10 ปีผ่านไป โลกเราประท้วงอะไรบ้าง !?

10 ปีผ่านไป โลกเราประท้วงอะไรบ้าง !?

รวมเหตุการณ์ Social Movement ตั้งแต่ปี 2010 ถึง ปี 2019 ว่าสิบปีมานี้มีเรื่องอะไรที่ขับเคลื่อนโลกเราบ้าง

157728641177

  • 2010 

พฤษภาอำมหิต การประท้วงและสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง 

การชุมนุมใหญ่ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เพื่อเคลื่อนไหวชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา การชุมนุมลุกลามใหญ่โต จนมีการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม ส่วนสำคัญคือการใช้กระสุนจริงจากฝั่งรัฐบาลทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม มากกว่า 90 คน และบาดเจ็บหลักพัน

 

Arab Spring  เหตุการณ์การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกกลาง  

การประท้วงครั้งใหญ่ทั่วโลก และ ยาวนานจนถึงปี 2020 ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด จุดเริ่มต้นมาจากชาวบ้านจุดไฟเผาตัวเองเพื่อต้องการประท้วงในการทำงานของรัฐบาลประเทศตูนีเซีย การประท้วงลุกลามและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ และทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง อย่างประเทศอียิปต์ ประเทศบาห์เรน ประเทศเยเมน ประเทศซีเรีย รวมถึงแอฟริกาเหนือ ประเทศเยเมน

Student Protest 

นักศึกษาในอังกฤษหลายหมื่นคนออกมาประท้วงตามท้องถนนในกรุงลอนดอน หลังมีการขึ้นค่าเทอมเป็น 9,000 ปอนด์ หรือราว 430,000 บาท ขณะเดียวกันก็ตัดงบการสอนของมหาวิทยาลัยร้อยละ 40 

การชุมนุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 52,000 ราย โดยมีการเดินขบวนแสดงความไม่พอใจรัฐบาลไปตามท้องถนน และมีส่วนหนึ่งที่เป็นนักศึกษา 200 รายบุกเข้าไปในอาคารมิลล์แบงค์ 30 ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการของพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษ

การประท้วงของนักศึกษาครั้งนี้ ส่งแรงกระเพื่อมต่อนักศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยให้หันมาสนใจเรื่องค่าเทอม และ เกิดการประท้วงต่อๆ กันมาในหลายๆ ประเทศแถบยุโรป  

  • 2011 

Occupy movement 

ตั้งแต่วันที่ 17กันยายน 2554 เป็นต้นมา มีกลุ่มผู้ประท้วงใช้พื้นที่ Zuccotti Park ใกล้เคียง Wall Street ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ และหัวใจของนครนิวยอร์ก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของตลาดหุ้น Wall Street โดยผู้ประท้วงเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า Occupy Wall Street โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะประท้วงเรื่อง ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม ความละโมภขององค์กรธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่, การคอร์รัปชั่น และการใช้อิทธิพลครอบงำรัฐบาลโดยพวกยักษ์ใหญ่ด้านการเงินและพวก Lobbyists

สโลแกนของผู้ประท้วงครั้งนี้คือ "We are the 99%" และตอกย้ำถึงความแตกต่างระหว่างคนรวยที่สุด 1% ของประเทศ กับประชาชนที่เหลือซึ่งเป็นพวก 99%

ความไม่พอใจส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลโอบามาไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ อัตราการว่างงานที่ยังคงสูงอยู่ถึง 9% และถึงแม้ว่าตัวการที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยคือ พวกสถาบันการเงิน/ธนาคารใหญ่ๆ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้จัดการหามาตรการมาลงโทษ กลับเอาเงินภาษีประชาชนไปอุดหนุนไม่ให้สถาบันพวกนี้ล้ม นโยบายรัฐบาลยังเอื้อประโยชน์ให้คนรวยเหมือนเดิม ไม่ได้ต่างไปจากรัฐบาลรีพับลิกันชุดที่แล้ว ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนกว้างขึ้นทุกที

