เศรษฐกิจปี 63 ประชาชน-ผู้ประกอบการ พร้อมใจชี้ 'กำลังมาถึงจุดต่ำสุดแล้ว'

เศรษฐกิจปี 63 ประชาชน-ผู้ประกอบการ พร้อมใจชี้ 'กำลังมาถึงจุดต่ำสุดแล้ว'

สถานการณ์โรคระบาด ก็ยังไม่คลี่คลายซ้ำภัยแล้งกำลังจะตามมาหลอกหลอนอีกสภาพเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยลบรุนแรงอย่างนี้ ปี 2563 เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจเรื่อง“ผลกระทบจากวิกฤติปัญหาในปัจจุบัน” จากการสำรวจระหว่าง 28 ก.พ.-9 มี.ค. 2563 จำนวน 800 ตัวอย่างทั่วประเทศและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

โดยแบ่งเป็นผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า  ส่วนใหญ่ 51.2% ตอบว่าส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันปานกลาง และ 40.2% ตอบว่า มาก โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมากที่สุดคือ งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยง การป้องกันและตรวจเช็คร่างกาย รักษาสุขอนามัย และการติดตามข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ

ส่วนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการใช้จ่าย จากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)พบว่าส่วนใหญ่ 37.3% กระทบปานกลาง และ 29.5% กระทบน้อย พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมากที่สุดคือใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น และดูแลสุขภาพ ไม่ออกนอกบ้าน เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และใช้เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น 

ขณะที่ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการใช้จ่ายจากปัญหาภัยแล้ง พบว่า ส่วนใหญ่ 30.6% ตอบว่ากระทบปานกลาง และ 26.5% ตอบว่ากระทบน้อย ทั้งนี้ ผลต่อการใช้ชีวิต ได้แก่ ประหยัดน้ำ ขุดบ่อบดาล กักเก็บน้ำไว้ใช้ เป็นต้น

“จากปัจจัยลบต่างๆเมื่อถามถึงทัศนะต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ 54.2% ตอบว่า กำลังถึงจุดต่ำสุด” ขณะที่ 32.6% ตอบว่ากำลังถดถอย  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจย้ำแย่ที่สุดคือ โควิด-19 การชุมนุมทางการเมืองภัยแล้ง การดำเนินนโยบายของรัฐบาล ปัญหาฝุ่นPM2.5 ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ ตามลำดับ

158410649358

นอกจากนี้ ศูนย์ฯได้ทำการสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการต่อสถานการณ์วิกฤตปัญหาในปัจจุบัน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 ก.พ.- 9 มี.ค. 63 จำนวน 400 ตัวอย่างว่า ปัจจัยฝุ่นPM2.5ส่วนใหญ่ 61.6% ตอบว่าได้รับความเสียหายจากปัญหานี้

ส่วนปัญหาโควิด-19 ธุรกิจ 87.7% ตอบว่าได้รับความเสียหายจากปัญหานี้ ส่วนภัยแล้งธุรกิจ 69.3% ตอบว่าได้รับความเสียหาย ปัญหาเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า  61.5% ได้รับความเสียหาย เมื่อถามถึงความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่ มากกว่า 50% ตอบว่า มั่นใจน้อย ในทุกๆปัญหา 

ส่วนทัศนะต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่ 51% ตอบว่า กำลังถดถอย โดยธุรกิจขนาดกลาง 66.7% ตอบว่า กำลังถึงจุดต่ำสุด ขณะที่ขนาดย่อม ส่วนใหญ่ 54.5% ตอบว่า กำลังถดถอยเช่นเดียวกับขนาดย่อยที่ 67.9%

158410659312

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่า  จากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2563 จึงตั้งสมมติประกอบการวิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario Analysis) ในปี 2563

พบว่า กรณีที่แย่ที่สุด (Worse Case) มีความเป็นไปได้ 30% คือการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย ได้ภายในเดือน ส.ค. 63 (จน.นทท.ตปท. ลดลงเหลือ 30.7 ล้านคนหรือ -22.9%)  สงครามการค้าเข้มข้นมากขึ้น  เงินบาทแข็งค่าต่ ากว่าระดับ 30.50 บาทต่อ USD  สถานการณ์ภัยแล้งอยู่ในระดับที่แย่กว่า ปี2557-2558 (ซึ่งเป็นปีที่ปัญหาภัย แล้งมีความรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี)  การเมืองขาดเสถียรภาพอย่างมาก จะทำให้จีดีพีขยายตัว 0.6%

กรณีฐาน (Base Case) มีโอกาสเป็นไปได้55% คือ การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย ได้ภายในเดือนพ.ค. 63 (จน.นทท.ตปท. ลดลงเหลือ 33.5 ล้านคนหรือ -15.7%)  สหรัฐฯ และจีนปฏิบัติตามข้อตกลง การค้าเฟส 1 และไม่มีการปรับเพิ่ม อัตราภาษีระหว่างกันอีก  เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.5031.50 บาทต่อ USD  สถานการณ์ภัยแล้งอยู่ในระดับใกล้เคียง กับปี 2557-2558  เสถียรภาพทางการเมืองมีความ เปราะบาง จะทำให้จีดีพีขยายตัว 1.1%

กรณีดีที่สุด (Beast Case) มีโอกาสเป็นไปได้ 15%คือ การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย ได้ภายในเดือน เม.ย. 63 (จน.นทท.ตปท. ลดลงเหลือ 34.7 ล้านคนหรือ -12.8%)  สงครามการค้าผ่อนคลายลง  เงินบาทอ่อนค่าขึ นเหนือระดับ31.50 บาทต่อ USD  สถานการณ์ภัยแล้งอยู่ในระดับใกล้เคียง กับที่เกิดขึ นในปี 2562  การเมืองมีเสถียรภาพอย่างมาก  จะทำให้จีดีพีขยายตัว 1.6%

158410645670