ภูเก็ต ยกระดับ ปิดรอยต่อ ระหว่าง 'ตำบลทุกตำบล' ตั้งแต่ 13-26 เม.ย.
ภูเก็ต เตรียมยกระดับ ปิดรอยต่อ ระหว่าง "ตำบลทุกตำบล" ตั้งแต่ 13-26 เม.ย. ฝ่าฝืนมีโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในฐานะผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ออกคําสั่งจังหวัดภูเก็ต เรื่อง ปิดสถานที่และกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต โดยให้ปิดพื้นที่รอยต่อระหว่างตําบลทุกตําบล เพื่อควบคุมให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลและ ยานพาหนะให้น้อยที่สุดตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ยกเว้นบุคคลที่มี ความจําเป็นเพื่อการพบแพทย์ การรักษาพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่แพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทาง การแพทย์ โทรคมนาคมและไปรษณีย์ หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของทางราชการ หรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ที่จําเป็นต้องปฏิบัติงานเพื่อให้บริการประชาชน หรือบุคคลทั่วไปที่ มีเหตุจําเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องเดินทางโดยต้องได้รับอนุญาตจากนายอําเภอหรือผู้ที่นายอําเภอมอบหมาย และยกเว้นยานพาหนะเพื่อการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์โทรคมนาคม แก๊สหุงต้ม น้ํามันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ ยานพาหนะกู้ชีพ กู้ภัย รถพยาบาล รถฉุกเฉินทางการแพทย์ รถที่ใช้สําหรับภารกิจของทางราชการ รถขนส่งพัสดุและสิ่งพิมพ์
ขณะเดียวกันได้สั่งการให้นายอําเภอเป็นผู้มีอํานาจในการกําหนดจุดตรวจคัดกรองภายในเขตพื้นที่ โดยให้ หารือร่วมกับผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธร ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่
คำสั่งดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 เมษายน 2563 ถึงเวลา 23.59 น. ของวันที่ 26 เมษายน 2563 (รวมทั้งสิ้น 14 วัน) หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
นอกจากนี้ยังสั่งการให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตร่วมกับอําเภอ และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจัดบุคลากรเข้าไปตรวจวัดไข้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตําบลทุกคน หากพบผู้ใดมีอาการซึ่งเข้าข่ายที่ต้อง เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะต้องถูกส่งไปแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตอาการ ยังสถานที่ที่จังหวัด กําหนด
นอกจากนี้ยังให้อําเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนในพื้นที่ทราบและจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็นต่อการดารงชีพในระยะเวลาประมาณ 14 วัน โดยให้ชี้แจงทําความเข้าใจ ถึงเหตุผลความจําเป็นที่ต้องขอความร่วมมือให้ประชาชนอาศัยอยู่ในเคหสถาน หรือที่พํานักของตน อย่าให้เกิดความตระหนกต่อการดําเนินการในครั้งนี้
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือ ทั้งจําทั้งปรับ และอาจได้รับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1)