‘เยียวยาเกษตรกร’ ตรวจสถานะ ‘เงินเยียวยา’ โอนแล้ว 4 ล้านราย วันนี้จ่ายอีก เช็ค www.moac.go.th
“เยียวยาเกษตรกร” ตรวจสอบสถานะ “เงินเยียวยา” โอนแล้วเก็อบ 4 ล้านราย วันนี้ยังโอนต่อเนื่อง เช็คได้ที่ www.moac.go.th ย้ำ 1.28 แสนรายยังไม่แจ้งบัญชี รีบจัดการก่อน 25 กรกฎาคมนี้
โครงการช่วยเหลือเงินเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 รับ เงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการโอนเงินให้เกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 มาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ได้รับสิทธิต้องมีรายชื่อในทะเบียนเกษตรกร และไม่ซ้ำซ้อนกับมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ของรัฐบาล เช่น เราไม่ทิ้งกัน
จนถึงตอนนี้ ความคืบหน้าของเงินช่วยเหลือเกษตรกรดำเนินการมาถึง เดือนที่ 3 ซึ่งถือเป็นเดือนสุดท้ายของมาตรการแล้ว โดย ธ.ก.ส. เริ่มทำการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ประจำเดือน กรกฎาคม ตั้งแต่ 15 - 22 กรกฎาคม 2563 วันละประมาณ 1 ล้านรายต่อเนื่อง ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
รายงานล่าสุดจาก ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ระบุว่า ระบบได้ทำการโอนเงินให้กับผู้ได้รับสิทธิ์แล้ว 3,999,912 ราย รวมเป็นเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท โดยวันนี้ (วันที่ 20 กรกฎาคม 2563) ระบบยังคงดำเนินการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่ผ่านการคัดกรองอีก 1 ล้านราย ตามที่ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดออกมาก่อนหน้านี้
ทำให้ภาพรวมของมาตรากรเยียวยาเกษตรกรจนถึงขณะนี้นั้น จากข้อมูลที่ กระทรวงเกษตรฯ ส่งให้ ธ.ก.ส. มีผู้ได้รับสิทธิทั้งสิ้น 7,474,490 ราย สามารถแยกรายละเอียดการรับเงินเยียวยาได้ ดังนี้
เงินรอบที่ 1 เดือนพฤษภาคม โอนให้เกษตรกรแล้ว 7,461,009 ราย เป็นเงิน 37,305.045 ล้านบาท
เงินรอบที่ 2 เดือนมิถุนายน โอนให้เกษตรกรแล้ว 7,443,417 ราย เป็นเงิน 37,217.085 ล้านบาท
เงินรอบที่ 3 เดือนกรกฎาคม โอนให้เกษตรกรแล้ว 3,999,912 ราย เป็นเงิน 19,999.560 ล้านบาท
รวมผลการโอนเงินเยียวยาทั้งสิ้น 94,521.690 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ‘เยียวยาเกษตรกร’ เช็คสถานะ ‘เงินเยียวยา’ ห้าพัน งวด 3 โอนเพิ่มอีก 1 ล้านราย 3 วันสุดท้าย!
- รีบเช็ค ‘เงินเยียวยา’ เงินอุดหนุนบุตร-กลุ่มเปราะบาง โอน 3 พันบาท ใครได้บ้าง
- 'เยียวยาเกษตรกร' เช็คสถานะ 'เกษตรกร' กลุ่ม 3 ลุ้นรับเงินเพิ่ม
- ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ตรวจสอบสถานะ ‘เงินเยียวยา’ ล่าสุด 4 แสนราย ยังมีหวัง!
- พลาดเงิน 'เยียวยา' ยังมี 'สินเชื่อ' จากออมสิน และ ธ.ก.ส. ดูรายชื่อโครงการที่ยังกู้ได้ ที่นี่
ขณะเดียวกันนั้น ก็ยังมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนการทำเกษตรไว้ แต่ยังไม่ได้แจ้งเลขบัญชีมายัง ธ.ก.ส. อีก 128,539 ราย เรื่องนี้ กษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ระบุว่า ขอให้เกษตรกรกลุ่มดังกล่าว เร่งแจ้งบัญชีธนาคารของตนเองภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 หากล่าช้าไปกว่านั้น ธนาคารจะจ่ายเงินไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ มติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. กำหนดจ่ายเงิน 3 งวดภายในเดือนนี้
ไม่อย่างนั้นแล้ว เกษตรกร จะต้องรอให้กระทรวงเกษตรฯ เสนอ ครม. เพื่อขอขยายระยะเวลา การจ่ายเงินก่อน เมื่อ มีมติเห็นชอบจะจ่ายเงินให้ได้ ดังนั้น เกษตรกรที่สงสัยว่าตนเองยังไม่ได้เงินเยียวยา อาจเป็นเพราะเหตุผลดังกล่าว เกษตรกรสามารถ ตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร หรือ หากต้องการตรวจสอบสถานะอุทธรณ์ ผ่านทาง www.moac.go.th ตลอด 24 ชั่วโมง หรือตรวจสอบผ่านแอพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile หรือผ่านบริการ SMS Alert (การแจ้งเตือนผ่านเอส เอ็ม เอส สามารถสมัครใช้บริการได้ที่สาขา) ส่วน ธนาคารอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคารนั้นๆ
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบเงินเยียวยาเกษตรกร ผู้มีสิทธิ์สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้
1.ตรวจสอบข้อมูลสถานะการลงทะเบียนที่เว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com หรือ คลิกที่นี่
2.หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มที่ยังไม่ได้แจ้งเลขที่บัญชีธนาคาร หรือเลขที่บัญชีธนาคารไม่ถูกต้องก็สามารถแจ้งเลขบัญชีธนาคารใหม่เพื่อรับเงินเยียวยาได้
ข้อมูลที่ต้องเตรียมเพื่อตรวจสอบและแจ้งเลขที่บัญชีธนาคาร คือ
1.หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
2.หมายเลขโทรศัพท์มือถือ
3.หมายเลขบัญชีธนาคาร
สอบถามเพิ่มเติมที่ ธ.ก.ส. โทร.0-2555-0555
อย่างไรก็ตาม สำหรับรอบการโอนเงินเยียวยา งวดที่ 3 ที่ยังเหลืออยู่นั้น จะแบ่งออกเป็น
วันที่ 19 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
วันที่ 20 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
วันที่ 21 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 1 ล้านราย
วันที่ 22 ก.ค.63โอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรประมาณ 5.96 แสนราย
ทาง ธ.ก.ส. มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเบิกเงินเยียวยาเกษตรกร ในการเยียวยารอบ 3 ดังนี้
1. การใช้ ATM ของ ธ.ก.ส.สามารถอนเงินจากตู้ ATM ได้ทุกวันและทุกธนาคาร
2. รอถอนเงินในครั้งเดียวกันเมื่อครบ 3 เดือนได้
3. หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ให้ฝากเงินไว้เพื่อรับดอกเบี้ย
4. หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินให้รอถอนเงินเมื่อพ้นช่วงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
5. ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด