่จะมองในรูปแบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale แกนนำและผู้ร่วมสนับสนุนจัดงาน ใน Bangkok Art Biennale 2022

 

คำถามที่ว่า cultural values (คุณค่าทางวัฒนธรรม) และ artistic values (คุณค่าทางศิลปะ) จะมีโอกาสแปรกลับเข้ามาเป็น economic value (มูลค่าทางเศรษฐกิจ) ได้อย่างไร

ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Bangkok Art Biennale ตอบคำถามโดยยกตัวอย่าง รำไทย โดยกล่าวว่า "ถ้าเรามองให้เกิดความสวยงามและสร้างความน่าสนใจในมิติ artistic values เป็นไปได้หรือไม่ พอมองใกล้ขึ้นคงจะเห็นในเรื่องของความสวยงาม ความพิเศษ ความมีเอกลักษณ์ 

แต่ตอนที่เราดำเนินงาน BAB เราก็อยากหยิบยกว่าในโลกนี้มีเรื่องราวที่เขาได้พัฒนาการจาก ต้นทุนด้านวัฒนธรรม เรามีสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นที่หลายท่านคุ้นเคย เช่น พลีตส์ พลีส (Pleats Please) ของ อิซเซ่ มิยาเกะ เขาได้แรงบันดาลใจจากการพับกระดาษโอริกามิ ออกมาเป็นผ้าเป็นพลีต ผืนผ้าสำหรับนุ่งห่ม มูลค่าด้านเศรษฐกิจของผ้ารูปแบบพลีตสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้หลายหมื่นล้าน

ฐาปน สิริวัฒนภักดี มากกว่าศิลปะที่ซ่อนอยู่ใน Bangkok Art Biennale จากคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ

 

ถ้าผมยกตัวอย่างที่สอง จิตรกรรมฝาผนัง ถ้าเรามองแบรนด์ในเมืองไทย จิม ทอมป์สัน ก็หยิบยกรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังมาทำในรูปแบบโพรดักต์ดีไซน์และแพ็คเกจจิ้งต่างๆ นานา

cultural values ใน ชุดโนรา คงยากที่จะร้อยลูกปัดเสร็จแล้วนำมาจำหน่าย เพราะไม่คงสามารถใช้ในชีวิตประจำวัน  แต่เวลาเรามองความสวยงามที่ใกล้เข้ามามากขึ้นในเชิง artistic values (คุณค่าทางศิลปะ) มีโอกาสสร้างสรรค์ออกมาเป็นสินค้าหลากหลาย เช่น โคมไฟ สร้อยข้อมือ เป็นการร้อยและเรียบเรียงในรูปแบบชุดโนรา"

Bangkok Art Biennale คืออีกหนึ่งงานสร้างสรรค์ที่จะค่อยๆ เชื่อมโยง 3 คุณค่านั้นเข้าด้วยกัน

*  *  *  *  *  *

credit photo : เฟซบุ๊ก Bangkok Art Biennale