พยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย 49 จว.อ่วมฝนตกหนัก 8-9 ก.ค. กทม. 70% ของพื้นที่

พยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย 49 จว.อ่วมฝนตกหนัก 8-9 ก.ค. กทม. 70% ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศล่าสุด เตือน 'ฝนฟ้าคะนอง' ทั่วไทย เช็ก 49 จังหวัดอ่วม 'ฝนตกหนัก' 8-9 ก.ค.66 ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลาก กทม.ก็ไม่รอด 70% ของพื้นที่

วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (18:00 น.วันนี้ - 18:00 น.วันพรุ่งนี้) ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

 

ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออก และภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

 

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

 

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนม อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 28-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

 

พยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย 49 จว.อ่วมฝนตกหนัก 8-9 ก.ค. กทม. 70% ของพื้นที่

 

สำหรับ พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 8-17 กรกฎาคม 2566 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วันนี้ (8 กรกฎาคม 2566) ถึง 10 กรกฎาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากด้านรับมรสุม (ภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลาง กทม.ปริมณฑล ภาคตะวันออก) 

 

ส่วนภาคอีสานตอนบนยังมีฝนน้อย เนื่องจากลิ่มความกดอากาศสูงจากมหาสมุทรแปซิฟิกแผ่ปกคลุมทางภาคอีสานตอนบน ทิศทางลมยังแปรปรวน ฝนยังเกิดขึ้นในช่วงบ่ายถึงค่ำ ส่วนใหญ่เป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

 

สำหรับภาคใต้ด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่) จะเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้น คลื่นลมฝั่งอันดามันยังมีคลื่นสูง ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือ ชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้

 

ช่วง 11 -15 กรกฎาคม 2566 ฝนยังตกได้บางพื้นที่

 

และ 16 -17 กรกฎาคม 2566 ฝนจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งด้านรับมรสุม และภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ระยะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวของพายุ

 

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

 

พยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย 49 จว.อ่วมฝนตกหนัก 8-9 ก.ค. กทม. 70% ของพื้นที่


ขณะที่ 'พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า' คาดหมายอากาศทั่วไป (ระหว่างวันที่ 8 - 14 กรกฎาคม 2566) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้และมีฝนตกหนักบางแห่ง 

 

ในขณะที่ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

 

ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง 

 

พยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย 49 จว.อ่วมฝนตกหนัก 8-9 ก.ค. กทม. 70% ของพื้นที่


พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 8 - 14 กรกฎาคม 2566 ดังนี้

 

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 14 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส

 

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 และ 13 - 14 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 กรกฎาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส

 

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 กรกฎาคม 2566 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส

 

พยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย 49 จว.อ่วมฝนตกหนัก 8-9 ก.ค. กทม. 70% ของพื้นที่