'ดอยบอย' คว้ารางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 'ชมรมวิจารณ์บันเทิง' ครั้งที่ 32
การประกาศผลรางวัลภาพยนตร์ไทย ที่จัดโดย 'ชมรมวิจารณ์บันเทิง' เวียนมาอีกครั้งในปีนี้ เป็นครั้งที่ 32 ประจำปี 2566
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีประกาศผลรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 32 ประจำปี 2566
โดยมี ยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, เกษมศักดิ์ วงศ์รัฐปัญญา (สนานจิตต์ บางสะพาน) ประธานชมรมวิจารณ์บันเทิง, สมาชิกชมรมวิจารณ์บันเทิง, คณะกรรมการตัดสินรางวัล, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักแสดง เข้าร่วมงาน ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 17 กรกฎาคม 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า วงการภาพยนตร์ไทย สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นเลิศที่ทำให้ภาพยนตร์ไทยเติบโตมาโดยตลอด
"หวังเป็นอย่างยิ่งว่านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวิดีทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรม จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญ ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยได้ก้าวหน้า และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ได้ต่อไปในอนาคต"
ผลรางวัล มีดังนี้
1) ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ดอยบอย
อำนวยการสร้างโดย สุภัชา ทิพเสนา, Steve Chen, Daniel Mattes, Davy Chou, เนรมิตหนังฟิล์ม, Mobile Lab Project, Anti-Archive
2) ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ นนทรีย์ นิมิบุตร จากภาพยนตร์ เรื่อง มนต์รักนักพากย์
3) นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ ธิติยา จิระพรศิลป์ จากภาพยนตร์ เรื่อง เธอกับฉันกับฉัน
4) นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้แก่ อวัช รัตนปิณฑะ จากภาพยนตร์ เรื่อง ดอยบอย
5) นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ อินทิรา เจริญปุระ จากภาพยนตร์ เรื่อง 4 Kings II
6) นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้แก่ พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ จากภาพยนตร์ เรื่อง เพื่อน(ไม่)สนิท
7) บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์ เรื่อง ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง
โดย ปฏิภาณ บุณฑริก, คาลิล พิศสุวรรณ
8) กำกับภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักพากย์
โดย ธีระวัฒน์ รุจินธรรม
9) ลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์ เรื่อง เพื่อน(ไม่)สนิท
โดย ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
10) ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักพากย์
โดย เอก เอี่ยมชื่น, ปิยะวิทย์ พลายเมือง
11) ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักพากย์
โดย ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
12) เพลงจากภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ รักแรก (Fist Love) จากภาพยนตร์เรื่อง รักแรก โคตรลืมยาก
ประพันธ์โดย อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์, ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล
13) ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง The Last Breath of Sam Yan
โดย เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์, เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, เสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์ (Young Film TH)
14) นักทำหนังหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (รางวัลมูลนิธิเอสซีจี) ได้แก่ ธิติ ศรีนวล จากภาพยนตร์ เรื่อง สัปเหร่อ
15) ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ระดับบุคคลทั่วไป ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง ภูมิกายา (The Physical Realm)
โดย สมพจน์ ชิตเกสรพงศ์, กฤษฎา ขำยัง
16) ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ระดับนักเรียน-นักศึกษา (รางวัลปัณณวิชญ์) ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง The End of Paralyzed
โดย รชต สระทองเทียน, พสธร วัชรพาณิชย์
17) ภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง รับเหมาพเนจร (The Man and the Machine)
โดย เกียรติพงษ์ ลงเย, ยิ่งยง วงศ์ตาขี่
18) รางวัลเกียรติคุณแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ศุภวัฒน์ จงศิริ (ศุภักษร)
19) ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดแห่งปี (รางวัลคมน์ อรรฆเดช) ได้แก่ ภาพยนตร์ เรื่อง สัปเหร่อ
โดย ไทบ้าน สตูดิโอ, มูฟวี่ พาร์ทเนอร์
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง จัดขึ้นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ นักแสดง บุคลากรในวงการภาพยนตร์ไทย และส่งเสริมการผลิตภาพยนตร์ไทยที่มีคุณภาพ