“หอวชิราวุธานุสรณ์" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว"รัชกาลที่ 6"

“หอวชิราวุธานุสรณ์" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว"รัชกาลที่ 6"

ชวนไปเดินเล่นเรียนรู้ที่"หอวชิราวุธานุสรณ์" ในรั้วหอสมุดแห่งชาติ ที่นี่เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลต้นฉบับ ลายพระราชหัตถ์ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของ"รัชกาลที่ 6"

ปีพ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในด้านวรรณคดีและหนังสือพิมพ์ ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรมมาแต่ทรงพระเยาว์ มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบทความวิจารณ์ต่างๆ มากมาย

 

การก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์

ช่วงที่มีการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อในวันที่ 1 มกราคม 2524 ม.ล.ปิ่น มาลากุล จึงได้ก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับ ลายพระราชหัตถ์ พระราชประวัติ พระราชนิพนธ์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

หอวชิราวุธานุสรณ์ ตั้งอยู่บริเวณภายในรั้วหอสมุดแห่งชาติ เป็นลักษณะอาคารทรงไทย 4 ชั้น และได้ปรับปรุงภายในเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาหาความรู้ และควรติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม

“หอวชิราวุธานุสรณ์\" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว\"รัชกาลที่ 6\" ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

“หอวชิราวุธานุสรณ์\" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว\"รัชกาลที่ 6\" พระบรมรูปหุ่นที่นี่จะตั้งในตำแหน่งที่ใกล้ผู้ชม ราวกับอยู่ในเหตุการณ์

ถ้าเข้าไปชั้นที่ 1 ห้องโถงห้องอัศวพาหุ ด้านหน้าพระบรมรูปหุ่นฉลองพระองค์เครื่องทรงมหาพิชัยยุทธ

ความน่าสนใจอยู่ที่ชั้นที่ 2 ห้องสมุดรามจิตติ ห้องสมุดเฉพาะที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวพระองค์ ที่นั่นสามารถค้นดูนามสกุลพระราชทาน 6,432 นามสกุล

ห้องสมุดรามจิตติ

ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งจากพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นห้องสมุดเฉพาะที่รวบรวมพระราชประวัติ พระราชนิพนธ์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ส่วนใหญ่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือ วารสาร นิตยสารมีจำนวนมากกว่า 10,000 เล่มซึ่งได้รับมาจากกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และการบริจาค มีคอลเล็คชั่นพิเศษที่นอกเหนือจากหนังสือทั่วไป มีการรวบรวมหนังสือที่ม.ล.ปิ่น มาลากุลแต่งขึ้น มีสัญลักษณ์พิเศษคือ ติดแถบสีแดง,หนังสืองานศพที่รวบรวมไว้ มีสัญลักษณ์พิเศษคือ ติดแถบดำจัดเรียงตามตัวอักษรชื่อผู้ตาย

และสำเนาลายพระราชหัตถ์ เป็นเอกสารสำเนาพระราชนิพนธ์ต่างๆที่เป็นลายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จัดเรียงตามตัวอักษรชื่อหนังสือ

“หอวชิราวุธานุสรณ์\" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว\"รัชกาลที่ 6\"

(ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารไทยไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรป )

ส่วนสำเนาบัตรนามสกุลพระราชทานของรัชกาลที่ 6 ฉบับลายพระราชหัตถ์ได้มาจากการบริจาคของต้นตระกูลต่างๆ จัดเรียงตามตัวอักษร ก-ฮ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถค้นคว้าและถ่ายเอกสารสำเนาบัตรนามสกุลพระราชทานได้ ขณะนี้มีจำนวนประมาณ 651 นามสกุล

พระราชประวัติสั้นๆ รัชกาลที่ 6

นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวพระราชประวัติ รัชกาลที่ 6 ยุคต่อสยามสู่ความเป็นสากล อาทิ ต้นกำเนิดกิจการลูกเสือ การวางรากฐานการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ฯลฯ

“หอวชิราวุธานุสรณ์\" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว\"รัชกาลที่ 6\" (พระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรม)

ส่วนห้องพระบรมราชะประทรรศนีย์ ซึ่งเป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปหุ่นในพระอิริยาบทต่างๆ  ขณะทรงปฎฺิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญในรัชกาล โดยวางพระบรมรูปหุ่นในตำแหน่งที่ใกล้ผู้ชมราวกับอยู่ในเหตุการณ์ 

โดยนำเสนอทั้งเรื่องราวการส่งเสริมการปกครองในระบบประชาธิปไตย จำลองเมืองสมมุติดุสิตธานี อันประกอบด้วยพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท พระที่นั่งบรมราชพิมาน และพระที่นั่งอัมพรพิรายุธ ซึ่งพระที่นั่งทั้งสามจำลองแบบจากพระที่นั่งดุสิตมหาประสาท

“หอวชิราวุธานุสรณ์\" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว\"รัชกาลที่ 6\"

ในด้านการศึกษา ทรงปรับปรุงโรงเรียนมหาดเล็ก ซึ่งตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาทรงสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

และทรงตั้งกองเสือป่า โดยมีพระราชประสงค์ฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนให้ได้รับการอบรมอย่างทหาร เป็นพลเมืองที่มีระเบียบวินัย ส่วนกองลูกเสือ โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งเป็นกิจการของเยาวชน ตั้งขึ้นคู่กับกองเสือป่า

เหมือนเช่นที่กล่าวมา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ พระบรมรูปหุ่นมีการจัดตั้งในตำแหน่งที่ใกล้ผู้ชม ราวกับอยู่ในเหตุการณ์ จึงเป็นความพิเศษอย่างหนึ่งที่อยากชวนไปดู

...........

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร

ติดต่อ :โทร. 0-2282-3264, 0-2282-3419

เวลาทำการ :เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (การเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องติดต่อล่วงหน้า)

ปิดบริการ : วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

จากกิจกรรมและภาพถ่าย KTC Press club ตอน The Secret of พระนคร ตอนเริงพระนครตะลอนสยามอารยะ 

“หอวชิราวุธานุสรณ์\" แหล่งเรียนรู้เรื่องราว\"รัชกาลที่ 6\"