เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

งานฉลองครบรอบ 25 ปี เงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’ และเปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ ผลงานที่ชนะเลิศการประกวดแปลเรื่องสั้นจากภาษาฝรั่งเศส

คณะอนุกรรมการเงินทุนวรรณกรรม อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ และ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดงานฉลองครบรอบ 25 ปี เงินทุนวรรณกรรม อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์

และเปิดตัวหนังสือ ดุจอำพัน รวม 10 ผลงานชนะเลิศการประกวดแปลเรื่องสั้น พร้อมจัดนิทรรศการผลงานและประวัติการทำงาน อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ณ Open House Book Shop by Hardcover ชั้น 6 Central Embassy

บรรยากาศภายในงาน เริ่มต้นด้วย ปาฐกถา นบน้อมอภิวันท์ อำพรรณ โอตระกูล โดย รศ.ดร. วัลยา วิวัฒน์ศร

ต่อด้วยเสวนา กว่าจะเป็น ดุจอำพัน โดย อ.กาญจนา บุนนาค, นพ. คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร, อภิรุจี สิตรังสี

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’ รศ.ดร. วัลยา วิวัฒน์ศร   Cr. Kanok Shokjaratkul

รศ.ดร. วัลยา วิวัฒน์ศร กล่าวปาฐกถา สรุปเนื้อหาได้ 3 ประเด็นดังนี้

"เมื่อ 56 ปีก่อน ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีมือถือ อาจารย์อำพรรณ สอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ 2507 - 2512 ก่อนไปอยู่ที่ปารีสเป็นการถาวร ดิฉันเข้าเรียนปี 2508 - 2511 เป็นนิสิตรุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนกับอาจารย์ ในวิชานวนิยายฝรั่งเศสศตวรรษที่ 20

อาจารย์จะเตรียมชีทให้นิสิต เรามีหนังสืออ่านเพิ่มเติมในห้องสมุด ที่สำคัญคือ อาจารย์มีความรู้ ที่สอนเป็น สอนให้นิสิตรู้ที่จะคิด ที่จะอ่าน ต่อยอด และวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’ Cr. Kanok Shokjaratkul

ยังจำตอนที่อาจารย์เดินหน้าตายิ้มแย้มเข้ามาได้ทุกสัปดาห์ เป็นความสุขที่ได้เรียนกับอาจารย์ มีแต่ความกระตือรือร้น อยากสอบได้คะแนนดี ๆ รักวิชานี้ รักอาจารย์ รักวรรณคดีฝรั่งเศส

ประเด็นที่ 2 ผลงานแปลของอาจารย์ ดิฉันได้ทำอัลบั้ม อำพรรณ โอตระกูล ลงใน Facebook กล่าวถึงผลงานแปลวรรณคดีฝรั่งเศสทั้ง 13 เรื่องของอาจารย์ ส่วนในงานนี้มีนิทรรศการแสดงผลงานแปลของอาจารย์ ทั้งเป็นเล่มและภาพถ่าย ต้นฉบับลายมือ แสดงอยู่ที่นี่อีก 1 สัปดาห์ เชิญไปชมได้นะคะ

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

ประเด็นที่ 3 ในฐานะนักแปล นักแปลไม่มีสำนวนเป็นของตัวเอง มีแต่สำนวนของนักประพันธ์ อาจารย์แปลงานของนักประพันธ์หลายคน เห็นได้ว่าสำนวนแปลของอาจารย์ในแต่ละเรื่องเป็นไปตามสำนวนของนักประพันธ์ในเรื่องนั้น ๆ

เรามักได้ยินผู้อ่านบอกว่า ชอบสำนวนแปลของคนนั้นคนนี้ ซึ่งที่จริงแล้ว นักแปลไม่ควรมีสำนวนของตัวเอง ควรมีแต่สำนวนของนักประพันธ์เท่านั้น"

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • กว่าจะมาเป็น ดุจอำพัน

อาจารย์ กาญจนา บุนนาค บรรณาธิการต้นฉบับแปล หนังสือ ดุจดำพัน กล่าวว่า ได้พบกับอ.อำพรรณในปีพ.ศ. 2520-2523 

