เช็ค ครม.อนุมัติแจกเงิน 'เราชนะ' ตรวจสอบเงินเยียวยาโควิด

เช็ค ครม.อนุมัติแจกเงิน 'เราชนะ' ตรวจสอบเงินเยียวยาโควิด

เตรียมตัวให้พร้อม! เช็ค ครม.อนุมัติแจกเงิน "เราชนะ" ตรวจสอบเงินเยียวยาโควิด

ยังอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชน กรณี ครม.อนุมัติแจกเงิน "เราชนะ" เงินเยียวยาโควิด ใครมีสิทธิ์บ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ว่า มาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยโครงการที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการขณะนี้ ได้แก่ โครงการเราชนะ และโครงการเรารักกัน พร้อมจะพิจารณาโครงการอื่น ๆ เพิ่มเติม ยืนยันรัฐบาลไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่จะต้องใช้จ่ายด้วยความระมัดระวังในสถานการณ์ช่วงนี้  หากจำเป็นก็พร้อมจัดหางบประมาณเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ว่างงานและรักษาการจ้างงานให้ได้มากที่สุด

เช็ค ครม.อนุมัติแจกเงิน \'เราชนะ\' ตรวจสอบเงินเยียวยาโควิด

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 และครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 และวันที่ 16 เมษายน 2564 ที่ได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ)

และพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และการพิจารณากำหนดแนวทางการกลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

รวมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เป็นรายประเด็นตามผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้ ตามพระราชกำหนดฯ และข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาตามมาตรา 8 (1) ของพระราชกำหนดฯ ข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการ

ตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) และมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้ 
                  

1. อนุมัติโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่า โควิด 19 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ วงเงิน 68 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (พฤษภาคม - ธันวาคม 2564) และมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการและดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ 
                  

2. อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราชนะ และรับทราบแนวทางจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลการทบทวนสิทธิ์ที่อาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงและการกำหนดกรอบระยะเวลารับเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าว โดยเห็นควรให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับแจ้งจากประชาชนภายในวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ พร้อมทั้งให้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการดำเนินโครงการฯ โดยเคร่งครัด

อัพเดท! : 

3. รับทราบแนวทางการพิจารณากลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการฯ กำหนดไว้ต่อไป  
                  
4. รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เป็นรายประเด็นตามผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และข้อเสนอแนะต่อการพิจารณากลั่นกรองโครงการ และการกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมทั้งมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบทั้ง 8 โครงการ รับข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแนวทางการดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมต่อไป

โครงการ "เราชนะ" โดยขยายระยะเวลาใช้วงเงินสนับสนุนสำหรับผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ จาก สามารถใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม2564 เป็นใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564

นอกจากนี้เห็นชอบให้ ขยายกลุ่มเป้าหมายและกรอบวงเงินของโครงการฯ จาก กลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 31.1 ล้านคน กรอบวงเงินไม่เกิน 210,200 ล้านบาท เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 33.5  ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านคน กรอบวงเงินไม่เกิน 243,242 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3,042 ล้านบาท

ปัจจุบันวงเงินที่เหลืออยู่และสามารถใช้จ่ายเยียวยาประชาชน จากผลกระทบจากโควิด-19 เหลืออยู่ประมาณ 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.เงินกู้ ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันวงเงินเหลืออยู่ประมาณ 2 แสนล้านบาท 2.งบกลาง ในปี 2564 ซึ่งเดิมมีการตั้งงบกลางฯไว้ในวงเงิน 1.39 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบกลางรายการสำรองจ่ายในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 9.9 หมื่นล้านบาท และงบกลางฯในส่วนโควิด-19 4 หมื่นล้านบาท 

ปัจจุบันงบกลางรายการสำรองจ่ายฯได้ใช้ไปแล้วประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท คงเหลือประมาณ 8 หมื่นล้านบาท และอีกส่วนคืองบกลางฯโควิด -19 คงเหลือ 2 ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดย 2 หมื่นล้านบาทที่ใช้ไปรัฐบาลนำไปใช้มัดจำวัคซีน และอีกส่วนไปเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากรทางการแพทย์ รวมแล้วงบกลางฯที่คงเหลือทั้ง 2 ส่วนซึ่งสามารถใช้ได้อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท 

จากงบกลางฯที่เหลือประมาณ 1 แสนล้านบาท วงเงินที่จะใช้ได้ในการนำไปเยียวยาโควิด-19 ให้กับประชาชนคงอยู่ที่ประมาณ 5 - 6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสำนักงบฯต้องขอกันงบกลางบางส่วนไว้รองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นจากภัยแล้ง น้ำท่วม หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆประมาณ 4 - 5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นโดยรวมแล้วเมื่อดูจากเงินกู้และงบกลางฯที่ใช้ในการเยียวยาประชาชนได้จะอยู่ที่ประมาณ  2.5-2.6 แสนล้านบาท