"กฎของมัวร์" กับการรับมืออนาคตข้อมูลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
นาตาลยา มากาโรชกีนา รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการระหว่างประเทศ ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เขียนบทความ "ตามกฎของมัวร์ เรื่องความยั่งยืน และศูนย์ข้อมูล ซอฟต์แวร์จะรับมือกับอนาคตข้อมูลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วได้อย่างไร" ดังนี้
หลักการสำคัญในการพัฒนาไอทีตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา เป็นไปตาม กฎของมัวร์ ที่คาดการณ์ว่า เมื่อการพัฒนายังคงเดินหน้าต่อไป ปริมาณส่วนประกอบของ ทรานซิสเตอร์ ในโปรเซสเซอร์จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก 2 ปี
แม้ว่าหลายคาดการณ์จะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม แต่หลักการนี้ยังคงชี้นำอยู่ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนไม่ค่อยรู้กันก็คือ แนวโน้มในหลักการที่ว่ายังคงใช้ได้กับส่วนที่เป็นศูนย์ข้อมูล ถึงแม้การประมวลผลข้อมูลเพิ่มขึ้น 6 เท่า ตั้งแต่ปี 2010 แต่การใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลกลับเพิ่มขึ้นเพียง 6% ในปี 2018 (Masanet et al, 2020) เรื่องนี้เป็นไปได้อย่างไร และบอกอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคต
องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยขยายประสิทธิภาพได้อย่างไม่สิ้นสุดคือ การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัด การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมและประสานการทำงานได้ดีขึ้น โดย DeepMind AI ของ Google ได้แสดงให้เห็นว่า การใช้พลังงานในการทำความเย็นที่ศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งลดลงไปประมาณ 40% ในปี 2016 ซึ่งทำให้การใช้พลังงานโดยรวมลดลงถึง 15% นับเป็นความสำเร็จในการนำข้อมูลในอดีตจากเซนเซอร์ของศูนย์ข้อมูล เช่น อุณหภูมิ พลังงาน ความเร็วของปั๊ม ค่าที่ตั้งไว้ ฯลฯ มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล โดยระบบ AI ทำหน้าที่คาดการณ์อุณหภูมิและความดันในอนาคตของศูนย์ข้อมูลในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า และให้คำแนะนำเพื่อควบคุมการใช้งานได้อย่างเหมาะสม
การพัฒนาระบบการจัดการโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล (DCIM) ยังคงเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการผสานรวม AI เพื่อใช้ประโยชน์จากการพัฒนาฮาร์ดแวร์และโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด โดยการทดสอบเหล่านี้กลายเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้มองเห็นและควบคุมการทำงานได้ดีสำหรับผู้ที่ออกแบบเพื่อการพัฒนาใหม่ๆ เช่น ซอฟต์แวร์ ETAP ช่วยให้ออกแบบเรื่องประสิทธิภาพการด้านพลังงานได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ในขณะเดียวกันก็รองรับสถาปัตยกรรมไมโครกริดด้วย
แหล่งข้อมูลใหม่ส่วนใดที่จะมีส่วนในเรื่องนี้?
คาดกันว่า ข้อมูลจะยังคงขยายตัวรวดเร็วยิ่งขึ้นจากการพัฒนาเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ เช่น IoT สำหรับอุตสาหกรรม 5G พร้อมด้วยระบบอัตโนมัติทั่วไปและยานพาหนะอัตโนมัติซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อน โดยข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นไกลจากโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ ซึ่งต้องมีการจัดการ ประมวลผล และแปลงเป็นข้อมูลอัจฉริยะอย่างรวดเร็วในส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งาน โดยคาดว่า สถาปัตยกรรมข้อมูลแบบใหม่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลทั้งหมด ซึ่ง Edge Computing ถูกมองว่า เป็นวิธีการหลักในการจัดการข้อมูลปริมาณมากที่ถูกสร้างขึ้นที่ Edge
หนึ่งในตัวอย่างคือ การวิจัยด้านจีโนมิกส์ที่ทำให้เกิดปริมาณข้อมูลหลายเทราไบต์ในแต่ละวัน การส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังศูนย์ข้อมูลส่วนกลางอาจจะช้า ต้องใช้แบนด์วิดท์สูง และไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสถาบัน Wellcome Sanger Institute ได้สร้างแนวทางการประมวลผลที่เอดจ์ ช่วยให้ประมวลผลข้อมูลได้ใกล้กับจุดที่สร้างข้อมูล จีโนม ซีเควนเซอร์ โดยมีเพียงส่วนที่จำเป็นเท่านั้นที่จะอยู่ที่ส่วนกลาง ทำให้ช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บแบนด์วิดท์ และเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นความรู้ได้ในเวลารวดเร็ว นั่นคือแนวทางเรื่องเอดจ์ที่ Simon Binley ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลของ Sanger Institute ได้กล่าวเอาไว้
ศูนย์ข้อมูลแบบโมดูลาร์ ศูนย์ข้อมูลขนาดเล็ก และการบริหารจัดการสตอเรจที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยรับมือกับกระแสที่กำลังพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลได้อย่างราบรื่นกระทั่งในอนาคต โดยในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ (MENA region) นั้น เทคโนโลยี 5G และการรวมศูนย์ด้วยสถาปัตยกรรมเอดจ์จะสมดุลได้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับไฮเปอร์สเกลที่เชื่อมโยงกับศูนย์กลางที่เป็น demand center หลักมากขึ้น
เรื่องนี้จะส่งผลอย่างไรต่อระบบนิเวศข้อมูลทั้งหมด?
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องขยายเรื่องของประสิทธิภาพไปสู่วงกว้าง ไม่ใช่แค่ในส่วนซัพพลายเชนเท่านั้น แต่รวมถึงวงจรชีวิตทั้งหมด โดยทั้งผู้ขาย ซัพพลายเออร์ และพันธมิตรทั้งหมดต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนใดในระบบนิเวศถูกทิ้งให้ล้าหลังในเรื่องของเครื่องมือที่ช่วยให้มั่นใจเรื่องประสิทธิภาพ ซึ่งเรื่องนี้นำไปประยุกต์ใช้กับเวลาในการออกแบบอุปกรณ์และการทำงาน ในส่วนชีวิตการทำงานก็เช่นกัน รวมไปถึงการเลิกใช้งาน การทำความเข้าใจว่า ระบบนิเวศของธุรกิจทั้งหมดส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างแท้จริง
มาตรฐาน ความโปร่งใส สามารถวัดผลได้ เหล่านี้คือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้มั่นใจในผลลัพธ์
ทั่วทุกภูมิภาคกำลังพิจารณาถึงองค์ประกอบเหล่านี้ พร้อมทั้งกำลังพยายามอย่างมากในการทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ปัจจุบันเรื่องความโปร่งใสได้รับการยอมรับและตอบรับมากขึ้น หลายองค์กรมีการรายงานถึงความคืบหน้าในเรื่องนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ
การใช้เครื่องมือและกระบวนการร่วมกัน
ภาคศูนย์ข้อมูลยังเอื้อประโยชน์หลายอย่างต่อองค์กรและอุตสาหกรรมที่กำลังมุ่งไปบนเส้นทางแห่งความยั่งยืน เพื่อให้ให้เกิดการหมุนเวียนมากขึ้น ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพ ผสานรวมเครื่องมือและความรอบรู้ในการดำเนินงาน รวมถึงความมุ่งมั่นอย่างจริงจังต่อเป้าหมายที่หนักแน่นในการดำเนินการด้าน Net Zero ทำให้ภาคศูนย์ข้อมูล นอกจากจะต้องรับมือกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของข้อมูล และความต้องการด้านดิจิทัลของโลกแล้ว ยังต้องรับมือกับเรื่องนี้ได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งต้องมอบเครื่องมือและมุมมองเชิงลึกแก่ภาคส่วนอื่นๆ เพื่อให้ดำเนินการได้ในลักษณะเดียวกันด้วย
สำหรับข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เข้าไปดูได้ที่ Cloud and Service Provider กับ Data centers of the Future