มอบรางวัล 'สุรินทราชา' 2567 ใน 'วันนักแปลและล่าม' ครั้งที่ 17
งานประจำปีที่เหล่านักแปลและล่ามมารวมตัวกันเพื่อแสดงความยินดีกับผู้ได้รับ 'รางวัลสุรินทราชา' ที่มอบให้เพื่อเชิดชูยกย่องนักแปลและล่ามผู้มีผลงานดีเด่น
สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย (TIAT) จัดงาน วันนักแปลและล่าม ครั้งที่ 17 และพิธีมอบ รางวัลสุรินทราชา 2567 วันที่ 2 มิถุนายน 2567 ณ สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปีนี้มีหัวข้องานว่า ภูมิทัศน์ใหม่ของ AI และภาษา
รางวัลสุรินทราชา เป็นรางวัลเกียรติคุณ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) หรือ แม่วัน ผู้แปลนวนิยายภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยเรื่องแรก คือ ความพยาบาท
จากต้นฉบับ Vendetta ของนักประพันธ์หญิงชาวอังกฤษ Marie Corelli ผู้เคยทำหน้าที่เป็นล่ามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มอบให้แก่นักแปลและล่ามผู้มีผลงานดีเด่นเผยแพร่มายาวนาน และสร้างคุณูปการแก่วงการวรรณกรรม สังคมและประเทศชาติ
Cr. Kanok Shokjaratkul
เปิดงานด้วย นายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ปกรณ์ กฤษประจันต์ กล่าวว่า นักแปลและล่าม คือนักเดินทางข้ามเวลา ข้ามพรมแดน และเดินทางทะลุเปลือกที่ห่อหุ้มใจคน
Cr. Kanok Shokjaratkul
"เครื่องมือของนักแปลและล่ามคือ ถ้อยคำและความหมาย ที่ช่วยขุดและตีแผ่เจตนาที่ฝังรากลึกอยู่ในต้นฉบับ ในอนาคต เครื่องมือที่เคยรับใช้เริ่มทำงานได้ดีกว่าและทำงานได้โดยลำพัง
การพลิกให้เครื่องมือกลับมารับใช้เรา แทนที่จะเป็นคู่แข่งของเรา ต้องอาศัยความชาญฉลาดและหลักยึดทางจริยธรรมของทุกฝ่าย นี่คือประเด็นสำคัญ ซึ่งสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสนทนา"
Cr. Kanok Shokjaratkul
ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ผลกระทบของ AI กับงานแปลและล่าม โดย รศ. ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล
ปัจจุบันมีการนำเอา AI มาใช้ในงานแปลและสร้างสรรค์งานเขียนมากมาย สามารถเปลี่ยนคำประพันธ์จากประเภทหนึ่งไปอีกประเภทหนึ่งหรืออีกหลาย ๆ ประเภทก็ได้
แล้วยังใช้ AI อีกตัวหนึ่งมาอ่านออกเสียงเป็นกลอนได้อีก ไม่เพียงเท่านั้น ในด้านการแต่งคำประพันธ์ ยังใช้ AI ให้แต่งเรื่องในสไตล์ของนักประพันธ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
Cr. Kanok Shokjaratkul
เสวนา หัวข้อ ภูมิทัศน์ใหม่ของ AI และภาษา โดย แอดมินโจ้ จากเพจนี้เพื่อนักแปล, รศ. ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล และ อัครินทร์ สถิตย์พัฒนพันธ์
เปิดเวทีด้วยการถามคำถามไปยัง AI ในมือถือ เพื่อให้ตอบในสิ่งที่อยากรู้ ได้อย่างน่าทึ่ง สร้างความประหลาดใจแก่ผู้มาร่วมงาน ซึ่ง AI ตอบได้แทบทุกเรื่อง แม้บางคำถามอาจต้องรอนาน สัก 15-20 วินาที
สำหรับคนที่ต้องการใช้ AI มีทั้งแบบฟรีและแบบจ่ายรายเดือน แน่นอนว่า แบบจ่ายเงินย่อมมีคุณภาพดีกว่า
ที่สำคัญ ต้องระวังและตรวจเช็คให้ดี เพราะ AI ก็มีหลอกเราเหมือนกัน
จากนั้นเข้าสู่พิธีการมอบรางวัล สุรินทราชา
Cr. Kanok Shokjaratkul
-
นักแปล ดีเด่น ประจำปี 2567 ได้แก่
1.รศ.ดร. จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา ผู้แปล มหาภารตะ และ ราโชมอน
2.เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) นักเขียนซีไรต์ และผู้ปริวรรตวรรณกรรมล้านนา
3.ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้แปล ฟิสิกส์ไขชีวิต นักสื่อสารงานวิทยาศาสตร์
4.ศ.ดร.ไป๋ฉุน (Prof. Dr. Bai Chun) ผู้แปลหนังสือธรรมะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) เป็นภาษาจีน
Cr. Kanok Shokjaratkul
5.ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์ ผู้แปล การเดินทางของพาย พาเทล
6.รศ.ดร. ภาสุรี ลือสกุล ผู้แปล สุดขอบโลกที่ฟินิสแตร์เร นักสื่อสารวัฒนธรรมลาตินอเมริกัน
7.มุ่ย ภู่พกสกุล ผู้แปล ความน่าจะเป็น ฉบับภาษาอังกฤษ
8.รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ ผู้แปล ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาษาเขมร ฉบับภาษาไทย
Cr. Kanok Shokjaratkul
9.รศ. สมพร วาร์นาโด ผู้แปล เสี้ยวความทรงจำธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
10.สุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์ ผู้แปล เจ้าฟ้าแห่งอาทิตย์อัสดง ความทรงจำจากรัฐฉาน
11.รศ.ดร.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ ผู้แปล ลอดลายมังกร ฉบับภาษาจีน
12.รศ. สุรัตน์ โหราชัยกุล ผู้แปล รัฐธรรมนูญอินเดีย
Cr. Kanok Shokjaratkul
-
ล่ามดีเด่น ประจำปี 2567 ได้แก่
1.ดร.จารุวรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นักสื่อสารข้ามเพศและเอชไอวี
2.ภญ.สุทินนา รัตนสมโภชกุล ล่ามตรวจสอบโรงพยาบาลและนักแปลวรรณกรรม
Cr. Kanok Shokjaratkul
Cr. Kanok Shokjaratkul
Cr. Kanok Shokjaratkul