"วายดีเอ็มฯ" ชี้ 7 เทรนด์ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งปี 2563
วายดีเอ็ม ไทยแลนด์ ฟันธง ตลาดดิจิทัลปี 2563 แข่งดุ อีคอมเมิร์ซค้าปลีกโตแรง ดาต้าจำเป็น แบรนด์เลือกทำวีดีโอเล็กลงแต่นิชขึ้น อินฟลูเอนเซอร์เน้นแบบ Multi-Tier ค่าโฆษณาดิจิทัลปรับตัวสูงขึ้น
นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในด้านการตลาดดิจิทัลมานานกว่า10ปี กล่าวถึงสถานการณ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในปี 2563ว่า นักการตลาดจะเผชิญหน้ากับแรงกดดันหลายด้าน ทั้งจากผู้เล่นจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาแข่งขันบนตลาดออนไลน์ มีผลให้ค่าใช้จ่ายในการลงโฆษณาออนไลน์ปรับตัวสูงขึ้น และเกิดการวัดผลที่เข้มข้นขึ้น
วายดีเอ็มฯได้วิเคราะห์ถึง “7 ทิศทางดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในปี 2563ของไทย” ประกอบดัวย 1. Dataเหมือนจะมา แต่ยังไม่มา เพราะสิ่งที่วายดีเอ็มฯพบหลังจากได้สัมผัสจริงกับภาคธุรกิจในไทยคือ มีเพียงไม่กี่อุตสาหกรรมที่สามารถจัดเตรียมDataได้อย่างครบถ้วนและเป็นระบบ ทำให้การใช้Dataเพื่อสร้างแคมเปญการตลาดจะเกิดขึ้นได้เฉพาะแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่มีความพร้อม
2.สินค้าอุปโภคบริโภคดัน E-commerce เติบโต จากนโยบายงดแจกถุงพลาสติกของร้านค้า อาจส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาซื้อของสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางE-commerceแทน 3.ราคาDigital Media จะปรับตัวสูงขึ้นแบบมีนัยยะ ผลตามหลักเศรษฐศาสตร์ เมื่อจำนวนผู้เล่นInternetเริ่มคงที่ แต่ผู้ลงโฆษณากลับเพิ่มมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าในปี2563ค่าโฆษณาDigital Mediaอาจจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
4.เกิดการใช้Influencersแบบผสมผสาน โดยคาดว่าในปี 2563 แบรนด์ยังคงจะใช้เงินในส่วนของInfluencersสูงเช่นเดิม แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำดิจิทัลมีเดียสูงขึ้น แบรนด์จึงอาจต้องมีกลยุทธ์ในการใช้Influencersมากขึ้น เช่น อาจผสมผสานกันระหว่างMacro – Micro – Nano Influencers
5.แบรนด์ขนาดใหญ่เริ่มแปลงร่างเป็น Publisher โดยในปี 2563 มีปัจจัยที่บ่งชี้ว่าแบรนด์จะลงทุนในงานส่วนนี้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่พร้อมมากขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น ประกอบกับGoogleออกมาประกาศถึงนโยบายที่จะเลิกสนับสนุนการใช้CookiesบนChrome ,การแข่งขันของContent Creatorsที่มีจำนวนมากมาย ซึ่งเชื่อว่าContent Creatorsกลุ่มหนึ่ง จะหันมาทำcontentให้กับแบรนด์มากขึ้น แทนที่จะทำcontentเพื่อหาโฆษณาแบบในอดีต
6.Niche Marketจะกลายเป็นตลาดสำคัญของแบรนด์ เพราะคนบนโลกดิจิทัลมีทางเลือกในการเสพคอนเทนต์มากมาย เขาจึงเลือกดูเฉพาะคอนเทนต์ที่ถูกใจเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การสื่อสารจากแบรนด์จึงเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง(Niche Market)มากขึ้น
และ 7. งานโฆษณาแบบ One BIG Idea จะมีจำนวนน้อยลง การทำBrand Communicationบนดิจิทัลมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆการทำหนังโฆษณาเพื่อสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลประเภทOne big ideaที่ใช้งบประมาณในการผลิตสูงนั้นจะมีจำนวนลดน้อยลง โดยแบรนด์น่าจะเลือกทำวิดีโอขนาดเล็ก แต่มีจำนวนหลายๆ ชิ้นแทน และในวิดีโอจะมีMessageแตกต่างกันไปตามSegmentationหรือตามNiche marketที่เลือก เนื่องด้วยประหยัดงบประมาณมากกว่า และเห็นผลมากกว่า