ใต้แสงเงา 44 ปี '6 ตุลา' รุ่งอรุณแห่งวันวิปโยค

ใต้แสงเงา 44 ปี '6 ตุลา' รุ่งอรุณแห่งวันวิปโยค

หมุดประวัติศาสตร์ทางการเมือง ที่มีความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย จนมาถึงวันครบรอบเหตุการณ์ "6 ตุลา 19"

ภายหลังจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวัย 65 ปีเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ..2519 ด้วยการบวชเป็น"สามเณร" กลายเป็นชนวนสำคัญ ถึงการเคลื่อนไหวคัดค้านจากขบวนการนักศึกษา บานปลายไปสู่การปิดล้อมสังหารผู้ชุมนุมในรุ่งอรุณเช้ามืดวันที่ 6 ตุลา 2519

เป็นอีกหนึ่งหมุดประวัติศาสตร์ทางการเมือง ที่หลายฝ่ายยังพูดถึงเหตุการณ์มีความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง ในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย จนมาถึงวันครบรอบเหตุการณ์ "6 ตุลา 19" ในช่วงที่สถานการณ์ชุมนุมขับไล่รัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังก่อตัวขยายวงกว้างก่อนถึงวันดีเดย์ชุมนุมใหญ่ 14 ตุลาคมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน

เมื่อกิจกรรม "44 ปี 6 ตุลา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดขึ้นตลอดวันที่ 1-11 ตุลาคม โดยมีไฮไลท์สำคัญช่วงวันที่ 4-6 ตุลาคม จะมีการฉายภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ เวทีเสวนา ไปจนถึงการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 19 รูป และจัดพิธีรำลึกวีรชนในช่วงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม ภายในลานสวนประติมากรรมประวัติศาสตร์หัวข้อ "ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย"

160198280680

กิจกรรมในช่วงเช้าเริ่มขึ้นเมื่อ "พลากร จิรโสภณ" อดีตประธานศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ปี 2516 อ่านรายชื่อผู้วายชนม์จากเหตุการณ์ 6 ตุลา จากนั้นผู้แทนองค์กรต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ญาติวีรชน 6 ตุลา คณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ สมาคมญาติ และวีรชน 14 ตุลา องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพรรคการเมือง ได้ร่วมวางพวงมาลา และดอกไม้ ที่ประติมานุสรณ์ “6 ตุลาคม 2519”

แต่ในโซนจัดแสดงที่มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก อยู่ที่นิทรรศการวัสดุและภาพถ่ายจาก "เหตุการณ์จริง" จัดขึ้นที่โถงทางเข้าหอประชุมใหญ่ โดยมีการแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ถูกเก็บรวบรวมโดยเฉพาะ "ประตูแดง" ประตูทางเข้าที่ดินแห่งหนึ่งใน.นครปฐม ซึ่งเป็นจุดแขวนคอ 2 พนักงานการไฟฟ้าในเช้าวันที่ 24 กันยายน โดยในจุดนี้ผู้จัดงานได้นำเทคโนโลยี "เออาร์" เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้นำแท็บเล็ต ฉายไปที่ประตูเพื่อแสดงภาพเงา 2 พนักงานการไฟฟ้าที่ถูกแขวนคอเสียชีวิต

160198287118

ไม่เพียงเท่านั้น คณะผู้จัดกิจกรรมยังนำ "ลำโพง" ที่ถูกใช้ปราศรัยในวันที่ 6 ตุลา ซึ่งมีสภาพถูกยิงด้วยกระสุนปืนเป็นรูพรุนนำมาจัดแสดงให้เห็นถึงจังหวะเหตุการณ์ระดมยิงจากเจ้าหน้าที่ในเช้าวันดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการนำเสื้อนักเรียนของ "จารุพงษ์ ทองสินธุ์" และกางเกงยีนส์ของ "ดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง" ผู้เสียชีวิต รวมถึงสมุดบันทึกของผู้เป็นพ่อที่เขียนเล่าความรู้สึกต่อการจากไปของบุตรชายนำมาจัดแสดง

160198291724

ที่สำคัญภายในงานยังมีการจัดแสดงภาพถ่ายรางวัล "พูลิตเซอร์" เมื่อปี ..1977 ผลงานช่างภาพสำนักข่าวเอพี "นีล อุลเลวิช" (Neal Ulevich) ถูกนำมาขยายใหญ่จากภาพนักศึกษาที่ถูกฆ่าแขวนคอใต้ต้นมะขามบริเวณท้องสนามหลวง กำลังถูกเก้าอี้เหล็กทุบตี จนเป็นอีกหนึ่งภาพทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ขณะที่เดียวกันยังมีการจำลอง "โรงหนัง 6 ตุลา" เพื่อฉายภาพยนตร์สั้นจำนวน 4 เรื่อง ประกอบด้วย "เสียงแห่งความเงียบ" "สองพี่น้อง" "พื้นที่ของความรุนแรง" และ "ด้วยความนับถือ"

160198296656

160198320396

"ลุงหมิง" วัย 66 ปีหนึ่งในขบวนการนักศึกษา ที่อยู่ในเหตุการณ์เช้าวันที่ 6 ตุลาคม เล่าเหตุการณ์สำคัญให้ "กรุงเทพธุรกิจ" ฟังว่า เช้าวันนั้นตัวเองทำหน้าที่เป็นการ์ดรักษาความปลอดภัยให้นักศึกษา โดยปักหลักอยู่ที่ด้านหน้าของประตูมหาวิทยาลัย ซึ่งตลอดทั้งคืนก็รู้ว่าจะมีการล้อมปราบในช่วงเช้ามืด จึงได้แจ้งให้นักศึกษาเข้าไปที่ด้านในให้มากที่สุด ซึ่งพบว่ามีแนวเจ้าหน้าที่มาทั้งหน้าประตูและฝั่งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ แต่แล้วก็มีระเบิด 2 ลูกที่ยิงเข้ามาในสนามฟุตบอล แต่มีอยู่หนึ่งลูกที่ด้านใช้การไม่ได้ และตัวเองก็ต้องถอยมาที่ตึกคณะวารสารศาสตร์

"แต่ลุงมาถูกยิงตอนใกล้ 7 โมงเช้าจากกระสุนปืนเอ็ม 16 และเอ็ม 79 แต่เพื่อนก็พาไปขึ้นเรือเพื่อข้ามฝั่งไปที่โรงพยาบาลศิริราช จนหมอผ่าตัดและรอดชีวิตมาได้"ลุงหมิงเล่าพร้อมแสดงบาดแผลที่เคยถูกยิงที่บริเวณช่องท้องในวันที่ 6 ตุลาคม

160198308861

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครอบรอบ 44 ปี "ลุงหมิง" บอกว่า ภาพที่ทุกคนได้เห็นชายคนหนึ่งถูกแขวนคอที่สนามหลวง และถูกรุมตีนั้นก็เป็นเพื่อนของตัวเอง ส่วนเหตุการณ์ที่ผ่านมายังเจ็บปวดถึงทุกวันนี้ ทั้งที่ตัวเองเพื่อเรียกร้องให้ประเทศเจริญก้าวหน้า แต่กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ทุกครั้งไม่ว่าการชุมนุมใดหากมีการล้อมปราบก็กังวลว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคมจะกลับมาอีกครั้ง การชุมนุมของกลุ่มเด็กๆ ตอนนี้เพราะเขารู้สึกว่าไม่เห็นอนาคตของตัวเอง แต่เชื่อว่าฝ่ายรัฐบาลคงจะไม่ยอมและจะยื้อสถานการณ์ต่อไป.

160198316399

160198316438

160198316688

160198317133

160198317560

160198317784

160198317939

160198318638

160198319150

160198319495

160198319537

160198319745