หาดูยากทุกวัน 'นกแต้วแล้วท้องดํา' สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 1 เดียวผืนป่ากระบี่
หาดูยากทุกวัน "นกแต้วแล้วท้องดํา" สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 1 เดียวแห่งผืนป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่ ในทั่วโลกพบเพียง 2 แห่งในประเทศไทย และผืนป่า Taninthayi ฝั่งตะวันออกของประเทศเมียนมา
เปิดภาพหาดูยากทุกวัน "นกแต้วแล้วท้องดํา" สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ทุกวินาที 1 เดียวแห่งผืนป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่ ทั่วโลกพบเพียง 2 แห่งในประเทศไทย และผืนป่า Taninthayi ฝั่งตะวันออกของประเทศเมียนมา
ทำความรู้จัก "นกแต้วแล้วท้องดํา"
“นกแต้วแล้วท้องดำ” ปัจจุบันถูกจัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ มีชื่อสามัญว่า Gurney's pitta และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘏𝘺𝘥𝘳𝘰𝘳𝘯𝘪𝘴 𝘨𝘶𝘳𝘯𝘦𝘺𝘪 เป็นนกที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะในพื้นที่ป่าที่ราบต่ำระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
การค้นพบนกแต้วแล้วท้องดํา
นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1875 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น เฮนรี เกอนีย์ นายธนาคารและนักปักษีวิทยาสมัครเล่นชาวอังกฤษ
ซึ่งทั่วโลกพบ"นกแต้วแล้วท้องดํา" กระจายเพียง 2 แห่ง คือ ประเทศไทย บริเวณป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ และผืนป่า Taninthayi ฝั่งตะวันออกของประเทศเมียนมา
ด้วยความเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่อาศัยที่มีลักษณะเป็นป่าที่ราบต่ำ ทําให้ถิ่นอาศัยที่สําคัญของนกแต้วแล้วท้องดําในอดีตถูกบุกรุกเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นสาเหตุให้นกแต้วแล้วท้องดํามีจํานวนประชากรลดน้อยลง อย่างรวดเร็ว
นกแต้วแล้วท้องดํา ถูกจัดสถานภาพเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
The IUCN Red List of Threatened Species ได้จัดสถานภาพนกแต้วแล้วท้องดํา เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered) ซึ่งถือได้ว่าแนวโน้มประชากรนกแต้วแล้วท้องดําในธรรมชาติกําลังเผชิญหน้ากับการสูญพันธุ์ทุกวินาที
การอนุรักษ์ "นกแต้วแล้วท้องดํา"ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีความพยายามในการคุ้มครองนกแต้วแล้วท้องดำมาตั้งแต่ปี 2530 ด้วยการเริ่มต้นประกาศพื้นที่อยู่อาศัยเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม และประกาศให้นกชนิดนี้เป็นสัตว์ป่าสงวน ในปี 2535 จนในปี 2536 ยกสถานะเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อคุ้มครองประชากรนกแต้วแล้วท้องดำในที่สุด
อ้างอิง-ภาพ : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า , กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า , ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช