เผยปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง

เผยปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจ ปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง รองลงมา 23% ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์)/รถสองแถว

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "สิทธิรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก ลอดอุโมงค์" 

ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 11 กันยายน 2562 จากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการอนุญาตให้รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก/ลอดอุโมงค์ ทุกแห่งทั่วกรุงเทพมหานคร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

เผยปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง
เผยปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพาหนะที่ประชาชนใช้เดินทางใน กทม.พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.09 ระบุว่า ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รองลงมา ร้อยละ 23.60 ระบุว่า ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์)/รถสองแถว ร้อยละ 22.33 ระบุว่า ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ใช้บริการรถแท็กซี่ ร้อยละ 9.73 ระบุว่า ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS/แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ร้อยละ 6.06 ระบุว่า ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง ร้อยละ 3.75 ระบุว่า ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ร้อยละ 3.11 ระบุว่า ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ร้อยละ 1.20 ระบุว่า ใช้บริการเรือโดยสาร และร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ใช้รถยนต์ของบริษัทที่ทำงาน และรถจักรยาน

ส่วนการพบเห็นรถจักรยานยนต์ขับขี่ขึ้นสะพานข้ามแยก/ลอดอุโมงค์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.49 ระบุว่า พบเห็นเป็นประจำ รองลงมา ร้อยละ 24.48 ระบุว่า พบเห็นค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 23.13 ระบุว่า ไม่ค่อยพบเห็น ร้อยละ 5.50 ระบุว่า ไม่เคยพบเห็นเลย และร้อยละ 0.40 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการอนุญาตให้รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานข้ามแยก/ลอดอุโมงค์ทุกแห่งทั่ว กทม. พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.12 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ สะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับรถจักรยานยนต์ เพราะส่วนใหญ่รถที่ใช้สะพานข้ามแยก/อุโมงค์จะใช้ความเร็วค่อนข้างสูง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย รองลงมา ร้อยละ 40.75 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เพื่อลดการจราจรที่ติดขัด สามารถระบายรถได้ดีขึ้นในชั่วโมงเร่งด่วน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ควรมีช่องทางสำหรับรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะกับสะพานข้ามแยก/อุโมงค์ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 4.94 ระบุว่า เฉย ๆ ยังไงก็ได้ ร้อยละ 1.99 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เห็นด้วยกับการให้ขึ้นสะพานข้ามแยก แต่ไม่เห็นด้วยกับการให้ลอดอุโมงค์ และบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการให้ขึ้นสะพานข้ามแยก แต่เห็นด้วยกับการให้ลอดอุโมงค์ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะบางจุดในชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น และร้อยละ 1.20 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 100.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 51.83 เป็นเพศชาย และร้อยละ 48.17 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.58 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 12.68 มีอายุ 26 35 ปี ร้อยละ 20.09 มีอายุ 36 45 ปี ร้อยละ 31.82 มีอายุ 46 59 ปี และร้อยละ 27.83 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ตัวอย่างร้อยละ 93.78 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.55 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.51 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 29.98 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.19 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.55 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 15.63 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 23.28 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.42 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 40.35 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 12.44 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.97 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26.79 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.84 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 9.01 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 25.44 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.79 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 23.68 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 20,000 บาท ร้อยละ 14.59 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 30,000 บาท ร้อยละ 8.37 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 40,000 บาท ร้อยละ 16.51 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.37 ไม่ระบุรายได้

เผยปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง

เผยปชช.ในกรุงเทพฯ เกือบ 60% ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นิด้าโพลเผยผลสำรวจ 'การเข้าพรรคและย้ายขั้วทางการเมือง'
-'ซูเปอร์โพล' ชี้ผลงานรบ.ประยุทธ์ ปชช.40.7% ทุกข์มากเมื่อนึกถึงเงินในกระเป๋า
-โพลเผยปชช.ให้ 'ความบริสุทธิ์ยุติธรรมปานกลาง' ในการเลือกตั้ง 2562
-ซูเปอร์โพลระบุปชช.ร้อยละ 72.8 ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการแถลงนโยบาย