ยังประเมินระยะสั้นมีโอกาสปรับฐานแบบใช้เวลามากกว่าใช้ระยะทาง

ยังประเมินระยะสั้นมีโอกาสปรับฐานแบบใช้เวลามากกว่าใช้ระยะทาง

IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลก ปี 2564

โดยคาดว่าจะขยายตัวราว +5.5% (จากเดิม +5.2%) สหรัฐฯจะขยายตัว +5.1% (จากเดิม +3.1%) โดยได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้มาตรการของอดีตปธน.ทรัมป์ และหากมีวงเงินอีก 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปธน.ไบเดนก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น กลุ่มประเทศอาเซียนถูกปรับลงเป็น +5.2% จาก +6.2% ในส่วนของไทยปรับลงเป็น +2.7% จาก +4.0% ส่วนในปี 2565 ปรับขึ้นเป็น +4.6% จาก +4.4% อย่างไรก็ดี IMF เตือนถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด-19

ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการด้านภาษีเป็นบวกกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 1)  ขยายเวลายื่นชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2020 กับกรมสรรพากรออกไปอีก 3 เดือน จาก 31 มี.ค. 2021 เป็น 30 มิ.ย.  2021 2)  ลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบปี 2021 ลง 90% และให้จัดเก็บจริงเพียง 10% ครอบคลุมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท 3)  ขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนซื้ออสังหาริมทรัพย์ สำหรับราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท จากเดิม 2% โดยจะลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดจากเดิม ของราคาประเมินทุนทรัพย์เหลือ 0.01% และลดค่าจดจำนองจากเดิม 1% เหลือ 0.01% คาดเป็น Sentiment เชิงบวกจากการลดจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่เน้นกลุ่มราคาเสนอขายต่ำกว่า 3  ล้านบาทในระยะสั้น เช่น LPN SPALI เป็นต้น

ยังคงเลือกเก็งกำไรและรัวังความเสี่ยงจากการปรับสินทรัพย์ลงทุนในระยะสั้น การปรับเพิ่มประมาณการ GDP โลกของ IMF แม้เป็นปัจจัยบวก อย่างไรก็ตามระยะสั้นเรายังคงระวังความเสี่ยงของการปรับพอร์ตการลงทุนทั่วโลก (Global asset rebalancing) ซึ่งอาจทำให้เกิดการลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ อย่างไรก็ตามผลจากการปรับเพิ่มประมาณการกำไรบจ.ที่น่าจะดีขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษบกิจโลก ทำให้เรามองการปรับฐานที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นการใช้เวลา (แกว่งตัว และปรับไม่ลึก) มากกว่าการใช้ระยะทาง ธีมการลงทุนหลักยังเป็นเรื่องของ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกลับมาของเงินเฟ้อ 2) การสนับสนุนพลังงานสะอาดตามนโยบายประธานาธิปดีคนใหม่ 3) การค้าโลกที่มีแนวโน้มจะฟื้นตัว หลังหมดยุคทรัมป์ ซึ่งส่งผลบวกต่อกลุ่มโภคภัณฑ์, พลังงานทดแทน และอาหาร สำหรับกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย valuation ที่แพง ทำให้การลงทุนและเก็งกำไร ต้องเพิ่มความระวังที่มากขึ้น เรายังคงชอบหุ้นรายตัวที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการฟื้นตัวของกำลังการบริโภคจากต่างประเทศ (ส่งออก) อาทิ STA, AMA, TVO, TU, CPF, GFPT หรือที่มีปัจจัยบวกรายตัว อาทิ ETC, PTG, EA //สำหรับหุ้นใหญ่ในกลุ่มโภคภัณฑ์ เราชอบ PTT, PTTGC, IVL // และหุ้นลงทุนระยะยาว ทยอยสะสม SCGP, BDMS, MINT, CPALL, DCC

ภาพรวมกลยุทธ์ ยังคงมุมมองเชิงบวกระยะกลาง-ยาว อย่างไรก็ตามช่วงสั้นคาดเริ่มมีแรงทำกำไรรายตัวในหุ้นที่ปรับขึ้นมาก และอาจผันผวนจากการรายงานผลประกอบการ รวมทั้งลดความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนพันธบัตร ก่อนการประชุมเฟด 26-27 ม.ค. // หุ้นแนะนำวันนี้ เก็งกำไร BDMS*, PTG*, SUPER*

แนวรับ 1,480 จุด / แนวต้าน : 1,520 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%

 

ประเด็นการลงทุน

ประธาน ECB คาดเศรษฐกิจยูโรฟื้นตัว แต่ยังเผชิญความไม่แน่นอนระดับสูง. นางคริสติน ลากาณืด ประธาน ECB คาดเศรษฐกิจยูโรโซนปี 64 มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่จะยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในระดับที่สูงมากก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่

กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ – ระวังสัญญาณทางเทคนิคที่เป็นลบของดัชนี Philadelphia semiconductor Index (SOX) บ่งชี้ถึงการอ่อนกำลังและความเสี่ยงในการปรับฐานระยะสั้น

หุ้นที่มีโอกาสเข้า cash balanceได้แก่ RBF, JR, BEAUTY, SICT และ IIG

 

ประเด็นติดตาม: - 27 ม.ค. – TH: ประกาศงบ SCC // 28 ม.ค. : FOMC meeting, US GDP 4Q20, TH :ประกาศงบ PTTEP // 29 ม.ค. : TH Economic Review

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)