เร่งสอบกว่า 100 รายทั้งไทย-เมียนมาหาต้นตอโควิดสมุทรสาคร

เร่งสอบกว่า 100 รายทั้งไทย-เมียนมาหาต้นตอโควิดสมุทรสาคร

สมุทรสาครเร่งสอบประวัติ 165 รายทั้งคนไทย-เมียนมา หาต้นตอเจ้าของแพปลาติดเชื้อ เน้นกลุ่มผู้เคยป่วยอาการทางเดินหายใจ นำตรวจหาเชื้อ-ภูมิคุ้มกัน

       เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค(คร) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงผลการสอบสวนโรคเบื้องต้นผู้ป่วยโควิด-19 เพศหญิงสัญชาติไทย อายุ 67 ปี อาชีพค้าขาย จ.สมุทรสาครว่า จากการติดตามของทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)สมุทรสาคร รพ.สมุทรสาคร และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี เบื้องต้นมีผู้สัมผัสรวม 165 ราย เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 26 ราย คือ
         กลุ่มที่ 1. ในครอบครัว 7 ราย ไม่พบเชื้อ 4 ราย และพบเชื้อ 3 ราย เป็นมารดา(ผู้ป่วยติดเตียง) อายุ 95 ปี พี่สาวคนโต อายุ 73 ปี และน้องสะใภ้ 57 ปี  กลุ่มที่ 2คนทำงานร่วมในแพปลา 3 ราย ลูกชายคนที่ 1 อายุ 39 ปี ไม่พบเชื้อ และแรงงานเมียนมา 2 ราย อยู่ระหว่างรอผล กลุ่มที่ 3 บุคลากรในรพ.เอกชน 8 ราย ตรวจครั้งที่ 1 ไม่พบเชื้อ และกลุ่มที่ 4 แรงงานในคลาดกุ้ง 8 ราย  อยู่ระหว่างรอผล เป็นคนสัญชาติไทย 3 ราย สัญชาตเมียนมา 4 ราย และสัญชาติอื่น 1 ราย ทั้งหมดต้องมีการเฝ้าระวังต่อจนครบ 14 วัน และผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำอีก 139 ราย เป็นแรงในตลาดกุ้ง 139 ราย เป็นคนสัญชาตไทย 14 ราย และสัญชาติ 125 ราย อยู่ระหว่างรอผล  อย่างไรก็ตาม มีการขยายวงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้นจึงมีการตรวจหาเชื้อในแรงงานในตลาดทะเลไทยด้วยอยู่ระหว่างดำเนินการ
     “มีการสอบสวนโรคเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รายละเอียดมากขึ้นก่อนที่จะมีระบุถึงต้นตอที่หญิง อายุ 67 ปีติดเชื้อ  เนื่องจากผู้ป่วยให้ประวัติว่าไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ แน่นอนจะต้องเป็นการติดเชื้อจากผู้ติดเชื้อรายก่อนหน้า ซึ่งจะมีการซักประวัติการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสเบื้องต้นทั้งเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำรวม 165 ราย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องอาการในระบบทางเดินหายใจ จากนั้นจะมีการตรวจหาเชื้อว่าติดเชื้อหรือไม่ รวมถึง การตรวจภูมิคุ้มกันที่จะระบุว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างเริงดำเนินการ ”นพ.โสภณกล่าว
160827469536
     นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า มาตรการในการควบคุมโรค วิธีการค้นหา ตีวง เฝ้าระวัง สื่อสาร สร้างความร่วมมือ โดย 1.ค้นหาผู้ติดเชื้อในตลาดที่พบผู้ป่วย และตลาดอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน หอพักที่มีผู้ป่วยและแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่เรียงลำดับ ดังนี้  ตลาดกลางค้ากุ้ง ตลาดทะเลไทย หอพักศรีเมือง และสถานที่เพิ่มเติมอื่นๆ 2.สื่อสารประชาสัมพันธ์ เน้นย้ำมาตรการป้องกันส่วนบุคคคล เน้นการสวมหน้ากากอนามัย 100 % หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชน และการเดินทางในช่วง 1-2 สัปดาห์ สังเกตอาการทางเดินหายใจและตามเกณฑ์การเฝ้าระวังโดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติไปตลาด
        3.เฝ้าระวัง โดยตรวจผู้ป่วยที่มารักษาด้วยอาการป่วยทางเดินหายใจทุกราย และทุกรพ.ทั้งรัฐและเอกชนในจ.สมุทรสาคร และจังหวัดใกล้เคียงและทำหนังสือแจ้ง โรงพยาบาล คลินิก และร้านขายยา ให้เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจและส่งต่อเพื่อตรวจหาเชื้อ และ4.ทุกภาคส่วนจัดทำมาตรการในพื้นที่ตนเอง โดยเฉพาะตลาด ให้มีการทำความสะอาดทุกตลาด ลดความหนาแน่นของตลาด และมาตรการคัดกรองก่อนเข้าตลาด เว้นระยะห่าง จัดที่ล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์ สแกนไทยชนะ และทำความสะอากพื้นผิว รวมถึง ตรวจสอบปริมาณคลอรีน ในน้ำประปาทั้งต้นทางและปลายท่อให้ได้ตามมาตรฐาน
      นพ.โอภาส  การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า การพบผู้ติดเชื้อทั้ง 4 รายที่จ.สมุทรสาคร ได้รับการรักษาพยาบาลอยู่ในรพ.และได้รับยาแล้ว ทั้งหมดอาการยังไม่หนัก ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้สั่งการให้คนในจังหวัดมีการใส่หน้ากากอนามัย หากไม่ใส่จะมีการจ ปรับ สูงสุด 20,000 บาท  อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีกรณีคนไทยติดเชื้อที่อ.แม่สอด และเกี่ยวข้องกับจ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา และอ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์สามารถควบคุมสถานการณ์ได้  เพราะฉะนั้น เหตุการณ์ที่จ.สมุทรสาคร ถ้าประชาชนให้ความร่วมมืออย่างเข้มแข็งก็จะสามารถคุมสถานการณ์ได้
160827477744