อว. สั่งการอาจารย์-นักศึกษา เลี่ยงการเดินทางไปประเทศมีความเสี่ยง 'โควิด-19'
อว. คลอดประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 2 สั่งการอาจารย์-นักศึกษา หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศมีความเสี่ยง "โควิด-19" หากเดินทางกลับมายังประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยง ต้องตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองโรค และหยุดงาน/เรียน 14 วัน
เมื่อวันที่ 25 ก.พ.63 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า อว. ออกประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้ระวังการะบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 2 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยพบการติดเชื้อในหลายประเทศทั่วโลกว่า 34 ประเทศ และมีการแพร่กระจายจากคนสู่คนภายในหลายประเทศแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการฝาระวังการะบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เพื่อควบคุมสถานการณ์และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรวดเร็ว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้ออกประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563 จึงขอยกระดับมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรค COVID-19 ของกระทรวงฯ ให้สอดรับกับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
1. ให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษา หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยงหรือมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
2. บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษาที่เดินทางกลับมายังประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยงหรือมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวสโคโรนา 2019 ตามข้อ 1 ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองโรค และกรณีที่พบว่ามีใช้หรือมีอาการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ และให้หยุดงาน/เรียนเป็นเวลา14 วันสำหรับผู้ที่ไม่มีไข้ หรือไม่มีอาการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคให้สังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดและหลีกเลี่ยงกาเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุมและการสัมมนา เป็นเวลา 14 วันหลังจากกลับถึงประเทศไทยหรือใช้ระบการเรียนการสอนออนไลน์และการประชุมออนไลน์แทน
3. บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษาที่มีไข้ หรือมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ และพบว่ามีความเสี่ยงโดยการใกล้ชิดหรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือกับบุคคลที่มีความเสี่ยง ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ไม่ควรรักษาตัวเองเพื่อป้องกันมิให้แพร่เชื้อได้ต่อไป
4. ให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษา ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลด้วยการหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตาจมูก ปาก โดยไม่จำเป็น สวมใส่หน้ากากอนามัยที่สะอาดเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ผู้ที่มีอาการไอ จาม ต้องใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
5. เพิ่มการดูแลสุขอนามัยด้านสถานที่ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ และสถาบันอุดมศึกษา อาทิ การเพิ่มความถี่ไนการทำความสะอาดพื้นทางเดินเข้า-ออกอาคาร ลิฟต์ ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ตรวจเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ปุมกดลิฟต์ ราวบันได ที่จับหรือลูกบิดประตูอาคาร จัดให้มีบริการเจลล้างมือโดยเฉพาะจุดที่มีการเข้า-ออกอาคาร หน้าลิฟต์ ห้องประชุม และศูนย์อาหาร เพิ่มความถี่ในการดูแลระบบเครื่องปรับอากาศเป็นกรณีพิเศษ ปิดประกาศประชสัมพันธ์สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดและการปฏิบัติ ตนเพื่อป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น
6. ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ และสถาบันอุดมศึกษาหลีกเลี่ยงกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุม การสัมมนาใดๆ ที่มีการเชิญบุคลากรจากประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยงหรือมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าร่วมออกไปก่อน รวมทั้งให้ใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์และการประชุมออนไลน์แทน
7. ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการชุมนุมนักศึกษาหรือบุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ เป็นจำนวนมาก
8. กระทรวงฯ จะติดต่อขอความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อคัดกรองโรคและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ รายงานข้อมูลหรือเหตุการณ์ผิดปกติโดยด่วน เพื่อร่วมกันควบคุมสถานการณ์นี้โดยขอให้จัดส่งข้อมูลได้ที่กลุ่มกิจการพิเศษ สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา โทร 0 2039 5562-3 หรือ กลุ่มงานอำนวยการ สำนักอำนวยการ โทร 2354 5568 หรือ โทร 08 5488 7051 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม