ห่วง! ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง ทะลุ 4.8 ล้านคน

ห่วง! ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง ทะลุ 4.8 ล้านคน

ในจำนวนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นเบาหวาน และได้รับการดูแลรักษาราว 2.6 ล้านคน มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน

เบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable diseases: NCDs ที่คุกคามประชากรทั่วโลก มีสาเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 5 ปัจจัย ได้แก่ การรับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกายไม่เหมาะสม การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ได้รับมลพิษทางอากาศ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มะเร็ง ระบบทางเดินหายใจ เบาหวาน  และ โรคทางจิตเวช

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานในกลุ่มประชากรเด็กวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว (10-19 ปี) รวมทั้งผู้ใหญ่วัยต้น (Emerging adults)  ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ 20-35 ปี เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก

การศึกษาในหลายประเทศ พบว่า สัดส่วนความชุกของเบาหวานชนิดที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ในเด็กวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับความชุกของโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลของ IDF Atlas พบว่า ความชุกของเบาหวานทั่วโลกในกลุ่มผู้ใหญ่วัยต้น (อายุ 20-39 ปี) เพิ่มจาก 23 ล้านคนในปี 2543 เป็น 63 ล้านคนในปี 2556 โดยกลุ่มประเทศที่มีอัตราความชุกเพิ่มขึ้นรวดเร็ว อยู่ในแถบแอฟริกา แปซิฟิกตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เผยว่า จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2557 ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และหลายรายเกิดภาวะแทรกซ้อนในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ จากการเพิ่มขึ้นของวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง โรคอ้วน และอายุที่มากขึ้น นำมาซึ่งการเกิดโรค ในจำนวนนี้ 10 คนที่เป็นเบาหวาน 4 คนไม่รู้ว่าตนเองป่วย ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาเพียงร้อยละ 54.1 หรือเพียง 2.6 ล้านคน และเพียง 1 ใน 3 คนสามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน

157329149098

คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 100,000 คน ซึ่งโรคเบาหวานที่ถูกดูแลรักษาได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้าหรือขา

สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เบาหวานที่เกิดในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่วัยต้นนั้น มีข้อมูลชี้ชัดว่า การดำเนินโรคมีความรุนแรงกว่าเบาหวานที่เกิดในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ รวมถึงตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยกว่า นำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่า สร้างความสูญเสียอย่างมากทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรในวัยทำงาน

จากปัญหาดังกล่าว นำมาสู่ความร่วมมือในการรวมพลังต่อสู้เบาหวาน ตั้งแต่ระดับวัยทำงานในองค์กร จนถึงระดับครอบครัว โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักอนามัย กทม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายชมรมเบาหวานไทย ชมรมเพื่อเด็กและวัยรุ่นเบาหวาน และกลุ่มเพื่อนเบาหวาน โดยถือเอา "วันเบาหวานโลก" 14 พฤศจิกายน 2562 นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมพลัง นำมาสู่กิจกรรมเพื่อสุขภาพ กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย

Fight Diabetes Run วิ่งสู้เบาหวาน  กิจกรรมเดินสะสมระยะ (Virtual Run) วิ่งส่งเสริมสุขภาพครอบครัว เพื่อลดโอกาสเกิดเบาหวานในครอบครัวและช่วยให้คนที่เป็นเบาหวานแล้วควบคุมได้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการระดมทุนช่วยกองทุนเบาหวานเด็ก โดยผู้เข้าร่วมสามารถชวนสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานในองค์กร ตั้งทีมเดินหรือวิ่งสะสมระยะทาง ทีมละอย่างน้อย คน โดยสามารถสมัครได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ Line  @FightDiabetesRun  หรือสามารถซื้อเสื้อและเหรียญที่ระลึก ได้ในราคารวม 450 บาท รายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุนช่วยเหลือเด็กเบาหวาน เริ่มส่งผลเดินวิ่ง ได้ตั้งแต่ 14 พ.ย. 2562 – 15 ม.ค. 2563 ยิ่งชวนเพื่อนได้มาก ก็ยิ่งได้ระยะทางสะสมมาก โดยทีมที่สามารถสะสมระยะทางได้มากที่สุดจะได้รับโล่เชิดชูเกียรติ เป็นองค์กรหรือครอบครัวตัวอย่างห่างไกลเบาหวาน นอกจากนี้จำนวนระยะทางรวมที่ผู้เข้าร่วมทั้งหมดเดิน-วิ่งได้ จะแปลงเป็นเงินบริจาคช่วยผู้ป่วยเด็กเบาหวาน โดย กิโลเมตร มีค่าเท่ากับ บาท โดยเงินจำนวน 13,000 บาท สามารถช่วยเด็กเบาหวาน 1 คนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้เป็นเวลา ปี

157329151158

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวว่า “เยาวชนที่เป็นเบาหวานตั้งแต่วัยเด็กเล็กและวัยเรียน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ครอบคลุมอยู่ในรายการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีค่าใช้จ่ายอยู่ราว 13,000 บาทต่อปี ทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์นี้ได้ หลายหน่วยงานจึงได้ร่วมมือจัดกิจกรรม  เพื่อระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนกลุ่มนี้ที่มีอยู่ราว 100,000 คน ในประเทศไทย”

ด้านเครือข่ายคนไทยไร้พุงก็ปล่อยกิจกรรม Active Meeting Challenge ภารกิจท้าคุณขยับ ที่ขอท้าให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุข สมาคม ชมรม และกลุ่มเพื่อสุขภาพต่างๆ เข้าร่วมการประกวดคลิปออกกำลังกายระหว่างพักการประชุมหรือการปฏิบัติงาน เพื่อกระตุ้นให้คนในองค์กร ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการขยับร่างกายในชีวิตประจำวัน และตระหนักถึงภัยอันตรายของการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรค NCDs  รวมถึงโรคเบาหวาน กิจกรรมนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็น Healthy Organization หรือองค์กรสุขภาพดี โดยคลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวด และผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จะถูกนำมารวบรวมเป็นชุดต้นแบบให้กับองค์กรต่างๆ รวมถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุข นำไปใช้และเผยแพร่ให้เกิดการปฏิบัติในวงกว้าง สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 .ค. 2563 

ทั้งยังมีกิจกรรม Healthy Family Workshop เชิญชวนสมาชิกในครอบครัวมาร่วมเวิร์กช็อปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย ในรูปแบบกิจกรรมเรียนรู้ที่สนุกสนาน สามารถนำไปใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  เพื่อให้ครอบครัวห่างไกล NCDs และเบาหวาน โดยมีทั้งเวิร์กช็อปดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียน และเวิร์กช็อปดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในครอบครัว (เด็กวัยเรียนร่วมเวิร์กช็อปพร้อมผู้ปกครอง, ผู้สูงอายุร่วมพร้อมบุตรหลาน) ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและประกาศรับสมัครได้ผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจเครือข่ายคนไทยไร้พุง

Together Fight Diabetes Fair  กิจกรรมวันรวมพลังสู้เบาหวานและโรค NCDs ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือน ก.พ. 2563 มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคีเครือข่ายสุขภาพมาร่วมจัด โดยมีนิทรรศการความรู้ในการจัดการเบาหวานและโรค NCDs การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและคนรอบข้าง ทั้งในระดับครอบครัว องค์กรและสังคม การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพให้รอดพ้นจากเบาหวานและการสังเกตอาการเริ่มต้นของเบาหวาน การนำเสนอผลงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมรณรงค์ต่อสู้โรคเบาหวาน ตลอดจนเป็นพื้นที่แสดงออกสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องเบาหวานและกลุ่มผู้ป่วย

157329153271

ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า โรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลกและประเทศไทย โดยทั้งโลกมีผู้เสียชีวิตปีละมากกว่า 40 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สามารถคำนวณมูลค่าความสูญเสียถึง 47 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2573 หากไม่มีการดำเนินการแก้ไข ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 76 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียร้อยละ 2.2 ของ GDP ต่อปี ซึ่งโรคเบาหวาน เป็น ใน โรค NCDs ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย อันมีสาเหตุจากพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกายไม่เหมาะสม การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สสส. จึงมุ่งเน้นสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในทุกช่วงวัย โดยการพัฒนาและจัดการความรู้ สนับสนุนให้เกิดการจัดสิ่งแวดล้อมทางกฎหมายและทางสังคม อาทิ การผลักดันนโยบายที่เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาวะ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มปัจจัยเสริมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะและการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ใช้การสื่อสารการตลาดเพื่อรณรงค์ปรับเปลี่ยนค่านิยมวัฒนธรรม ขยายแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เหมาะสมตามกลุ่มวัย ตั้งแต่วัยเด็ก เยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงวัย ตลอดจนประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้พิการ กลุ่มสถานะบุคคล  เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ ขับเคลื่อนงานลงสู่พื้นที่เป้าหมาย อาทิ สถานประกอบการ สถานศึกษา ชุมชน ครอบครัว อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของภาคีภายใต้กลไกที่หลากหลาย เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)