ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ "ทหารคลั่ง" ปมที่มา และความสูญเสีย

ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ "ทหารคลั่ง" ปมที่มา และความสูญเสีย

ย้อนรอยคดีสุดสะเทือนขวัญ "ทหารคลั่ง" ปมที่มา และความสูญเสีย หลังเกิดเหตุการณ์ล่าสุดเช้านี้ "จ่าสิบเอก" คลั่งยิงเพื่อนร่วมงานเสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 1

จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อช่วงเช้าวันนี้(14 กันยายน 2565) กรณี "จ่าทหารคลั่ง" กราดยิงเพื่อนร่วมงานเสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 1 ราย เหตุเกิดภายในวิทยาลัยการทัพบก เขตดุสิต ทราบชื่อผู้ก่อเหตุคือ จ่าสิบเอก ยงยุทธ (สงวนนามสกุล) อายุ 59 ปี ตำแหน่งเสมียน วิทยาลัยการทัพบก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารได้ร่วมกันจับกุมตัวเอาไว้ได้แล้ว ทั้งนี้พบว่าผู้ก่อเหตุเคยประสบอุบัติเหตุ มีอาการทางจิตโดยอยู่ระหว่างรักษาตัว

 

สำหรับเพื่อนร่วมงานที่เป็นนายทหารชั้นประทวนที่เสียชีวิตทั้ง 2 นาย ทราบชื่อคือ จ่าสิบเอก นพรัตน์ อินทรสุนทร ตำแหน่งเสมียน วิทยาลัยการทัพบก และจ่าสิบเอก ประการ สินส่ง ตำแหน่งเสมียน วิทยาลัยการทัพบก ขณะที่ผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย คือ จ่าสิบเอก ยงยุทธ ปัญญานุวัฒน์ ถูกส่งตัวรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 

ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ \"ทหารคลั่ง\" ปมที่มา และความสูญเสีย

 

 

รวบรวมเหตุการณ์ทหารคลั่งกราดยิง

ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ทหารที่ ยิงเพื่อนร่วมงานจนนำมาสู่ความสูญเสียมาแล้ว

กรณีแรก ผู้ก่อเหตุคือ สิบโท มานิตย์ หรือ สห.วิทย์ ใช้อาวุธปืนสั้นขนาด 9 มม. จ่อยิง สิบตรี วัชระ อินาลา หรือ สห.เกิ้ล อายุ 29 ปี ตำแหน่งสารวัตรทหาร (สห.) สังกัดกองร้อยทหารสารวัตร มณฑลทหารบกที่ 210 เพื่อนรุ่นน้องค่ายเดียวกันจนเสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรรักษาการณ์หน้าทางเข้า-ออก ค่ายพระยอดเมืองขวาง เหตุเกิดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยอ้างว่าเป็นปัญหาส่วนตัวไม่พอใจที่รุ่นน้องไม่เคารพ

 

ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ \"ทหารคลั่ง\" ปมที่มา และความสูญเสีย

 

กรณีที่สอง ย้อนไปอีกเมื่อเวลาประมาณ 23.50 น. ของคืนวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุ "จ่าทหารคลั่ง" บุกยิงอดีตเมียคาโรงพยาบาล ก่อนยิงตัวตายตามเพื่อหนีความผิด ทราบชื่อผู้ก่อเหตุคือ "จ่าสิบเอก" อรรคพงษ์ ทหารสังกัดกรมทหารม้าที่ 6 ค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่น ใช้อาวุธปืนลูกโม่ขนาด .38 ยิง น.ส.นภาพร (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี อดีตภรรยา ซึ่งเป็นพยาบาลประจำที่ รพ.ศูนย์ขอนแก่น จนเสียชีวิต ก่อนที่ผู้ก่อเหตุจะเดินออกมาจากจุดที่ยิงอดีตภรรยา แล้วใช้อาวุธปืนกระบอกเดียวกันจ่อขมับยิงตัวเองเสียชีวิตเมื่อเวลา 05.00 น.วันเดียวกัน โดยญาติเผยปมหึงหวงหลังมาตามง้อขอคืนดีไม่สำเร็จ

 

ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ \"ทหารคลั่ง\" ปมที่มา และความสูญเสีย

 

 

กรณีที่สาม อีกเหตุการณ์ในปี 2565 นี้ เกิดเหตุ "ทหารยิงทหาร" เสียชีวิตคาร้านข้าวต้ม ถ.จงรักษ์ ต.สะเตง อ.เมืองยะลา จ.ยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ จ.ส.อ. ธวัช วงค์พลาย รอง ผบ. ร้อยทพ.4614 และมีผู้บาดเจ็บ 1 ราย คือ อส.ทพ. อชัชชานนท์ ลายสิงห์ สังกัด ทพ.4614 ส่วนผู้ก่อเหตุคือ ร.ท. พจน์จรินทร์ (สงวนนามสกุล) สังกัด ร.152.พัน 3 ซึ่งจากการตรวจสอบกรณีดังกล่าว พ.อ.เกียรติศักดิ์ ณีวงษ์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เผยว่า เป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งมีมูลเหตุเกิดจากการดื่มสุราทำให้ขาดสติและก่อเหตุดังกล่าวขึ้น

 

ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ \"ทหารคลั่ง\" ปมที่มา และความสูญเสีย

 

กล่าวสำหรับเหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญที่หลายคนคงจำได้ไม่ลืม ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 กรณี "จ่าคลั่ง" จ.ส.อ.จักรพันธ์ (สงวนนามสกุล) ทหารสังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ คลั่งกราดยิงประชาชนในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ก่อนหลบหนีเข้าไปในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 นครราชสีมา จับคนในห้างเป็นตัวประกันและยิงประชาชนเสียชีวิตหลายราย กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญเมื่อช่วงเช้าวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 สรุปเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 31 ราย และบาดเจ็บอีกเกือบ 60 คน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ฝังใจคนไทยอย่างมาก 

 

ซึ่งชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้กลายเป็นจุดเริ่มของเหตุการร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องเงินและการซื้อขายบ้านที่ผู้ก่อเหตุไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาและเครือญาติ และแม้เวลาจะผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว แต่ในโลกออนไลน์ก็ยังคงตั้งคำถามกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้ทวงถามสัญญาในการปฎิรูปกองทัพว่าไปถึงไหนแล้ว ในเฉพาะเรื่อง การทุจริตและการกดขี่ชั้นผู้น้อย จนนำมาสู่เหตุการณ์น่าสลดที่เกิดขึ้น

 

ย้อนรอยเหตุสะเทือนขวัญ \"ทหารคลั่ง\" ปมที่มา และความสูญเสีย

อย่างไรก็ตาม บทเรียนและที่มาปมปัญหา "ทหารคลั่ง" กราดยิงทหารด้วยกัน คนในครอบครัว และผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ล้วนมีปมปัญหาจากการทำงานและครอบครัว ในสภาวะกดดันของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร และจากการฝึกใช้อาวุธชำนาญถนัดกว่าประชาชนทั่วไป จึงอาจคิดสั้นใช้อาวุธปืนจบปัญหาแต่สร้างความสูญเสียต่อครอบครัวและสังคม ซึ่งกลายเป็นบทเรียนให้แก่กองทัพ ที่ต้องตระหนักและป้องกันเหตุให้มากขึ้นกว่านี้.