'ธนบัตร' ปลอดภัยแค่ไหน? ในวิกฤติ ‘COVID-19’

'ธนบัตร' ปลอดภัยแค่ไหน? ในวิกฤติ ‘COVID-19’

ธนบัตรในมือเราปลอดภัยแค่ไหน ในภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ "ไวรัสโคโรน่า2019" (COVID-19) หลังจากหลายประเทศทั่วโลกวิตกหนัก เริ่มเลี่ยงการสัมผัสธนบัตร

ในช่วงเวลานี้ที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือโรคโควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วโลกเกินกว่า 80 ประเทศแล้ว แน่นอนว่าแต่ละหน่วยงานจะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน

อย่างล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย” ก็ประกาศหยุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นการชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด (ลูกค้ายังสามารถแลกเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามปกติ) 

โดยการประกาศหยุดแลกเปลี่ยนนี้ครอบคลุมทั้งสาขา และสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX Booth) ทั่วประเทศ โดยเริ่มมีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ขณะที่ระยะเวลาของการหยุดให้บริการ ระบุไว้ว่า จนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

หรือก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ไชน่า ซีเคียวริตี้ เจอร์นัล ก็ออกรายงานมาว่า คณะกรรมการกำกับดูแลธนาคารและประกันภัยแห่งชาติจีน (CBIRC) มีการสั่งการให้ธนาคารต่างๆ ฆ่าเชื้อธนบัตรทั้งหมด และเก็บธนบัตรที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วไว้ในที่แห้งเป็นเวลาอีก 7 วัน

รวมถึงพิพิธภัณฑ์ชื่อดังและยอดนิยมในกรุงปารีสอย่าง "พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์" ก็ออกมาตรการงดรับเงินสดในการซื้อตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน หรือกรณีที่ คริสเตียน ลินด์เมเออร์ โฆษกองค์การอนามัยโลก (WHOแถลงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการหยิบจับ หรือสัมผัสบัตรและเหรียญเพื่อซื้อสินค้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนมืออย่างรวดเร็ว และอาจมีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียติดอยู่เป็นเวลาหลายวัน และแนะให้เปลี่ยนไปใช้จ่ายเงินออนไลน์หรือผ่านบัตรเครดิตแทน

ขณะที่ประเทศไทยเอง ก็กังวลเรื่องเชื้อไวรัสบนธนบัตรเช่นเดียวกัน ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงเพิ่มธนบัตรใหม่ ชนิดราคา 500 บาท แบบปัจจุบันที่มีสภาพใหม่ ยังไม่เคยผ่านการหมุนเวียนในระบบ กระจายให้กับธนาคารพาณิชย์ ทั้งเพื่อรองรับความต้องการของประชาชน และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลก ทำให้หลายคนเริ่มวิตกว่า ธนบัตรที่ถืออยู่ในมือ หรือใช้จ่ายนั้น ปลอดภัย สะอาดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือไม่?

เพื่อคลายความสงสัยกรุงเทพธุรกิจออนไลน์จึงรวบรวมข้อมูลมาตอบข้อสงสัยเพื่อคลายความกังวลนี้

เริ่มต้นที่  “ร.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊ค "อ๋อ มันอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์" ตอบคำถามเรื่องเชื้อโคโรน่าไวรัส อยู่บนธนบัตรได้นาน 9 วัน จริงหรือ? ไว้ว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 จะอยู่บนธนบัตรได้นานกี่วัน โดยในโพสต์นี้ยังระบุอีกว่า มีเพียงข้อมูลจากเชื้อที่ใกล้เคียงกัน อย่างเชื้อไวัรสโรค SARS และ MERS ที่พบว่าอยู่บนพื้นผิวต่างๆ เช่น โลหะ แก้ว และพลาสติก ได้นานหลายวันจนอาจถึง 9 วัน ขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีชีวิตบนพื้นผิวได้เพียง 48 ชั่วโมง

แล้วมาตรการของแบงก์ชาติ มีวิธีการดูแลธนบัตรเหล่านี้อย่างไร ในภาวะวิกฤติ?