"ดิฉันเป็นกรรมการสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส เขามอบหมายให้ไปสัมภาษณ์อ.อำพรรณมาลงในวารสาร ในฐานะผู้แปลวรรณกรรมฝรั่งเศสเป็นไทย ช่วงนั้นอ.แปลงานแล้ว คือ คนนอก, เจ้าชายน้อย, ความเข้าใจผิด

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

ต่อมาได้มาทำงานที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พบกับ อ.อำภา โอตระกูล และอ.อำพรรณก็มาเยี่ยมพวกเราที่คณะ ปีพ.ศ. 2541 ได้พบกับ วีรวุฒิ โอตระกูล ดำริว่าจะทำอะไรบางอย่างเพื่อระลึกถึงอ.อำพรรณ

ก็ตั้ง กองทุนวรรณกรรมอำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ ขึ้นมา จัดประกวดแปลเรื่องสั้นเป็นไทยเพื่อสนับสนุนให้เกิดนักแปลหน้าใหม่ เราได้เรื่องสั้นเรื่องแรกในปี 2544 ซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือ ดุจอำพัน เป็นเรื่องแรก สำหรับดิฉัน ซื้อหนังสือเล่มนี้อ่านเรื่องแรกก็พอแล้ว เกินคุ้ม ชื่อเรื่อง มนุษย์สมองทองคำ

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

อาจารย์กาญจนา บุนนาค   Cr. Kanok Shokjaratkul

ดิฉันเป็นกรรมการตัดสินในบางปี เป็นความชื่นใจทุกครั้งที่ได้อ่านงานดี ๆ เราจัดประกวดมาเรื่อย ๆ จนมีเรื่องสั้นอยู่ในลิ้นชักจำนวนหนึ่ง ปี 2562 คิดว่าน่าจะเอาเรื่องสั้นนั้นมาพิมพ์เป็นเล่ม เลยเลือกมา 10 เรื่อง

8 เรื่องไม่ติดลิขสิทธิ์นักเขียน อีก 2 เรื่อง ผู้เขียนให้ลิขสิทธิ์ คือ เรื่อง จดหมายจากเมืองไทย ฉบับที่ห้า อาหารแบบที่เรากิน และเรื่อง คนกวาดถนน

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

อ.มกุฏ อรฤดี อยากสอนให้กับนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์มาก เกิดเป็นวิชา บรรณาธิการศึกษา มีวิชาเอก เสวนาบรรณาธิการ และ วิชาชีพบรรณาธิการ 

ดิฉันเป็นผู้ประสานงาน ก็ได้เข้าไปฟังทุกครั้ง ได้ทำงานตรวจแก้เรื่องสั้นสิบเรื่องนี้ ดุจอำพัน เป็นงานแปลที่ดีที่สุดในบรรดาที่ส่งเข้าประกวด"

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • บรรณาธิการต้นฉบับแปล ต้องทำอะไรบ้าง

อาจารย์กาญจนา เล่าเบื้องหลังการทำงานหนังสือ ดุจอำพัน ให้ฟังอย่างต่อเนื่อง

"1) ตรวจว่าตรงกับต้นฉบับฝรั่งเศสไหม แล้วภาษาไทยใช้ได้ดีไหม ไม่อย่างนั้นต้องมีบก.สองคน แต่ดิฉันทูอินวัน แล้วไม่ได้ทำครั้งเดียว ทำแล้วทำอีก ดูแล้วดูอีก ดูหลายครั้งมาก

บก.ทำงานเหมือนปิดทองใต้ฐานพระ ต้นฉบับมาแล้วเราเจียระไนให้สุดสวย ให้คนอ่านอ่านแล้วมีความสุข

แล้วการตรวจแก้ต้องมีเหตุผล ว่าทำไมทำอย่างนี้ ไม่ใช่คำนี้ไม่ชอบ ขอแก้หน่อย

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

2) ต้องดู คำซ้ำ คำติดปากของนักเขียนนักแปล เช่น แล้ว แล้ว แล้ว หรือ ก็ ก็ ก็ เราก็ดูว่าอะไรที่ทำให้มันสละสลวยได้ ก็ใช้คำที่ตรงความหมาย

