หอการค้าไทยตั้งทีมศึกษาผลกระทบแบนสารพิษ

หอการค้าไทยตั้งทีมศึกษาผลกระทบแบนสารพิษ

หอการค้าไทยตั้งทีมศึกษาผลกระทบใช้” พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส“ แม้กก.วัตถุอันตรายยันห้ามใช้มีผลบังคับ 1 มิ.ย. อ้างโคเด็กซ์ยังไฟเขียวใช้ได้แต่กำหนดปริมาณการใช้

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้หอการค้าไทยได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาผลกระทบจากมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในการประกาศวัตถุอันตราย สารเคมีทางการเกษตรคือ พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ห้ามใช้ ห้ามครอบครอง) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ มิ.ย. 63 เพี่อนำความเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งผู้ประกอบการ เกษตรกร และผู้บริโภค เพื่อเสนอทางออกให้กับรัฐบาลพิจารณา เบื้องต้นแม้ว่าคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะมีมติแล้วแต่ก็อยากให้มีการผ่อนปรนเงื่อนไขเพื่อให้ทุกฝ่ายมีความพร้อม

158996966096

นายกลินท์ กล่าวว่า  ความเห็นส่วนตัวมองว่าปัจจุบันไทยและทั่วโลกมีมาตรฐานคณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือโคเด็กซ์ อยู่แล้ว ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วโลกยอมรับเกี่ยวกับสารตกค้างในสินค้าที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรไม่เกินเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามหากผลการศึกษาจากทุกฝ่ายออกมาอย่างไรหรือต้องการเสนอแนะทางออกเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ทางหอการค้าไทยก็จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาทางออกอีกครั้งเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีเวลาปรับตัวเพราะที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิดปัญหาการระบาดโควิด-19 ภาคเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้หารือกับเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง

             

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้สภาหอฯได้ทำหนังสือถึงนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศ ในการกำหนดให้ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4  จากเดิมที่จะมีผลคับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 63นี้ ให้ขยายเป็นบังคับใช้วันที่ 31 ธ.ค. 63 เนื่องจากปัจจุบันรายละเอียดต่างๆไม่ชัดเจนมากนัก ประกอบกับผู้ประกอบการและเกษตรกรก็ยังไม่มีความพร้อม ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 เพราะหากต้องมีค่ากำหนดสารตกค้างจากสารเคมีดังกล่าวเป็นศูนย์ จะมีผลทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต และเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารทั้งในประเทศ และเพื่อการส่งออก  ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็จะยิ่งซ้ำเติม ระบบเศรษฐกิจไทยและมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในช่วงวิกฤตนี้ด้วย

การยกเลิกห้ามนำเข้าสารดังกล่าวจะมีผลกระทบในวงกว้างเนื่องจากสารดังกล่าวใช้ในการเพาะปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบ สำหรับการแปรรูปทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์จำนวนมาก เช่น  ถั่วเหลือง ข้าวสาลีและแป้งข้าวสาลี กาแฟ โกโก้ เป็นต้นซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในการอุปโภคบริโภค ประกอบกับในปัจจุบันสินค้าอาหารสำเร็จรูปของประเทศไทยแม้ว่าจะวัตถุดิบดังกล่าวก็ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยทางอาหารอยู่แล้ว”

 อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 63 ที่ผ่านมา คณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ  รมว.อุตสาหกรรมเป็นปรานได้มีการประชุมและได้ลงมติเห็นชอบในร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ซึ่งเป็นการออกประกาศเพื่อกำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ตั้งแต่วันที่  1 มิ.ย.  63 เหมือนเดิม พร้อมทั้งให้ข้อสังเกตรวมทั้งข้อเสนอแนะในการดำเนินการต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กำหนดมาตรการที่ชัดเจน เพื่อให้มีผลกระทบต่อฝ่ายต่าง ๆ น้อยที่สุด