ลุ้น! ครม.ไฟเขียวเพิ่มวันดื่มนมโรงเรียน
ลุ้น! ครม.เพิ่มวันดื่มนมเป็น 365 วัน พร้อมเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยช่วยโคนมฝ่าวิกฤติโควิด-19
เมื่อวันที่ 14 เม.ย.63 รายงานข่าวจากสำนักงานผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เซ็นแล้วเพื่อเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (15 เม.ย.63) ได้มีการแจ้งข่าวดีมายังกลุ่มเกษตรกรว่าจะมีบรรจุวาระไว้เพื่อพิจารณา 2 ข้อ ได้แก่
1. ขอให้รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มงบประมาณวันดื่มนมโรงเรียนชนิด ยู.เอช.ที ในวันเสาร์-อาทิตย์ จากเดิมเป็น 260 วันเป็น 365 วัน
2. ขอรับความช่วยเหลือเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับสหกรณ์และผู้ประกบการที่ต้องรับน้ำนมดิบในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ผลิตไว้และแปรรูปเป็นนมยู.เอช.ที สำหรับช่วงนี้
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ลงนามประกาศ ณ วันที่ 13 เมษายน 2563 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 (ฉบับ2) เนื่องจากสถานการการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรค คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ให้ความเห็นชอบกับกระทรวงศึกษาธิการในการเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2563 จากวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ทำให้ต้องมีการทบทวนประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว
เมื่อเปิดภาคเรียนวันที่ 1 ก.ค. ให้จัดส่งนมตามสัญญาสำหรับเด็กนักเรียนที่ยังไม่ได้รับนมโรงเรียนในช่วงวันที่ 18 พ.ค.2563 ถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 ตามจำนวนหน่วยจัดซื้อกำหนด ส่วนภาคเรียนที่2/2563 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมจะต้องรับผิดขอบส่งนมโรงเรียนในวันเปิดภาคเรียนตั้งแต่วันแรก ยกเว้นเปิดภาคเรียนในช่วงถือศิลอดตามหลักศาสนาอิสลามการส่งโรงเรียนก่อนปิดภาคเรียนที่2/2563 ต้องส่งมอบนมโรงเรียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ
นายนพดล เจริญกิตติ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการโคนม และผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า น้ำนมดิบล้นจริงหรือสาเหตุเกิดจากอะไรเอาเงินรัฐบาลมาแก้ปัญหาเกษตรกรใครได้ประโยชน์ แต่อย่างไรก็ดีเห็นด้วยว่าต้องรักษาเอ็มโอยูให้เป็นเครื่องมือรักษาความเป็นธรรมให้กับเกษตรกร แต่จะมีคนออกมาเทนมทิ้งเพราะนมที่จะต้องเทเป็นนมนอกเอ็มโอยูที่แอบขายกันเองเป็นนมที่ทำพันธสัญญาไว้มากกว่าสิทธินมโรงเรียนวันละ 400 กว่าตันต่อวัน
ปกติโรงงานแปรรูปทำนมพาสเจอร์ไรส์ส่งออกตลาดต่างประเทศแต่ปัจจุบันนี้ตลาดต่างประเทศไปไม่ได้เลยปฏิเสธไม่รับซื้อนมส่วนนี้ซึ่งไม่ผิดตามเอ็มโอยูจะเอานมส่วนนี้ใส่กล่องนมโรงเรียนตามงบที่ขอรอบนี้ 700 กว่า ล้านบาทถ้าการจัดสรรสิทธินมโรงเรียน1/2563มีนมเกินมาอีก4-500ตันต่อวัน เชื่อว่าปัญหานี้ไม่จบอีก