3) แปลเกินตัวบทหรือเปล่า กลัวว่าคนอ่านไม่เข้าใจก็ใส่ใหญ่เลย ไม่ได้ ต้องแปลให้พอดีกับตัวบท

หรือใช้คำผิด ยกตัวอย่าง นำพา รัฐบาลนี้จะนำพาเศรษฐกิจของประเทศให้รุ่งเรือง ไม่ได้ นำพาใช้ในประโยคปฏิเสธเท่านั้น ไม่นำพา คือไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจ จะใช้ว่านำพาไปสู่อะไรไม่ได้

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’ Cr. Kanok Shokjaratkul

4) บก.ตรวจแก้ต้นฉบับต้องมีลางสังหรณ์ ต้องเอ๊ะ ตลอด เพราะคำหนึ่งคำมีได้มากกว่าหนึ่งความหมาย

5) บก.ไม่ได้ทำงานคนเดียว ถ้ามีคำแสลง ก็ต้องถามเพื่อนฝรั่งเศสเพื่อความกระจ่าง

นักเขียนเขียนภาพให้เห็น อ่านคำให้เห็นภาพ บรรณาธิการ ต้องเห็นทั้งคำและภาพ อ.มกุฏ อรฤดี ว่าไว้

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ความหมายของคำว่า ดุจอำพัน

อำพัน คือ ยางไม้สีเหลืองใส ดุจอัญมณี ใช้เป็นเครื่องประดับ 

"ดุจอำพัน คือ เครื่องมือสำหรับวงการวรรณกรรมไทย นี่คือความหมายที่หนึ่ง

สอง. นี่คืออนุสาวรีย์ของอ.อำพรรณ ที่จะเดินทางไปทั่ว พิมพ์ 1,000 เล่ม ก็จะมีอนุสาวรีย์ 1,000 แห่ง

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

สาม. คือ สนามที่ทำให้เกิดนักแปล งานแปลเป็นเหมือนสะพานพาเราจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง

ขอเชิญชวนผู้ที่อ่านภาษาฝรั่งเศสได้ แปลภาษาฝรั่งเศสได้ มาร่วมโครงการช่วยกันสร้างสะพานวัฒนธรรมอันนี้

เวลาเราทำงานตรวจแก้ จะทำให้ต้นฉบับดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ทำให้เสียหาย เมื่อแก้แล้วจะถามนักเขียนนักแปลทุกครั้งว่าเห็นด้วยไหม ถ้าเห็นด้วยก็โอเค. ถ้าไม่เห็นด้วย ก็คุยกัน เราทำงานร่วมกันให้งานนั้นสละสลวยขึ้น"

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาสุรี ลือสกุล   Cr. Kanok Shokjaratkul

  • สะพานอันแข็งแกร่ง

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาสุรี ลือสกุล ผู้แทนคณบดี ฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เงินทุนวรรณกรรมอำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ มอบโอกาสและการเข้าถึงวรรณกรรมทรงคุณค่าจากประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

"ไม่ใช่เป็นเพียงการแปล แต่ถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง สร้างความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติอย่างแน่นแฟ้น

วรรณกรรมเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในการสื่อสารและส่งต่อความคิด

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

เป็นเรื่องน่ายินดีที่ประชาคมของเรามี คณะอนุกรรมการเงินทุนวรรณกรรมอำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเชื่อมโลกทั้งสองใบไว้ด้วยกัน

สะพานนี้สร้างมาแล้ว 25 ปีจะอยู่ยั้งยืนยงต่อไปอีกร้อยปี เชื่อมโยงผู้คนจากแม่น้ำแซนสู่เจ้าพระยาและแม่น้ำอื่น ๆ ที่มีมากมายในโลกนี้"

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Madame Magosha FREQUELIN   Cr. Kanok Shokjaratkul

  • 25 ปีของความสัมพันธ์อันดี 

Madame Magosha FREQUELIN ผู้ช่วยทูต ฝ่ายความร่วมมือด้านภาษาฝรั่งเศส สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

"งานเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีของเงินทุนวรรณกรรมอำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ เป็นช่วงเวลาที่บ่งบอกถึงความทุ่มเทยาวนานถึงหนึ่งในสี่ทศวรรษในการส่งเสริมวรรณกรรมฝรั่งเศสในประเทศไทย

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

ความมีใจรักในงานแปลของอ.อำพรรณ ช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้ผู้อ่านชาวไทยด้วยวรรณกรรมฝรั่งเศสชั้นยอด 

ความมุมานะและอุทิศตนของอาจารย์ ทำให้คนรุ่นใหม่ในไทยเข้าถึงวรรณกรรมฝรั่งเศสชิ้นเอก และสร้างสะพานที่ยั่งยืนของสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

การจัดประกวดเป็นการสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในการแปล หนังสือ ดุจอำพัน สะท้อนจิตวิญญาณฝรั่งเศสและเป็นความสำเร็จของเงินทุนวรรณกรรมฯ

การยกย่องอ.อำพรรณคือการยกย่องครูสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยด้วย"

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • วรรณกรรม ช่วยสร้างความคิด

วีรวุฒิ โอตระกูล น้องชายของอ.อำพรรณ ผู้ออกแบบปกหนังสือ ดุจอำพัน กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลผลิตจากการประกวดที่เงินทุนวรรณกรรมฯได้ทำมาโดยตลอด

"ร่วมกับการให้รางวัลเรียนดีแก่นิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้คะแนนสูงสุดในการสอบวิชาการแปล และการจัดปาฐกถา อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

การดำเนินงานของเงินทุนวรรณกรรมฯที่ผ่านมา ได้ตอบสนองปณิธานที่ตั้งไว้ คือ สนับสนุน เผยแพร่ วรรณกรรมไทยและฝรั่งเศสผ่านการแปล

อย่างที่พี่อำพรรณเคยพูดไว้ว่า วรรณกรรมนั้นช่วยกระตุ้นให้เราสร้างความคิด และช่วยให้ความคิดเกิดขึ้นได้

25 ปีที่ดำเนินงานมาจะเติบโตและก้าวไปไม่ได้ ถ้าไมได้รับการอนุเคราะห์ ช่วยเหลือ สนับสนุน จากผู้คนจำนวนมาก ขอขอบพระคุณกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ซึ่งมีหลายกลุ่มด้วยกัน

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

แรกสุด ผู้ร่วมก่อตั้งเงินทุน สอง.ผู้ร่วมเป็นอนุกรรมการ ดูแลขับเคลื่อนกิจกรรมและสละเวลามาเป็นกรรมการจัดประกวด รวมถึงผู้เป็นองค์ปาฐกของทุกปี

สาม.ผู้ที่เข้าร่วมแปล แม้ว่าท่านจะได้รับรางวัลหรือไม่ได้รับรางวัลก็ตาม

สี่. ผู้อ่าน สำนักพิมพ์ ผู้พิมพ์ ผู้ให้ความเห็น การรีวิว วิจารณ์ ได้ช่วยธำรงความนิยมต่องานแปลโดยตลอด

ห้า. คณาจารย์และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่รับภาระดูแลเงินทุน ผนวกเป็นกองทุนเพื่อการบริการและการศึกษา โดยรักษาไว้ให้ดำเนินกิจกรรมได้ตามปณิธานที่ตั้งไว้"

เปิดตัวหนังสือ ‘ดุจอำพัน’ โดยเงินทุนวรรณกรรม ‘อำพรรณ โอตระกูล ซาลส์’

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ดุจอำพัน

รวม 10 เรื่องสั้นแปลจากภาษาฝรั่งเศส มีเนื้อหาแนวตลกร้าย โลกหม่นมืด หักมุม โดย กี เดอ โมปาสซ็อง 7 เรื่อง ได้แก่ เหนือสายน้ำ, คนพรมน้ำเสก, เมียฉัน, ลุงฌูลส์, แม่โซวาจ, หลุมศพ, นวลนางหน้าหลุม

และอีก 3 เรื่อง โดย อัลฟงส์ โดเด เรื่อง มนุษย์สมองทองคำ, ฌ็อง มาร์แซล เรื่อง อาหารแบบที่เรากิน และ กาเอต็อง บรูล็อต เรื่อง คนกวาดขยะ