‘เอไอ คลาวด์ ดิจิทัลซัพพลายเชน’ พลิกโลก 'ธุรกิจ-สุขภาพ’ ปี 64
ปี 2564 จะมีการนำ "เอไอ" ไปใช้กับการดูแลสุขภาพหลายด้านอย่างรวดเร็ว
เอไอกับสุขภาพ-การจ้างงาน
ฟาบิโอ กล่าวต่อว่า เอไอ จะทำให้กระบวนการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป ตลาดแรงงานปี 2564 ทำให้องค์กรจำเป็นต้องนำเอไอไปช่วยเฟ้นหาผู้สมัครที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
"เอไอ จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคล ทำงานเชิงรุกในการจ้างงานได้มากขึ้น ตัดสินใจได้ว่าผู้สมัครใดเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร ด้วยการใช้ข้อมูลเพื่อวัดคุณภาพการจ้างงานแต่ละครั้ง นวัตกรรมต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์คัดกรองอัจฉริยะที่คัดกรองใบสมัครแบบอัตโนมัติ แชทบอททำหน้าที่สรรหาพนักงานที่สามารถนัดหมายกับผู้สมัครได้แบบเรียลไทม์ และการสัมภาษณ์แบบดิจิทัลที่ทำผ่านออนไลน์ และจะเริ่มกลายเป็นวิธีการทำงานปกติของแผนกทรัพยากรบุคคล"
นอกจากนี้ ตลอดปี 2564 จะมีการนำเอไอไปใช้กับการดูแลสุขภาพในหลายด้านอย่างรวดเร็ว การใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งกับชุดข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ สามารถติดตามการสัมผัสระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้ละเอียด ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ในการติดตามอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (personal protective equipment: PPE), จัดสรรบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาการให้วัคซีนให้มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนมากขึ้น
ซัพพลายเชนจะเป็นระบบดิจิทัล
โควิด-19 ยังส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ดิจิทัลซัพพลายเชนพัฒนาอย่างรวดเร็วใน ปี 2564 มุมมองเดิมๆ ของผู้รับผิดชอบด้านซัพพลายเชนที่เกี่ยวกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ เน้นเรื่องประสิทธิภาพและค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันจะเปลี่ยนไปเน้นความคล่องตัวและความยืดหยุ่น และนั่นคือจุดที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง ดิจิทัลซัพพลายเชนจะช่วยให้ธุรกิจหนึ่งๆ ที่ประกอบด้วยองค์กรหลายแห่งทำงานร่วมกัน (multi-enterprise) สามารถเห็นและรับรู้ความเป็นไปในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
สามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ดีขึ้น และใช้ระบบอัตโนมัติที่ชาญฉลาดได้มากขึ้น ผู้รับผิดชอบด้านซัพพลายเชนจะสามารถปรับและใส่ความยืดหยุ่นให้กับระบบซัพพลายเชนของตนได้ตามความต้องการของตลาด และใช้ระบบนิเวศด้านพันธมิตรให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ เหล่านี้ครอบคลุมตั้งแต่เอไอ เทคโนโลยีที่ผสานระหว่างโลกความจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน หรือเออาร์ และการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ที่มนุษย์เป็นผู้ออกแบบกระบวนการและขั้นตอน รวมถึงการตัดสินใจต่างๆ (robotic process automation: RPA) และคาดว่าจะยกระดับศักยภาพที่มีอยู่ในช่วงต้นให้เป็นการนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่น่าสนใจและมีอิทธิพลต่อลูกค้าเป็นอย่างมากนับจากนี้