ประเมินราคาหุ้น ’บริหารสินทรัพย์ ฯ ‘ หลังแตกไลน์ธุรกิจในอนาคต
ข่าวใหม่การแตกไลน์ทางธุรกิจของ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM สร้างสตอรี่ใหม่ให้กับหุ้นในรอบนี้ได้มากทีเดียว เพราะถือว่าเป็นการเพิ่มขนาดธุรกิจ สามารถนำศักยภาพความสามารถที่มีอยู่มาสร้างรายได้อีกขา
ด้วยการทำธุรกิจตามทวงหนี้และนำสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจหลักของ BAM ดำเนินการบริหารจัดการหนี้ด้วยการซื้อหนี้เสีย (NPL) มาบริหาร เพื่อทำรายได้ซึ่งมีสัดส่วนมากสุด 70 %หากสามารถตามหนี้ได้ส่วนหนึ่งถือว่าได้กำไรเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เสียที่สถาบันการเงินจะเปิดมีการประมูลต่อครั้งจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการในประมูลซื้อหนี้จะไม่สูงแต่ต้องแบกรับความเสี่ยงว่าหนี้อาจจะเป็นศูนย์ได้ด้วยเหมือนกัน
โดยสินทรัพย์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในพอร์ตจะเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จึงทำให้มีสินทรัพย์รอการขาย (NPA)และสามารถ ทำรายได้ 30 % ซึ่งหากขายออกไปได้ทำเกิดกำไรบันทึกในอนาคตได้
ด้วยเม็ดเงินบริหารหนี้เสียสูงถึง 1 แสนล้านบาทจึงทำให้ BAM เป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมมีส่วนแบ่งการตลาด 47.3 % ทำให้ยิ่งเศรษฐกิจย่ำแย่มีโอกาสที่จะเข้าไปซื้อหนี้เสียมากขึ้นและรอบนี้วิกฤติไม่ได้เกิดจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจแต่มาจากโรคระบาด จึงทำให้น่าจะมีสินทรัพย์ที่ดีแต่ต้องขายให้ BAM ได้ช้อป
หากช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้น BAM กลับปรับตัวลงถึง 9% ในช่วง 1 และ 3 เดือนที่ผ่านมา จากผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2563 ที่ออกมาต่ำกว่าตลาดคาด จนทำให้ราคาที่ขึ้นไปด้วยความคาดหวังร่วงต่ำกว่า 20 บาท
โดยกำไรออกมา 136 ล้านบาท ลดลง 82% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และยังลดลง 81% จากไตรมาสก่อน โดยเป็นมาจากความสามารถลดลงในการเก็บหนี้เงินสดหรือดอกเบี้ยจาก NPL ลดลง จากทั้งดอกเบี้ยรับ 132 ล้านบาท จากเดิม 202 ล้านบาทและกำไรจากการซื้อที่ดิน 755 ล้านบาท จากเดิมเคยอยู่ที่ 1.58 พันล้านบาท
โดยมี NPL ที่ปรับโครงสร้างอยู่ที่ 8.2 พันล้านบาท เป็นที่มาของดอกเบี้ยรับที่ลดลง แต่ยังมีข่าวร้ายจากการปรับภาษีเงินได้รอตัดบัญชีลงจากเดิม 5.9 พันล้านบาท เป็น 5 พันล้านบาท จากการเปลี่ยนวิธีคำนวณตามมาตรฐานของกรมบังคับคดี
จนทำให้ผู้บริหารต้องเรียกความเชื่อมั่นว่าไตรมาสดังกล่าวผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และผลการดำเนินงานจะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 3 จากยอดขาย NPA ที่ดีขึ้นภายหลังการออกบูธจำหน่าย หลังกรมบังคับคดีกลับมาจัดการขายทอดตลอดได้อีกครั้ง
ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขายทรัพย์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และ NPAs ขนาดใหญ่ให้กับลูกค้า 2-3 ราย เพื่อคงเป้าหมายการซื้อหนี้เสียในปีนี้ที่ราว 10,000-12,000 ล้านบาท ซื้อหนี้เสียไปแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท
ส่วนธุรกิจใหม่คือการตามหนี้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2563-2567) หนึ่งในการวางกลยุทธ์ธุรกิจ จับมือธนาคารพาณิชย์ร่วมทุนช่วยกันบริหารจัดการหนี้เสีย รวมทั้งการเป็นโบรกเกอร์หรือรับรู้รายได้จากค่าธรรมเนียม ( Fee) การประเมินราคาและการตีราคาทรัพย์ และร่วมทุนกับพันธมิตร (JV) โดยจับมือกับบริษัทอสังหาฯร่วมพัฒนาโครงการ
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)เคทีบี (ประเทศไทย) มองเป็นข่าวบวกจากโอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ประเมินและตีมูลค่าราคาหลักประกัน คาดว่าจะช่วยหนุนผลการดำเนินงานในระยะยาว จากรายได้ค่านายหน้าที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจะไม่เพิ่มขึ้นสูงมาก เพราะบริษัทมีความเชี่ยวชาญ และ/หรือ มีผู้ประเมินเป็นของบริษัทเอง
อย่างไรก็ตาม คาดว่าบริษัทจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 3 ปี เพื่อที่จะทำให้รายได้ค่านายหน้าเพิ่มขึ้นสูงอย่างมีนัย เนื่องจากประเมินว่าค่าบริการในการประเมินทรัพย์ที่อยู่อาศัยอยู่ที่ประมาณ 3-6 พันบาท/รายการ
นอกจากนี้ การจับมือ JV กับผู้ประกอบการ Property นั้น ประเมินว่ามีความเป็นไปได้จากการที่ BAM มีทรัพย์เป็นที่ดินแปลงใหญ่ มีโอกาสที่บริษัท Property จะนำที่ดินมาพัฒนาต่อเนื่องได้ แต่การจับมือ JV กับธนาคารโอกาสเกิดขึ้นต่ำ เพราะธุรกิจ JV ยังใกล้เคียงกับธุรกิจเดิม
ทั้งนี้ ประเมินว่าผลการดำเนินงานได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2/2563 แล้วจากสถานการณ์กรมบังคับคดีที่ดีขึ้น, ยอดขาย NPA ที่ดีขึ้นภายหลังการออกบูธจำหน่ายได้และมีเสียงตอบรับที่ดี และคาดว่าจะต่อเนื่องไปไตรมาส 4/2563 จากลูกหนี้ที่ขอรับการช่วยเหลือกลับมาชำระได้ตามสัญญาในเดือน ก.ย. เบื้องต้นประเมินกำไรสุทธิปี 2563/2564 ที่ 2.32 และ 4.67 พันล้านบาท (-65% YoY / +101% YoY) ยังไม่รวมรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นจากการรับรู้ DTA ไม่เกิน 2.5 พันล้านบาท จากทั้งหมด 4.9 พันล้านบาทในครึ่งปีหลัง (H2/63) พร้อมให้ราคาเป้าหมาย 25.00 บาท อิง 2564 PBV 2.0x