จี้คกก.วัตถุอันตราย แบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สภาเภสัชกรรม-แพทยสภา ออกแถลงการณ์ จี้คกก.วัตถุอันตราย ยกเลิก 3 สารเคมีเกษตร
เมื่อวันที่ 13 ก.พ.62 สภาเภสัชกรรมได้ออกแถลงการณ์ ในนามของรศ.ดร.เภสัชกรหยิงจิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม เนื้อหาระบุว่า จากการศึกษาข้อมูลวิชาการ ที่น่าเชื่อถือทั้งในประเทศและต่างประเทศ สภาเภสัชกรรม ได้พิจารณาหลักการควบคุมวัตถุอันตราย ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวในประเทศไทย โดยคำนึงถึงความสมดุลการพัฒนาประเทศ พร้อมกับคุณภาพชีวิตของประชาชนสรุป 3 ประการดังนี้
1.หลักการป้องกันไว้ก่อน ซึ่เป็นหลักสากลในการพิจาณาการควบคุมวัตถุอันตาย 2.เกษตรกร ควรมีสิทธิและทางเลือกที่จะทำเกษตรกรรม ที่ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพตนเอง และผู้บริโภค3.นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรมของไทย เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "เกษตรมันงคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน"
จากหลัก 3 ข้อ สภาเภสัชกรรม จึงของเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย ขอให้ยกเระดับการควบคุม พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสต ให้เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4
เนิ่องจาก พาราควอตค เป็นสารมีพิษเฉียบพลัน ได้รับเพียงเล็กน้อย 1-2ช้อนชา ก็อาจถึงแก่ชีวิต มีงานวิจัยมากมายแสดงว่า พาราควอต เข้าสู่สมองมนุษย์ได้ และทำลายสมองโดยการสร้างสาร synmuclein เช่นเดียวกับที่พบในสมองของผู้ที่ตายจากการได้รับพาราควอตและผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และจากการหาปริมาณสารพาราควอตในคนไทย พบทั้งเลือดในหญิงตั้งครรภ์ เลือดจากสายสะดือด และขี้เทาทารกแรกเกิด และพบปริมาณสารนี้ในสิ่งแวดล้อม น้ำ พืช อาหาร นอกจากนี้ ยังพบว่า สามารถทำการเกษตรกรรมที่ไม่ใช้พาราควอตและได้ผสมและได้ผลผลิตสูงแม้ในระดับเกษตรอุตสาหกรรม ส่วนในต่างประเทศได้ยกเลิกาการใช้พาราควอต จำนวนกว่า 53 ประเทศ รวมทั้งจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพาราควอตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ด้านสารคลอร์ไพริฟอส มีผลวิจัยจำนวนมากแสดงว่า มีผลต่อสมองเด็ก ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ ยังพบคลอร์ไพริฟอส ในสิ่งแวดล้อม จากากรศึกษาในคนไทยพบปริมาณคลอร์ไพริฟอสในเลือดหญิงตั้งครรภ และในสายสะดืดเด็กทารก และยังพบอีกว่า สามารถทำการเกษตรกรรมที่ไม่ใช่คลอร์ไฟริฟอส และมีผลผิตสูงได้ แม้ในระดับเกษตรอุตสาหกรรม หลายประเทศยกเลิกการใช้สารนี้แล้ว และต้นเดือนส.ค.2561 ศาลรัฐบาลสหรัฐส่งสำนังานปกป้องสิ่งแวดล้อม ให้ห้ามขาย คลอร์ไพริฟอส ภายใน 60วัน
ส่วนสารไกลโฟเสต เป็นสารพิษที่ International Agency for Research on cancer ได้จัดเป็นกลุ่มที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ผลวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ไกลโฟเสตตกค้างในซีรัมของแม่ และสายสะดือทารก ในมารดาที่พักอาศัย ในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการฉีดพ่นไกลโฟเสต หลายประเทศได้ยกเลิกการใช้สารนี้ และจากข้อมูลล่าสุด บริษัท ไบเออร์ มอนซานโตในเยอรมัน แพ้คดี จากการฟ้องร้องของผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ และมีการฟ้องถึงหมื่นกรณี
"ด้วยเหตุนี้ สภาเภสัชกรรม จึงมีมติให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย พิจารณายกระดับการควบคุม 3สารเคมี ให้เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 และยกเลิกการใช้สารที่มีพิษสูงทั้ง3 ภายในพ.ศ.2562" แถลงการณ์ระบุ
ด้านแพทยสภาได้ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการวัตถุอันตรายเช่นกันว่า ตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2524 ม.7 กำหนดให้แพทยสภามีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือ แนำนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข พร้อมทั้งให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และสาธารณสุข
จากกรณีปัญหาในสังคมเรื่องผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต่อมนุษย์ คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืลที่มีความเสี่ยงสูง ได้มีความเห็นในปี 2560 เห็นขอบให้ยกเลิกการใช้สารเคมี พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเสต ต่อมาในปี 2561 กระทรวงสาธารณสุขได้มีความเห็นชอบให้มีการเลิกใช้สารเคมี 3ชนิดดังกล่าวนั้น
คณะอนุกรรมการบริหารของแพทยสภา ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้ว เห็นชอบการยกเลิกการใช้สารเคมี 3ชนริด ดังกล่าว ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืลที่มีความเสี่ยงสูง และกระทรวงสาธารณสุขเสนอ เพื่อคุ้มครองประชาชนให้มีความปลอดภัย ในสุขภาพ อนามัย