ด้านเพจเฟซบุ๊คธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์สมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธปท. ที่ให้สัมภาษณ์กับ จส.100 โดยเล่าถึงเส้นทางของธนบัตรในระบบว่า เวลาที่ประชาชนเอาธนบัตรไปฝากที่ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารพาณิชย์จะรวบรวมได้จำนวนหนึ่ง และจะนำมาฝากต่อที่แบงก์ชาติ หากเป็นธนบัตรที่เก่ามากๆ ธนบัตรเหล่านั้นจะถูกปล่อยเข้าสู่กระบวนการการทำลายอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรที่ยังคงคุณภาพดี สะอาด หรือยังมีความแกร่งของเนื้อกระดาษอยู่ แบงก์ชาติจะเก็บรวบรวม โดยอยู่ในระบบนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะส่งออกไป ขณะเดียวกันก็ยังมีการผลิตธนบัตรใหม่ๆ ออกมาด้วย

เชื้อโรคโควิด-19 เวลาที่อยู่บนผิวสัมผัส เช่น กระดาษ และพลาสติก กว่าเชื้อจะตายใช้เวลาแตกต่างกัน หากเชื้อโรคอยู่บนผิว เช่น พลาสติก เชื้อโรคอยู่ได้ถึง 9 วัน แต่ถ้าเป็นผิวกระดาษ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิห้องจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 5 วัน ดังนั้นถ้าธนบัตรหมุนเวียนเข้ามาอยู่ในแบงก์ชาติ และแบงก์ชาติมีเวลา 14 วันกว่าจะส่งออกไป เชื้อก็น่าจะตายไปแล้ว

สมบูรณ์กล่าวอีกว่า มีบทวิจัยเชิงวิชาการวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจว่า เชื้อโรคโควิด-19 เวลาที่อยู่บนผิวสัมผัส เช่น กระดาษ และพลาสติก กว่าเชื้อจะตายใช้เวลาแตกต่างกัน หากเชื้อโรคอยู่บนผิว เช่น พลาสติก เชื้อโรคอยู่ได้ถึง 9 วัน แต่ถ้าเป็นผิวกระดาษ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิห้องจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 5 วัน ดังนั้นถ้าธนบัตรหมุนเวียนเข้ามาอยู่ในแบงก์ชาติ และแบงก์ชาติมีเวลา 14 วันกว่าจะส่งออกไป เชื้อก็น่าจะตายไปแล้ว

ทั้งนี้หากต้องการฆ่าเชื้อก็สามารถเอาไปตากแดดได้ ส่วนที่มีคนถามว่าจะใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อธนบัตรได้หรือไม่ สามารถทำได้ถ้าทำไหว และแนะนำว่าอย่าไม่พับหรือกรีดแรงๆ เพราะตรงรอยพับจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคได้ง่าย และถ้ารู้สึกว่าธนบัตรค่อนข้างสกปรกแล้ว ให้นำไปฝากธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำฝากแบงก์ชาติ และแบงก์ชาติก็จะนำเข้าสู่กระบวนการต่อไป

แนะนำว่าอย่าไม่พับหรือกรีดแรงๆ เพราะตรงรอยพับจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคได้ง่าย และถ้ารู้สึกว่าธนบัตรค่อนข้างสกปรกแล้ว ให้นำไปฝากธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำฝากแบงก์ชาติ และแบงก์ชาติก็จะนำเข้าสู่กระบวนการต่อไป

อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองเบื้องต้น นับเป็นหยทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ในระดับแรก สิ่งสำคัญคือการล้างมือบ่อยๆ กินอาหารร้อน และใช้ช้อนกลาง รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือคนพลุกพล่าน

ที่มา : bangkokbiznews(1)thansettakij, bangkokbiznews(2), bangkokbiznews(3)bangkokbiznews(4)facebook.com/OhISeebyAjarnJessyoutube