'วันรัฐธรรมนูญ' 10 ธันวาคม ย้อนดู 'รัฐธรรมนูญ' ของไทยฉบับแรก 2475

'วันรัฐธรรมนูญ' 10 ธันวาคม ย้อนดู 'รัฐธรรมนูญ' ของไทยฉบับแรก 2475

"วันรัฐธรรมนูญ" 10 ธันวาคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมี "รัฐธรรมนูญ" รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ นับรวมทั้งฉบับชั่วคราวและฉบับร่าง มีเรื่องอะไรอีกบ้าง? ที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี นับเป็น วันรัฐธรรมนูญไทย สิ่งสำคัญที่สุดที่ใช้การปกครองประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับด้วยกัน ซึ่งนับรวมทั้งฉบับชั่วคราวและฉบับร่าง

โดยจุดพลิกผัน ของการมีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศคือเหตุการณ์ "วันอภิวัฒน์สยาม" การเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนย้อนรอยดู "รัฐธรรมนูญ" ฉบับแรกของไทยในปี 2475 และความเป็นมาสู่วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคมนี้

160743526180

  • รัฐธรรมนูญไทยฉบับแรก 

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม .. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย พระองค์ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งโปรดกล้าฯ ให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภา ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ นับเป็นรัฐธรรมนูญ "ฉบับแรก" ที่ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

แต่ก่อนหน้านั้น หากนับรัฐธรรมนูญฉบับแรกจริงๆ ของประเทศไทยนั้น ในวันที่ วันที่ 27 มิถุนายน 2475 ถือเป็นวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย คือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว .. 2475” ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองรัฐ หลังจากที่คณะราษฎรทำการอภิวัติน์การปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

แม้จะใช้ชื่อว่าพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว .. 2475” แต่ก็มีสถานะเป็นรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการบัญญัติคำว่ารัฐธรรมนูญเพื่อใช้แทนคำว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

160743550417

  • รัฐธรรมนูญในช่วงแรกของไทยหลัง "อภิวัฒน์สยาม" 

"ประชาธิปไตย" สำหรับสยามนั้น ถูกมอบให้แก่ประชาชนในรูปของการผ่อน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วง ได้แก่ 

ช่วงแรก : สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจะถูกแต่งตั้งโดยสี่ทหารเสือเท่านั้น (ซึ่งเป็นฝ่ายทหาร) สมาชิกรัฐสภาเหล่านี้จะใช้อำนาจแทนประชาชน และสมัยแรกมีกำหนดวาระการทำงานไว้ 6 เดือน

ช่วงที่สอง : เป็นช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับหลักประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง รัฐสภาถูกเปลี่ยนให้ต้องประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่กึ่งหนึ่ง และอีกกึ่งหนึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาตามแบบประชาธิปไตยทางอ้อม แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะต้องได้รับการตรวจสอบจากคณะราษฎรก่อนการเลือกตั้งทุกครั้ง

ช่วงที่สาม : พระราชบัญญัติธรรมนูญบัญญัติว่าการเป็นตัวแทนประชาธิปไตยเต็มตัวในรัฐสภานั้นจะบรรลุได้เฉพาะเมื่อเวลาผ่านไปแล้วสิบปีหรือประชากรมากกว่ากึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาเกินกว่าระดับประถมศึกษา แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดก่อน

160743551967

  • สรุปสาระสำคัญ "รัฐธรรมนูญ" ยุคเริ่มต้น 

โดยเนื้อหาสาระมีเพียงแค่ 39 มาตรา ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบไปด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 279 มาตรา มาตราที่ถือเป็นใจความสำคัญได้แก่

มาตรา 1” อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย

มาตรา 2” ให้มีประธานและคณะบุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ

1. กษัตริย์

2. สภาผู้แทนราษฎร

3. คณะกรรมการราษฎร

4. ศาล

รวมถึงการเกิดสถาบันใหม่สองสถาบัน ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการราษฎร สภานั้นก็จะเป็นอำนาจนิติบัญญัติที่สมาชิกสภาจะมาจากการเลือกตั้งของราษฎร แต่ชุดแรกนั้นมาจากการแต่งตั้งจำนวน 70 คน ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ให้ราษฎรมีความเสมอภาคกันเปิดโอกาสให้เพศชายและหญิงมีสิทธิเท่ากันในการออกเสียงเลือกตั้ง

... ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฯ นี้ ใช้เป็นกติกาในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองหลังวันที่ 24 มิถุนายน .. 2475 และถูกบังคับใช้จนถึงวันที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ลงวันที่ 10 ธันวาคม .. 2475 ที่ต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

-------------------

อ้างอิง : 

24 มิถุนายน พ.ศ. 2475, www.bbc.com, www.the101.world