แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือด จากกรณีที่ทาง กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวมธุรกิจ ทรู - ดีแทค ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือด จากกรณีที่ทาง กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวมธุรกิจ ทรู - ดีแทค ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมกำหนดเงื่อนไขมาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ตามที่นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ถกมาราธอน 11 ชั่วโมง กสทช. ไฟเขียว 'ทรูควบดีแทค'

- ‘พิรงรอง’ เปิดเหตุผล กสทช.เสียงข้างน้อย ‘ไม่อนุญาต' ควบรวมทรู ดีแทค

- “ก้าวไกล” จ่อร้อง ป.ป.ช.- ฟ้องศาล ปค.เอาผิดบอร์ด กสทช.ปมควบ “ทรู-ดีแทค”

 

สำหรับมติ กสทช. หลังถกกันนานกว่า 11 ชั่วโมง ก่อนได้ข้อสรุปมีมติเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่าง ทรู ดีแทค โดยที่ประชุมเสียงข้างมาก มีมติเห็นว่าการรวมธุรกิจในกรณีนี้ ไม่เป็น การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (ประกาศฉบับปี 2549) โดยนัยของผลตามข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม (ประกาศฉบับปี 2561) และให้พิจารณาดำเนินการตามประกาศฉบับปี 2561 โดยรับทราบการรวมธุรกิจและเมื่อ กสทช. ได้รับรายงานการรวมธุรกิจแล้ว กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะตามข้อ 12 ของประกาศฉบับปี 2561

ในส่วนของที่ประชุมเสียงข้างน้อย มีมติเห็นว่ากรณีนี้เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน และให้พิจารณาดำเนินการพิจารณาตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 โดย กสทช. อาจสั่งห้ามการถือครองกิจการหรือกำหนดมาตรการเฉพาะตามหมวด 4 ของประกาศดังกล่าว

โดยเรื่องนี้ส่งผลให้ในโลกทวิตเตอร์มีการติดแฮชแท็ก กสทช. เกือบ 2 หมื่นข้อความในการวิจารณ์อย่างดุเดือดจนขึ้นมาติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ชาวเน็ตตั้งคำถามว่า ตามปกติประธานจะต้องงดออกเสียงก่อนหรือไม่ เมื่อผลออกมาเสมอกัน ประธานจึงจะมีสิทธิใช้อำนาจออกเสียงเพื่อชี้ขาด ทว่าการลงมติในครั้งนี้กลับกลายเป็นว่า ประธานลงมติไปแล้วตั้งแต่แรก แล้วพอเสมอกันกลายเป็นประธานที่ลงมติซ้ำอีกที กลายเป็นได้สิทธิลงมติ 2 เสียง รวมถึงการงดออกเสียงจาก บอร์ด กสทช. 1 คน ท่ามกลางความสงสัยว่าทำไมไม่ออกเสียง บางคนถึงกับวิจารณ์ว่า ชีวิตของประชาชนกว่า 70 ล้านคน ต้องเตรียมตัวรับภาระการดำรงชีวิตที่สูงขึ้น จากการลงมติของบอร์ด กสทช. เพียงไม่กี่คนจริงๆ เหรอ 

ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ และภาคประชาชนมองว่า การควบรวมกิจการ ทรู ดีแทค  อาจขัดต่อกฎหมายมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2561 

(คลิกที่นี่) อ่านแฮชแท็ก กสทช.

 

แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

 

แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

 

แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

 

แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

 

แฮชแท็ก กสทช. วิจารณ์เดือดปมควบรวม ทรู - ดีแทค ตั้งคำถามแบบนี้ก็ได้เหรอ?

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์