'ผลไม้ไทย' ยังมีอนาคต ในตลาดต่างประเทศ

'ผลไม้ไทย' ยังมีอนาคต ในตลาดต่างประเทศ

ผลไม้ไทยยึดตลาดต่างประเทศต่อเนื่อง แม้สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ยังคงอยู่ เผย อนาคตสดใส ระดมส่งเสริมมาตราการความเชื่อมั่นการผลิตที่ดี มีคุณภาพต่อเนื่อ

ระบุ ปี 65 ไทยจะใช้มาตราการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสกัดผลไม้สวมแปลง ทั้งแปลงปลูกและตลาดรับซื้อเพื่อส่งออก ควบคู่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ คาดยุคสังคมผู้สูงวัยผลผลิตเป็นที่ต้องการสูง และรองรับตลาดแปรรูปเครื่องสำอางสำหรับประทินโฉม

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก. 3 จ.ระยอง ) เปิดเผยว่า การบริหารจัดการผลไม้ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ในต่างประเทศที่ประเทศไทยจะค้าขายผลไม้ได้มีหลายอย่าง นับตั้งแต่ เงาะ ลองกอง มังคุด และหนึ่งในนั้นที่ค่อนข้างโดดเด่นก็คือทุเรียน ที่ปัจจุบันได้ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีน โดยปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศจีนนำเข้าทุเรียนมากกว่าเชอรี่ ซึ่งผลไม้ไทยนับว่ายังมีแนวโน้มเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ สถานการณ์โลกโดยเฉพาะ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และการเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยที่เข้ามาส่งผลให้ผู้บริโภคต้องการอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น

“ก็ขอฝากพี่น้องเกษตรกรชาวสวนในฐานะที่เป็นผู้ผลิตโดยตรง และเป็นปัจจัยแรกของวงจรการผลิตและการค้าขายผลไม้ไทยในต่างประเทศ จะต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดยเฉพาะมาตรฐานของ GAP เป็นขั้นพื้นฐาน ถ้าขยับเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ก็ขอให้ขยับขึ้นไป เพราะสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในปัจจุบันนับเป็นอนาคตที่โลกต้องการ เนื่องจากสามารถแปรสภาพ แปรรูป ไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มได้หลายอย่าง และเมื่อสังคมโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อาหารเพื่อสุขภาพยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น” นายปิยะ สมัครพงศ์ กล่าว

162435039462

ผอ.สสก.3 จ.ระยอง เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ในปัจจุบันมีการนำพืชอาหารประเภทผลไม้มาแปรรูปเป็นยารักษาโรค ไปจนถึงแปรรูปเป็นเครื่องสำอางสำหรับประทินโฉม สิ่งเหล่านี้ได้ใช้วัตถุดิบที่มาจากเกษตรอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตจึงจำต้องตระหนักและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการทำการผลิตภาคการเกษตร ซึ่ง GAP สำคัญที่สุดเพราะยังไงต้อง 100% ในเรื่องของมาตรฐานในการส่งออก

ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกผลไม้ที่เพิ่มขึ้นภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการขยายตัวของการส่งออกผลไม้ไทย เนื่องจากภายใต้เอฟทีเอที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู และฮ่องกงได้ยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรของการนำเข้าสินค้าผลไม้สด ผลไม้แช่แข็งและผลไม้แห้งจากไทยแล้วขณะนี้ จึงเหลือเพียงบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สปป. ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ที่ยังเก็บภาษีศุลกากรการนำเข้าผลไม้บางชนิดจากไทย เช่น ญี่ปุ่นเก็บภาษีส้มในอัตรา 4% เกาหลีใต้เก็บภาษีมะม่วง 24% ทุเรียน 36% อินเดียเก็บภาษีส้ม 5% มาเลเซีย กัมพูชา และ สปป. ลาวเก็บภาษีมะม่วง มังคุด ทุเรียน ในอัตรา 5% เป็นต้น และสินค้าผลไม้ถือเป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยขอใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอ ในการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ

1624350411100

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าผลไม้ จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ส่งออกไปต่างประเทศ พร้อมป้องกันการถูกระงับการส่งออกของโรงคัดบรรจุ และแปลงเกษตรกรที่ถูกสวมสิทธิ์ในแปลงที่ตรวจพบศัตรูพืชควบคุมนั้น เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า จะมีการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับด้วยการใช้ใบรับรอง GAP รวมทั้งรองรับ ระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) ซึ่งคาดว่ามาตราการนี้พื้นที่ภาคตะวันออกจะเริ่มใช้ในฤดูกาลผลิตปี 2565

“แนวทางและมาตราการในการดำเนินการ ภายใต้การมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลผลิตผลไม้ของไทยในปัจจุบัน สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกสถานการณ์และได้ราคาดี” นายปิยะ สมัครพงศ์ กล่าว

162435042455