"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" รับเงินพิเศษ 6 เดือน แต่ละช่วงอายุรับคนละเท่าไหร่ ?

"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" รับเงินพิเศษ 6 เดือน แต่ละช่วงอายุรับคนละเท่าไหร่ ?

เช็กที่นี่ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" รับเงินพิเศษ 100-250 บาท/เดือน นาน 6 เดือน เริ่มโอนเข้าบัญชีสิ้นเดือนเม.ย.นี้ แล้วแต่ละช่วงอายุรับคนละเท่าไหร่ ?

ภายหลัง ครม.อนุมัติหลักการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิสวัสดิการเบี้ยยังชีพ หรือที่เราเข้าใจกันคือ การจ่าย "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ในปีงบประมาณ 2565 เฉลี่ยรายละ 100 - 250 บาท ตามช่วงอายุ จำนวน 10,896,444 ล้านคน วงเงินรวม 8,348.16 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2565 นั้น

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รายงานต่อเนื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ผู้สูงอายุในครั้งนี้ ซึ่งจะจ่ายเพิ่มจาก "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" แบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ ดังนี้

  1. อายุ 60-69 ปี เดิมได้รับ 600 บาท เป็น 700 บาท/เดือน
  2. อายุ 70-79 ปี เดิมได้รับ 700 บาท เป็น 850 บาท/เดือน
  3. อายุ 80-89 ปี เดิมได้รับ 800 บาท เป็น 1,000 บาท/เดือน
  4. อายุ 90 ปีขึ้นไป เดิมได้รับ 1,000 บาท เป็น 1,250 บาท/เดือน

 

\"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\" รับเงินพิเศษ 6 เดือน แต่ละช่วงอายุรับคนละเท่าไหร่ ?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุต่อไป

ส่วนกรณีที่ ผู้สูงอายุที่ถูกระงับสิทธิ เนื่องจากได้รับสวัสดิการอื่นซ้ำซ้อนจากรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับสิทธิ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ที่ปรับเพิ่มด้วย

สำหรับผู้ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่

  • ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือ เงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
  • ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือ ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ

โดยจะได้รับเมื่อมีการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับใหม่ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)

หลักฐานประกอบการขอรับ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ"

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออก โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน)
  3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ในนามผู้มีสิทธิ/ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ (สำหรับกรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร)
  4. สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้