การชุมนุมประท้วง Occupy Wall Street แพร่กระจายไปยังเมืองต่างๆ ทั่วอเมริกาและทั่วโลกด้วย และยังไม่มีทีท่าจะยุติลงง่ายๆ ซึ่งการประท้วงลักษณะนี้ เป็นเสมือนการปฏิวัติเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ โดยชนชั้นฐานล่างลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถึงเวลาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว

Russian protests การประท้วงการเลือกตั้งรัสเซีย 

ผู้คนหลายพันคนได้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในกรุงมอสโกของรัสเซียนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้คนกว่า 50,000 คนรวมตัวกันบนเกาะใกล้เครมลินเพื่อประณามการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งรัฐสภาและเรียกร้องให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งใหม่ การประท้วงมีการผู้ถูกจับมากกว่า 1000 คน โน นอกจากจุดชุมนุมหลักแล้วยังมีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเมืองอื่น

Anti-nuclear movement ขบวนการต่อต้านนิวเครียร์ 

การประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ในเยอรมนีและฝรั่งเศสเกิดขึ้นในวันครบรอบ 25 ปีของภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลในยูเครน โดยจุดเริ่มต้นมาจากการตระหนักถึงความปลอดภัยจากนิวเคลียร์ และอุดมการณ์ของขบวนการต่อต้านแอนตินิวเคลียร์นั้นเน้นไปที่สันติภาพและสิ่งแวดล้อม

  • 2012

Arab winter

การประท้วงและความรุนแรงหลังเหตุการณ์ Arab Spring ได้แก่ สงครามกลางเมืองซีเรีย เหตุจราจลในอีรัก วิกฤตการณ์ในอียปต์ โดยเป็นคำอธิบายสถานการณ์ความรุนแรงและความผันผวนทางการเมืองที่เลวร้ายลง 

May Day protests

เป็นการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยมีข้อตกลงถึงสิทธิแรงงาน และ ชั่วโมงการทำงานต่อวัน  ผลพวงมาจากเหตุการณ์ Occupy movement โดยประชาชนเดินออกประท้วงในวันที่ 1 พฤษภาคม การประท้วงเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วยุโรปรวมถึงสตอกโฮล์มมาดริดลอนดอนบรัสเซลส์และเจนีวา รวมถึงขยายไปทั่วโลกและระดับสากลไปยังประเทศอื่น เช่นแคนาดาอินโดนีเซียและไต้หวัน การประท้วงยังเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการครอบครองเคลื่อนไหวที่อุทิศตนเพื่อประท้วงต่อต้านลัทธิทุนนิยมและการทุจริตของ บริษัท และการค้นหาความเป็นปึกแผ่นภายในสหภาพแรงงานและกลุ่มกิจกรรมอื่น

2012 China anti-Japanese demonstrations

การประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นของประเทศจีนและไต้หวัน สาเหตุหลักของการประท้วงคือการเพิ่มระดับของข้อพิพาทหมู่เกาะเซนกากุ (หมู่เกาะเซนกากุ ในประเทศจีน) ระหว่างจีนและญี่ปุ่น 

  • 2013

วิกฤตการณ์การเมืองไทย 2557 

เป็นวิกฤตการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 ถึงพฤษภาคม 2557

โดย กปปส. กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองมีอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ การประท้วงนี้ลงเอยด้วยการรัฐประหาร 

เป้าหมายหลักของการประท้วง คือ การขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย และการตั้ง "สภาประชาชน" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูประบบการเมือง ผู้ประท้วงมองว่า พันตำรวจโททักษิณทุจริตอย่างมากและทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย

157728656622

  • 2014

2014 Hong Kong protests

เรียกอีกชื่อว่า The Umbrella Movemen การประท้วงชาวฮ่องกงโตอบโต้ต่อการตัดสินใจของจีนว่าจะอนุญาตให้มีการเลือกตั้งในฮ่องกงในปี 2560 แต่จากรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้าจากรัฐบาลจีน

คนหลายหมื่นคนซึ่งหลายคนเป็นนักเรียนตั้งค่ายอยู่บนถนนและเรียกร้องสิทธิ์ในการเลือกตั้งผู้นำอย่างเต็มที่

มันถูกเรียกว่า "ขบวนการร่ม" เพราะผู้ประท้วงใช้ร่มเพื่อป้องกันตัวเองจากแก๊สน้ำตาที่ตำรวจใช้

euromaidan 

เป็นคลื่นการเดินขบวนที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้พิจารณาข้อตกลงของประเทศกับสหภาพยุโรป 

  • 2015

Ni una menos 

ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีในอาร์เจนตินา และ แผ่กระจายไปในหลายประเทศแถบละตินอเมริกา   การรณรงค์เริ่มต้นโดยกลุ่มศิลปินหญิงชาวอาร์เจนตินานักข่าวและนักวิชาการ ซึ่งรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรกองกำลังสตรีแห่งยุโรป โดยการรนรงค์มีความต่อเนื่องและเน้นประเด็นทางเพศหญิง เช่น บทบาททางเพศ การถูกล่วงละเมิด การทำแท้ง สิทธิแรงงาน 

157728677165

  • 2016

Hirak Rif Movement

การเคลื่อนไหวประท้วงที่นิยมที่เกิดขึ้นในเบอร์เบอร์ภูมิภาคในภาคเหนือของโมร็อกโกระหว่างตุลาคม 2016 และมิถุนายน 2017 อันเป็นผลมาจากการตายของคนขายปลาที่ถูกทับอัดจนตายในรถบรรทุกขยะหลังจากกระโดดเข้าด้านหลังหลังจากการยึดสินค้าปลาที่ผิดกฎหมายซึ่งเขาถูกขายในตลาดท้องถิ่นโดยท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่

ขบวนการประท้วงจำนวนมากได้พบกับการปราบปรามอย่างรุนแรงจากระบอบโมร็อกโกพร้อมกับการปะทะกันรุนแรงระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงในเมืองและเมืองต่าง

Black Lives Matter

การประท้วงทั่วสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมในเหตุการณ์ที่ตำรวจผิวขาวสังหารชายผิวดำที่ไม่มีอาวุธสองเหตุการณ์ด้วยกัน หลังจากลูกขุนใหญ่ของทั้งสองเหตุการณ์ คือเหตุการณ์ที่เมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี่ และเหตุการณ์ที่นครนิวยอร์ค ต่างไม่สั่งฟ้องตำรวจผิวขาว จนก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนผิวสี

ผู้ประท้วงต่างเดินขบวนในหลายเมืองใหญ่ รวมทั้งที่นครนิวยอร์ค กรุงวอชิงตัน นครชิคาโก นครดีทรอยต์ นครลอสแองเจลลีส และนครซีแอตเติ้ ผู้ประท้วงจำนวนมากต่างนอนลงบนพื้นถนนเส้นสำคัญๆ เพื่อจำลองเหตุการณ์เสียชีวิตของชายผิวดำ 2 คน

ผู้ประท้วงพากันตะโกนคำว่า "Black Lives Matter" หรือชีวิตคนผิวดำก็มีความสำคัญ

  • 2017

Climate Change : The ‘Defend Science’ movement

ความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องผลกระทบที่มนุษย์ทำจะส่งผลโลกอย่างเป็นรูปธรรมและรุนแรงจนเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศหรือภาวะโลกร้อน เป็นกระแสที่กลับมาสนใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ หลังจากรัฐบาลทรัมป์ที่ปฏิเสธประเด็นสิ่งแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศนำไปสู่การเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมของนักวิทยาศาสตร์ มีการออกมาเดินขบวนเพื่อเรียกร้องปกป้องข้อมูลองค์ความรู้จากการวิจัย มีการส่งจดหมายคัดค้านและเรียกร้องให้ทบทวนนโยบายและเห็นความสำคัญว่าโลกนี้กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เราต้องเข้าใจและเตรียมตัวรับมือ

LGBTQ Rights movement

การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็ยังไม่สิ้นสุดลง แถมยังมีกรณีร้ายๆ ที่เกิดขึ้นเพียงเพราะความรัก’ … มีการกราดยิงแหล่งท่องเที่ยว และมีรายงานการใช้ความรุนแรงเพียงเพราะรสนิยม กระแสการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมในความหลากหลายทางเพศจึงเป็นกระแสที่ยังต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในระดับความคิดที่พยายามคัดง้างว่าการรักเพศเดียวกันไม่ใช่โรคไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ไปจนถึงการจัดขบวนพาเหรดและการรณรงค์เรื่องสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม เช่นสิทธิในการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การต่อสู้เรื่องความหลากหลายทางเพศนี้เป็นการต่อสู้กันอย่างยาวนานและยังคงต้องต่อสู้กันต่อไป กับอคติและการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมเรื่องความปกติและความผิดปกติของความรัก

Women’s Rights movement

ประเด็นเรื่องเฟมินิสต์ ความเท่าเทียมของผู้หญิงดูจะเป็นการต่อสู้ที่แสนยาวนานและยังคงต้องต่อสู้กันต่อไป หนึ่งในกระแสสำคัญก็คือการหาเสียงของ ฮิลลารี คลินตัน ที่จุดประเด็นเรื่อง The glass ceiling หรือเพดานที่มากั้นผู้หญิงจากความก้าวหน้าและการไต่เต้าทางอาชีพ สุดท้ายเราก็ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องความเสมอภาคและการยอมรับความสามารถของผู้หญิง เช่นในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็มีการพูดถึงข้อจำกัดที่ผู้หญิงไม่สามารถก้าวหน้าทางอาชีพได้ดีเท่าผู้ชาย หรือในวงการฮอลลีวูดเอง คำว่าเฟมินิสต์ก็ดูจะเป็นคำที่ผู้หญิงแกร่งๆ หลายคนพูดถึงและพยายามผลักดันกันอยู่เสมอ

2018

School strike for the climate

การนัดหยุดเรียนเพื่อสภาพอากาศโลกในชื่อ Fridays for Future เริ่มต้นจากนักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน

Greta Thunberg ซึ่งขณะนั้นศึกษาอยู่ในชั้นเกรด 9 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3) ตัดสินใจไม่เข้าเรียนจนกระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศสวีเดนปี 2561 ในวันที่ 9 กันยายนหลังเกิดคลื่นความร้อนและไฟป่าหลายระลอกในประเทศ เธอกล่าวว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจากนักกิจกรรมวัยรุ่น ไฮสกูลมาร์จอรี สโตนแมน ดักลาสในปาร์กแลนด์ รัฐฟลอริดา ซึ่งจัดการเดินขบวนเพื่อชีวิตของเรา (March for Our Lives) ทืนแบร์ยประท้วงโดยนั่งอยู่นอกรัฐสภาทุกวันระหว่างชั่วโมงเรียนพร้อมป้ายเขียนว่า "Skolstrejk för klimatet" (การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ)

ในบรรดาข้อเรียกร้องของเธอให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยคาร์บอo9k,8;k,9d]’xkiul วันที่ 7 กันยายน ก่อนการเลือกตั้งเล็กน้อย เธอประกาศว่าเธอจะนัดหยุดเรียนทุกวันศุกร์จนประเทศสวีเดนปฏิบัติตามความตกลงปารีส เธอประดิษฐ์คำขวัญ วันศุกร์เพื่ออนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลก เธอเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนทั่วโลกเข้าร่วมการนัดหยุดเรียนดังกล่าว

157728682384

  • 2019

Hongkong protests

การประท้วงของคนฮ่องกงต่อกฎหมายที่อาจทำให้ประชาชนเห็นว่ามีการพยายามหรือถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหาอาชญากรรมทางการเมืองในจีน

แม้ว่ากฎหมายจะถูกยกเลิก แต่การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในประเด็นต่างๆ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง

Feminist protest in Mexico 

การประท้วงเพื่อผู้หญิงในแม็กซิโก จากการสวมผ้าปิดตาและ ร้องเพลงเต้นรำเพื่อประท้วงการเพิ่มความรุนแรงต่อผู้หญิงหลายทศวรรษ โดยชนวนเกิดจากในเดือนสิงหาคมตำรวจหญิงสองคนถูกข่มขืนโดยตำรวจด้วยกันเอง และ ไม่ได้รับความชอบธรรมในการสอบสวน