'วธ.' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

'วธ.' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

กระทรวงวัฒนธรรม หรือ 'วธ.' แถลงข่าวจัดงาน ‘สงกรานต์’ ปี 67 อย่างยิ่งใหญ่ ต้อนรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานแถลงข่าว การจัดงานประเพณี สงกรานต์ ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ว่า

"รัฐบาลมุ่งขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ด้านเฟสติวัล และด้านการท่องเที่ยว รองรับนโยบาย Thailand Creative Content Agency (THACCA) และนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม

สร้างเสน่ห์วิถีไทยครองใจคนทั้งโลก ผลักดันประเทศไทยเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชาติ

จากการที่ประเพณี สงกรานต์ในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดย ยูเนสโก

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

ในปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดทำ บทเพลงสงกรานต์ ฉบับภาษาต่างประเทศ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย, อังกฤษ, จีน, ฝรั่งเศส (และจะมีภาษาเยอรมัน, สเปน, ญี่ปุ่น, เกาหลี,อินเดีย พม่า ตามมา)

มีการจัดกิจกรรม สงกรานต์ เดือนเมษายน ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และภูมิภาค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ขอนแก่น, สมุทรปราการ, ชลบุรี, ภูเก็ต

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

ภายในงานแถลงข่าวมีการจัดกิจกรรมสรงน้ำพระ การแสดงรำวงนางสาวไทย โดย พนิดา เขื่อนจินดา (นางสาวไทย 2567), พรศิริกุล พั่วทา (รอง 1) ร.ต.อ.หญิง อาทิติยา เบ็ญจะปัก (รอง 2), น้ำหนึ่ง แวน เดอ เวน (รอง 4) กุลปรียา ค้อนทอง (รอง 1 Miss Face Of Humanity 2024),

การแสดงเริงรื่นชื่นสงกรานต์ โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, การแสดงนาฏศิลป์ประกอบบทเพลงสงกรานต์ (ภาษานานาชาติ) โดย สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

  • กิจกรรมสงกรานต์ ในส่วนภูมิภาค มีดังนี้

เชียงใหม่

กิจกรรมวัฒนธรรมวิถีล้านนา ณ ข่วงเมืองต่าง ๆ วันที่ 4-21 เม.ย., กิจกรรมวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วันที่  13-16 เม.ย., ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ วันที่ 13 เม.ย., สักการะพระพุทธสิหิงค์ ยามค่ำคืน เปิดตัวนางสงกรานต์ ขบวนแห่รอบคูเมืองเชียงใหม่ วันที่ 14 เม.ย., การแสดงการแสดงตำนานสงกรานต์ โดย แอนโทเนีย โพซิ้ว ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 700 ปี, กิจกรรมวัฒนธรรมหลากหลาย ณ ประตูท่าแพ

ขอนแก่น

ประเพณีบุญสงกรานต์อีสานดั้งเดิม วัดไชยศรี วันที่ 13-15 เม.ย., งานสืบสานประเพณีสงกรานต์วิถีไทบ้านขอนแก่น ณ หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น วันที่ 11-15 เม.ย., งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูณเสียงแคนและถนนข้าวเหนียว พิธีเปิด 15 เม.ย., แอนโทเนีย โพซิ้ว แสดงตำนานนางสงกรานต์, กิจกรรมวันข้าวเหนียวครอบครัวเดียวกัน, คลื่นมนุษย์ (Human Wave) ณ ถนนข้าวเหนียว, อุโมงค์น้ำ มนต์ธาราศรัทธาสายมู

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

ภูเก็ต

งานภูเก็ตนครา มหาสงกรานต์ 2567 อัตลักษณ์ วิถีชีวิตเพอรานากัน วันที่ 13-15 เม.ย., พิธีเปิด 14 เม.ย. ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (ลานมังกร) อำเภอเมือง ภูเก็ต, นิทรรศการมีชีวิต 4 โซน, ชมห้องตำนานสงกรานต์ วิจิตรา Digital Art ฯลฯ

สมุทรปราการ

งานสงกรานต์ อัตลักษณ์ วิถีชีวิตชุมชนมอญรามัญ วันที่ 18-20 เม.ย., ณ ป้อมแผลงไฟฟ้าอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ, การละเล่นและวิถีวัฒนธรรมสงกรานต์พระประแดง, ขบวนแห่ทางวัฒนธรรมขบวนแห่รถบุปผชาติ, ขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ. กิจกรรมทางวัฒนธรรม, การประกวดนางสงกรานต์พระประแดง, การประกวดหนุ่มลอยชาย

ชลบุรี

งานสงกรานต์งามวิจิตร อัตลักษณ์วิถีชีวิต ชลบุรี Pattaya Old Town วันที่ 19-21 เม.ย. ณ ถนนเลียบหาดเมืองพัทยา วัดหนองใหญ่ พัทยา และวัดชัยมงคล (พระอารามหลวง), การแสดงตำนานนางสงกรานต์, การสาธิตการก่อเจดีย์ทรายใหญ่ที่สุด, ขบวนแห่มหาสงกรานต์ ฯลฯ

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

  • กิจกรรมสงกรานต์ ในกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

1. กิจกรรม รดน้ำขอพร ศิลปินแห่งชาติ วันที่ 10 เม.ย. เวลา 10.00-12.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

2. นิทรรศการ สงกรานต์ไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ วันที่ 10-12  เม.ย. เวลา 10.00-21.00 น. ณ ลานกลางแจ้ง หน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร (BACC) ปทุมวัน

3. งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) วันที่ 12-15 เม.ย. เวลา 14.00-16.00 น. ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร (พิธีเปิด 13 เม.ย. เวลา 14.00 น. ณ พระวิหารหลวง) สรงน้ำพระพุทธรูป สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

การแสดง ตำนานนางสงกรานต์ โดย แอนโทเนีย โพซิ้ว มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2023, การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย, การแสดงศิลปวัฒนธรรม, การสาธิตทางวัฒนธรรม, ซุ้มอาหารคาว-หวานมากมาย ฯลฯ

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร  ร่วมกับ เครือข่ายวัฒนธรรมกทม. จัดกิจกรรมสืบสานคุณค่าสาระของประเพณีสงกรานต์ ดังนี้

1) สงกรานต์สยาม ผ้าขาวม้า อยู่เย็นเป็นสนุก วันที่ 13-15 เม.ย. ณ สยามสแควร์ เขตปทุมวัน กทม. 

2) สงกรานต์ซัมเมอร์ อโลฮ่า ปาร์ตี้ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 10-17 เม.ย. ณ เทอมินอล 21 เขตวัฒนา กทม. 

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

3) EDM Songkran BAZAAR music Festival 2024 ถนนสายน้ำ วันที่ 11-15 เม.ย. ณ เดอะบาซาร์ รัชดา เขตจตุจักร กทม. 

4) สรวลเสเฮฮา มหาสงกรานต์สยาม การละเล่นไทย ดนตรี ประเพณีร่วมสมัย งานวัดจำลอง ณ สวนสยาม เขตคันนายาว กทม.

5) เพลิดพราว ดาวสงกรานต์ ความงามในตำนาน แห่งถนนสีลม วันที่ 15-16 เม.ย. ณ ถนนสีลม เขตบางรัก กทม.

\'วธ.\' จัดงาน ‘สงกรานต์’ ยิ่งใหญ่ รับ ‘มรดกวัฒนธรรมของโลก’

ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ www.culture.go.th/ เฟซบุ๊กแฟนเพจกรมส่งเสริมวัฒนธรรม/ Line@วัฒนธรรม/ สายด่วนวัฒนธรรม 1765